จะทำอย่างไรถ้าคุณเพิ่งได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะทำอย่างไรถ้าคุณเพิ่งได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่มีการดำเนินไปของโรค กล่าวคือ โรคจะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นเมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม คุณจะต้องก้าวต่อไปให้ได้ และวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย พินัยกรรม การจัดการการเงิน รวมไปจนถึงการมอบอำนาจผู้อื่นให้เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการเงินและการตัดสินใจด้านการรักษาพยาบาลให้กับคุณในวันที่คุณไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้

ไม่ว่าการวินิจฉัยของคุณจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือยืนยันสิ่งที่คุณสงสัยว่าเป็นเวลานาน สิ่งสำคัญคือคุณควรวางแผนล่วงหน้าในขณะที่คุณยังสามารถตัดสินใจได้อย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมคุณอาจรู้สึกมึนงง กลัว และอาจรับไม่ได้  ดังนั้นให้เวลาในการปรับตัว การพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อนอาจช่วยได้

เมื่อความรู้สึกเริ่มต้นได้ผ่านไปแล้วก็ถึงเวลาที่จะก้าวต่อไปและสร้างแผนการในอนาคต ภาวะสมองเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยที่มีการดำเนินไปของโรค ดังนั้นคุณควรเริ่มจัดการเรื่องกฎหมายการเงิน และการดูแลสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญที่คุณควรนึกถึง:

การบริการและการสนับสนุน

คุณควรสืบค้นว่ามีการให้บริการอะไรบ้างในท้องที่หรือบริเวณใกล้เคียงกับที่คุณอาศัยอยู่ เพื่อที่จะได้โทรศัพท์ติดต่อได้ทันทีหากคุณต้องการขอรับการสนับสนุนใดๆ ตัวอย่างเช่น การบริการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เป็นต้น

เขียนพินัยกรรม

เป็นความคิดที่ดีที่คุณจะเขียนพินัยกรรม (หากยังไม่เคยเขียนมาก่อน) เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อคุณเสียชีวิต เงินและทรัพย์สินของคุณจะไปอยู่กับคนที่คุณเลือก ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมยังสามารถสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมได้ หากยังสามารถแสดงให้เห็นว่าคุณยังเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำ และบอกได้ว่าผลที่เกิดขึ้นคืออะไร ซึ่งทนายความจะเป็นผู้ตัดสินว่าคุณสามารถทำพินัยกรรมได้อยู่หรือไม่

จัดเรียงเอกสารให้เป็นระเบียบ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเอกสารสำคัญทั้งหมดของคุณสามารถค้นหาได้ง่าย เอกสารเหล่านี้อาจรวมถึงเอกสารทางการธนาคาร เอกสารการจดจำนอง หรือเอกสารการเช่า เอกสารประกันภัยต่างๆ พินัยกรรม รายละเอียดของเงินบำนาญ และการค้ำประกันต่างๆ ฯลฯ

ให้พิจารณาตั้งค่าให้จ่ายค่าบิลต่างๆ ที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ผ่านการหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ  ซึ่งจะทำให้มีการจ่ายเงินต่างๆ เหล่านี้อย่างอัตโนมัติทุกเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จัดการเรื่องการมอบอำนาจ

คุณสามารถแต่งตั้งให้คนอย่างน้อย 1 คน เป็น “ผู้รับมอบอำนาจ” เพื่อจัดการเรื่องต่างๆ รวมถึงเรื่องการเงิน การรักษาทรัพย์สิน และการตัดสินใจทางการพยาบาล (หากจำเป็น) คุณสามารถเลือกคนที่คุณไว้วางใจให้เป็น ผู้รับมอบอำนาจ ของคุณ โดยมักเป็นเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัว แต่ต้องมีอายุเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

การวางแผนการดูแลล่วงหน้า

คุณอาจต้องการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับการดูแลทางการแพทย์ในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถปฏิเสธการรักษา หรือระบุการรักษาเฉพาะล่วงหน้าได้ หากคุณไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองในอนาคตได้

ดูแลสุขภาพจิตของคุณ

ถ้าคุณรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ใจมาก ให้ขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะเริ่มแรก ซึ่งมีทางเลือกในการรักษาหลากหลายวิธี

ดูแลตัวเองให้ดี

เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ สิ่งสำคัญคือคุณควรดูแลตัวเองให้ดีเมื่อเป็นโรคสมองเสื่อม ด้วยการหยุดสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และให้สอบถามแพทย์ที่ดูแลคุณว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และป้องกันป้องกันโรคปอดอักเสบหรือไม่ 

สมุดบันทึกความจำ

สมุดบันทึกความจำอาจเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์ในการกระตุ้นความจำและช่วยเชื่อมต่อระหว่างคุณกับคนที่คุณรักในอนาคตได้ ซึ่งเป็นสมุดที่รวบรวมภาพ บันทึก และของที่ระลึกตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบันของตัวคุณเอง โดยอาจเป็นหนังสือ หรืออยู่ในรูปแบบดิจิตอลไฟล์ ก็ได้ 

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia#dementia-symptoms-and-diagnosis


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Stages of Dementia: How Dementia Progresses. Healthline. (https://www.healthline.com/health/dementia/stages)
First steps after diagnosis. Dementia Australia National. (https://www.dementia.org.au/support-and-services/i-have-dementia/first-steps-after-diagnosis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป