การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นงานที่บั่นทอนร่างกายและจิตใจ หากคุณไม่เข้าใจความเป็นไปของโรค และสาเหตุของอาการต่าง ๆ บทความนี้มีข้อแนะนำง่าย ๆ เกี่ยวกับปัญหาที่พบบ่อยต่าง ๆ ทั้ง กิจวัตรประจำวัน การนอนหลับ และการดูแลสุขภาพโภชนาการ
หากคุณเป็นโรคสมองเสื่อมหรือกำลังดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม คุณอาจเผชิญกับปัญหาในหลายกิจกรรมตามชีวิตประจำวันของคุณ
ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย-ผู้สูงอายุวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ป่วยสมองเสื่อมจะรู้สึกอ่อนแอเมื่อโรคของตัวเองพัฒนามากขึ้น และพวกเขาก็ต้องพึ่งพาคนอื่นมากขึ้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้กับพวกเขา เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยสมองเสื่อมควรรู้สึกอุ่นใจและได้รับการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ แต่ยังสามารถรักษาความเป็นอิสระได้ระดับหนึ่ง
แม้ว่าอาการบางอย่างเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทุก ๆ คน แต่ประสบการณ์ของแต่ละคนเรื่องความรุนแรงและวิธีที่พวกเขารับมือกับอาการเหล่านี้จะแตกต่างกันไป
การช่วยผู้ป่วยสมองเสื่อมเรื่องกิจวัตรในชีวิตประจำวัน
เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมพบว่าความสามารถของสมองของพวกเขาลดลง พวกเขาอาจรู้สึกวิตก เครียด และกังวลใจมาก พวกเขาอาจจะพบว่าพวกเขาเงอะงะและซุ่มซ่ามมากขึ้น และไม่สามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเดิม และสิ่งเหล่านี้อาจทำให้พวกเขารู้สึกหงุดหงิดและไม่พอใจ
หากคุณกำลังดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอยู่ คุณสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกอุ่นใจมากขึ้นโดยการกำหนดกิจวัตรประจำวันภายในสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลายซึ่งพวกเขาได้รับความช่วยเหลือส่งเสริม และไม่มีใครมาวิพากษ์วิจารณ์
การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยที่คุณกำลังดูแลในชีวิตประจำวัน อาจทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่า และเพิ่มความรู้สึกดีต่อตัวเอง พวกเขาสามารถช่วยเรื่องง่าย ๆ ต่าง ๆ ได้ เช่น การช็อปปิ้ง การจัดโต๊ะอาหาร หรือกวาดใบไม้ในสวน เป็นต้น
เมื่อภาวะของโรคดำเนินไปมากขึ้น งานเหล่านี้อาจกลายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะจัดการได้ด้วยตนเอง และคุณอาจจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมก็เป็นได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างไร
วิธีหลักที่คุณสามารถช่วยผู้ป่วยสมองเสื่อม คือ ให้การสนับสนุนอย่างละเอียดอ่อน และพยายามอย่าวิจารณ์สิ่งที่พวกเขาทำ เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมว่าพวกเขายังคงมีคุณค่าอยู่
ในโรคระยะเริ่มต้น เครื่องช่วยจำสามารถวางอยู่ได้ทั่วบ้านเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยจำได้ว่าสิ่งใดอยู่ที่ใด
ตัวอย่างเช่น คุณสามารถติดรูปภาพของสิ่งที่อยู่ภายในไว้หน้าตู้เก็บข้อง เช่น ถ้วยและจานรอง การทำเช่นนี้อาจช่วยในการเรียกหน่วยของพวกเขา และช่วยให้พวกเขาสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองต่อไปอีกระยะหนึ่ง
งานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยสมองเสื่อมหลายคนจะยังคงสนุกกับงานอดิเรกหรือความสนใจของพวกเขาอยู่เช่นเดิม ตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขาชอบทำอาหารอยู่เดิม พวกเขาอาจจะช่วยทำอาหารได้เช่นเดิม การเดินเล่น หรือการทำสวนเป็นวิธีง่าย ๆ ในการออกกำลังกายและทำให้เกิดความรู้สึกของความสำเร็จเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือผู้ป่วยบางคนอาจชอบฟังเพลง หรือเล่นเกมกระดาน การดูแลแมวหรือสุนัขก็สามารถทำให้ผู้ป่วยบางคนได้รับความสุขเป็นอย่างมากเช่นกัน
ถ้าคนที่คุณห่วงใยเป็นคนที่เข้ากับคนง่ายและเป็นคนสบาย ๆ หรือมีครอบครัวใหญ่ พวกเขาอาจมีความสุขกับการเข้าเยี่ยมจากสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงซักคนหรือสองคน อย่างไรก็ตาม พวกเขาอาจรู้สึกลำบากในการทำตัวให้ทันกับการสนทนาหากผู้เข้าเยี่ยมมีจำนวนมากเกินไปพร้อมกัน
การดูแลสุขภาพและโภชนาการในผู้ป่วยสมองเสื่อม
สิ่งสำคัญคือบุคคลที่คุณกำลังดูแลต้องมีสุขภาพดี ได้ทานอาหารครบถ้วน และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากพวกเขามีสุขภาพสมบูรณ์ดีมากเท่าไหร่ คุณภาพชีวิตพวกเขาก็ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น
ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย-ผู้สูงอายุวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ถ้าคนที่คุณดูแลเริ่มทานอาหารไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ พวกเขาอาจอ่อนแอต่อโรคอื่น ๆ และป่วยง่าย คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจสับสนมากขึ้นได้หากป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยอีก
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาหารทั่วไปสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมนั้น ได้แก่:
- ไม่รู้จักอาหารเหล่านั้น
- ลืมอาหารที่พวกเขาชอบ
- ปฏิเสธ หรือคายอาหารทิ้ง
- ต่อต้านการให้อาหาร
- ขอผสมอาหารแปลก ๆ เข้าด้วยกัน
พฤติกรรมนี้มักจะเกิดจากความสับสน หรือมาจากการระคายเคืองในช่องปากซึ่งเกิดจากปัญหาทางทันตกรรมมากกว่าความต้องการทำให้ผู้อื่นอึดอัดใจ ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหารของผู้ป่วยให้พูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของพวกเขา
คุณสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร
มีส่วนร่วมกับคนที่คุณดูแลอยู่ ตัวอย่างเช่น หากพวกเขาไม่สามารถป้อนอาหารตัวเองได้ คุณสามารถใส่ช้อนส้อมไว้ในมือพวกเขา และช่วยนำทางไปยังปากของพวกเขาได้ คุณสามารถให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารหากพวกเขาสามารถทำได้
พยายามใจเย็นให้มาก ถ้าคุณรู้สึกเครียดในช่วงเวลาอาหาร ผู้ป่วยที่คุณกำลังดูแลก็จะเครียดตามเช่นเดียวกัน ให้แน่ใจว่าคุณให้เวลามากพอสำหรับมื้ออาหาร เพื่อที่คุณสามารถจะจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
พยายามปรับตัวไปตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เป็นไปได้ว่าคนที่คุณดูแลอยู่นั้นจะเปลี่ยนรูปแบบการกินและพฤติกรรมของพวกเขาไปเรื่อย ๆ การตระหนักถึงเรื่องนี้และพยายามมีความยืดหยุ่นในเรื่องอาหารจะทำให้มื้ออาหารของคุณเครียดน้อยลงสำหรับทั้งคุณและผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
หากคุณคิดว่าคนที่คุณดูแลอยู่นั้นอาจมีปัญหาสุขภาพร่างกาย หรือปัญหาสุขภาพช่องปาก ควรพาพวกเขาเข้ารับความช่วยเหลือจากแพทย์หรือทันตแพทย์ นอกจากนี้ คุณยังสามารถพูดคุยกับกลุ่มผู้ดูแลคนอื่นที่อาจประสบปัญหาเช่นเดียวกัน
หากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสูบบุหรี่ ให้เปลี่ยนจากไม้ขีดไฟเป็นไฟแช็กเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้
หากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ตรวจดูว่ากระทบถึงยาที่พวกเขากำลังใช้อยู่หรือไม่ หากมีข้อสงสัย โปรดสอบถามจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวผู้ป่วย
การจัดการกับภาวะปัสสาวะเล็ดในผู้ป่วยสมองเสื่อม
การกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นเรื่องยากที่จะรับมือ และอาจทำให้คนที่คุณดูแลอยู่นั้นรู้สึกลำบาก และอึดอัดใจ เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมจะเกิดภาวะดังกล่าว ปัญหานี้อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคท้องผูกซึ่งทำให้เกิดความดันเพิ่มขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ หรือยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ๆ
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็อาจลืมว่าไปที่ห้องน้ำ หรืออาจลืมไปว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน พวกเขาอาจสูญเสียความสามารถในการรับรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องเข้าห้องน้ำ
คุณสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร
สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจสิ่งดังกล่าว เก็บความรู้สึกขำ และจำไว้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ความผิดของพวกเขาแต่หากมาจากภาวะของโรค นอกจากนี้ คุณอาจลองทำวิธีดังต่อไปนี้:
- ติดเครื่องหมายบนประตูห้องน้ำ เช่น รูปห้องน้ำ
- เปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ และดูให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถเข้าออกได้อย่างง่ายดาย
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถถอดเสื้อผ้าออกเองได้ - ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมบางคนไม่สามารถจัดการกับกระดุมและซิปได้
- มองหาสัญญาณที่แสดงว่าพวกเขาอยากเข้าห้องน้ำ เช่น ความลุกลี้ลุกลน และการยืนขึ้นและนั่งลงตลอดเวลา
- ดัดแปลงห้องน้ำหาก
หากคุณยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด ขอให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์เพื่อแนะนำให้คุณปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ เช่น ที่นอนกันน้ำ หรือแผ่นอนามัยซับปัสสาวะสำหรับผู้ใหญ่
สุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วยสมองเสื่อม
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสุขอนามัยและความสะอาดส่วนตัว และอาจต้องการความช่วยเหลือในการซักรีดผ้า ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจกลัวที่จะล้มเมื่อเดินออกจากห้องน้ำหรือ อาจเกิดอาการสับสนมึนงงทิศทางขณะอาบน้ำด้วยฝักบัวก็เป็นได้
คนที่คุณกำลังดูแลอยู่นั้นอาจไม่ต้องการถูกทิ้งไว้ตามลำพังขณะอาบน้ำ หรืออาจต่อต้านการซักผ้า เนื่องจากรู้สึกขาดความเป็นส่วนตัวและรู้สึกเป็นเรื่องน่าอาย พยายามทำในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา
การช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมนอนหลับเต็มอิ่ม
ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักจะนอนไม่หลับ พวกเขาอาจตื่นขึ้นในตอนกลางคืนหรือรู้สึกกระวนกระวายใจขึ้นมาทันทีทันใด ปัญหาเหล่านี้อาจเลวร้ายลงเมื่อโรคดำเนินไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมอาจมีอาการเจ็บปวดอื่น เช่น โรคข้ออักเสบที่ทำให้เกิดปัญหาหรือมีส่วนในการรบกวนการนอนหลับได้
เช่นเดียวกับยาบางตัวที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนในระหว่างวัน และรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืน ยานอนหลับนั้นสามารถถูกใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตาม "สุขอนามัยในการนอนหลับ" เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม เช่น งดการนอนหลับพักผ่อนในตอนกลางวัน ตั้งเวลานอนปกติในแต่ละวันสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนในเวลากลางคืน
การดูแลสุขภาพของคุณเอง
หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม คุณอาจรู้สึกว่าเป็นการยากที่จะใช้ชีวิตให้สดใสได้ดั่งเดิม โปรดจำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวและมีความช่วยเหลือและการสนับสนุนอีกมากมาย พูดคุยกับคนอื่นเกี่ยวกับความกังวลเหล่านั้นของคุณ คนนั้นอาจเป็นสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อน หรือสมาชิกของกลุ่มดูแลภาวะสมองเสื่อมในท้องถิ่น หรือแพทย์ประจำตัวของคุณสามารถแนะนำคุณไปยังผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในพื้นที่ของคุณได้
สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ดูแลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น พวกเขาควรสามารถที่จะหยุดพักจากการดูแลผู้อื่นได้บ้าง ผู้ดูแลนั้นอาจจำเป็นต้องใช้เวลาส่วนตัวบ้าง หากต้องไปโรงพยาบาลหรือทำกิจวัตรประจำวันที่สำคัญอื่น ๆ
เพื่อน ญาติ และเพื่อนบ้านสามารถให้การดูแลทดแทนชั่วคราวที่บ้านได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถจัดให้มีการดูแลภายในบ้านผ่านหน่วยงานดูแลผู้ป่วย หรือบริการจากเอกชนได้ การดูแลนอกบ้านหรือสถานที่อื่น ๆ อาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางรายทั้งขณะที่พวกเขาอยู่ห่างจากบ้านและเมื่อพวกเขากลับมาบ้านอีกครั้ง หากคุณตัดสินใจที่จะให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมถูกดูแลในสถานที่นอกบ้าน ควรไปตรวจสอบก่อนล่วงหน้าว่าสถานที่นั้นตรงกับความต้องการทั้งหลายของผู้ป่วยหรือไม่