โรคสมองเสื่อมอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อพฤติกรรมของคน มันอาจทำให้พวกเขารู้สึกวิตกกังวล รู้สึกสูญเสีย สับสน และรู้สึกผิดหวัง
แม้ว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแต่ละคนจะจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ด้วยวิถีทางของตัวเอง แต่จะมีพฤติกรรมบางอย่างที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ได้แก่:
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ถามคำถามซ้ำ หรือทำกิจกรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก
- เดินและเดินไปข้างหน้าและเดินถอยหลัง
- ก้าวร้าว ตะโกน กรีดร้อง
- ขี้ระแวงสงสัยคนอื่น
หากคุณกำลังประสบกับพฤติกรรมเหล่านี้ หรือกำลังดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมในลักษณะนี้ คุณควรจำไว้ว่านี่คือความพยายามในการสื่อสารว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร พวกเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นแบบนี้ หากคุณใจเย็นและพยายามคิดว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงแสดงออกด้วยวิธีเหล่านี้ คุณอาจสามารถทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสงบลงได้
หากคุณเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนล่วงหน้า คุณอาจสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการแสดงออกของพฤติกรรมเหล่านี้ได้ บางคนอาจพบว่าสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจบางอย่างจะมุ่งเน้นไปที่การใช้พลังงานของผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีปัญหาได้
แพทย์ที่ดูแลอาจแนะนำให้ใช้พฤติกรรมบำบัดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสามารถการรับมือกับความรู้สึกของตนเองได้ การบำบัดเหล่านี้สามารถทำได้อย่างตรงไปตรงมา ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอาจแสดงพฤติกรรมผิดปกติบางอย่างอันเนื่องจากผู้ป่วยรู้สึกเบื่อ และรู้สึกมีพลังงานเหลือเฟือ ดังนั้นการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยแก้ปัญหาทั้งสองอย่างนี้ได้
พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Repetitive behaviour in dementia)
คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมมักถามคำถามเดิมซ้ำๆ หรือกระทำการบางอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งอาจเกิดจาก:
- การสูญเสียความทรงจำ
- ความเบื่อหน่าย
- ความวิตกกังวล
- ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้
ถ้าคุณคิดว่าพวกเขามีอาการเบื่อ แนะนำให้ลองชวนให้พวกเขาทำกิจกรรมที่พวกเขาชอบ เช่น ฟังเพลง ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะรู้สึกวิตกกังวลในบางช่วงเวลา และต้องการความมั่นใจในความรักและการสนับสนุนที่คุณจะมีให้กับเขา หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับยาที่จะให้ผู้ป่วยรับประทาน ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
การเดินไปเดินมา หรือ เดินไปข้างหน้าและเดินถอยหลัง เป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เป็นเรื่องปกติที่จะพบว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่ระยะใดระยะหนึ่งจะมีการเดินไปเดินมา หรือออกจากบ้านเพื่อเดินไกล สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นในระยะหนึ่งและมักไม่เกิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เหตุผลที่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเดินไปเดินมาอาจไม่ชัดเจน แต่ผู้ป่วยอาจออกจากบ้านโดยตั้งใจจะไปซื้อของที่ร้าน หรือไปพบแพทย์ แต่ระหว่างทางกลับลืมว่ากำลังจะเดินทางไปที่ไหน ผู้ป่วยอาจรู้สึกเบื่อหรือรู้สึกแย่ที่จะต้องนั่งอยู่ที่บ้าน และมีความต้องการใช้พลังงานของร่างกาย หรือผู้ป่วยอาจมีความสับสนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาควรทำและสถานที่ที่ผู้ป่วยควรอยู่
หากคุณสังเกตเห็นผู้ป่วยออกจากบ้าน คุณอาจต้องออกมาพร้อมผู้ป่วยเพื่อให้คำแนะนำแก่พวกเขาและเพื่อให้มั่นใจว่าสุดท้ายแล้วผู้ป่วยจะไม่จบลงด้วยสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือทำให้ผู้ป่วยเป็นทุกข์
อย่ากลัวที่จะพูดกับเจ้าของร้านค้าในท้องถิ่นและเพื่อนบ้านที่คุณไว้ใจเพื่อให้พวกเขาทราบเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่คุณกำลังดูแลอยู่ และให้เบอร์โทรศัพท์กับพวกเขาเหล่านั้นเพื่อโทรหาคุณได้ทันที หากพวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ป่วย
คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจมีอาการก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นอาการที่รู้จักกันดีในโรคสมองเสื่อม หากผู้ป่วยแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าว อาจเป็นเรื่องที่น่ากลัวหรือทำให้หัวเสียได้ การเห็นการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนที่คุณรักเป็นเรื่องที่น่าวิตกและอาจเป็นผลจากการเป็นโรคสมองเสื่อมที่มากไปกว่าการสูญเสียความทรงจำ
รูปแบบของพฤติกรรมก้าวร้าวที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การตะโกนกรีดร้อง หรือใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการโทรหาใครซักคนอย่างต่อเนื่อง ตะโกนคำเดิมซ้ำๆ หรือกรีดร้องซ้ำๆ
สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวในโรคสมองเสื่อมมีหลายสาเหตุ ได้แก่:
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- กลัว หรือ อับอาย
- ความขับข้องใจกับสถานการณ์
- ภาวะซึมเศร้า
- ไม่มีวิธีอื่นในการแสดงออก
- การสูญเสียการตัดสินใจ
- การขาดการยับยั้งและสูญเสียการควบคุมตนเอง
คุณควรจดบันทึกว่ามีอะไรบ้างที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าว หากคุณสามารถรู้ได้ว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ คุณจะได้หลีกเลี่ยงมันได้
ระหว่างที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าว พยายามอย่าทำให้สถานการณ์แย่ลงโดยการโต้เถียงหรือใช้ท่าทางก้าวร้าวกลับ แนะนำให้นับ 1-10 หรือให้คุณหลบออกจากสถานการณ์นั้นโดยการเดินออกจากห้องนั้น วิธีเดียวที่จะทำให้คุณยังคงรู้สึกใจเย็นได้คือให้จำไว้เสมอว่าพฤติกรรมก้าวร้าวที่ผู้ป่วยแสดงออกมา เป็นเพราะความเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยเป็น
เมื่อผู้ป่วยอารมณ์เย็นลงแล้ว ให้ปฏิบัติตัวกับผู้ป่วยตามปกติ พวกเขาอาจลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรืออาจรู้สึกอึดอัดใจกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น การปฏิบัติตัวตามปกติจะช่วยให้ทั้งคุณและผู้ป่วยก้าวไปข้างหน้าได้
ในบางครั้งก็สามารถใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายๆ กับพฤติกรรมก้าวร้าว ตัวอย่างเช่น แสงยามค่ำคืนจะทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวลน้อย ทำให้มีโอกาสน้อยที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจขี้ระแวง สงสัยคนอื่น
โรคสมองเสื่อมอาจขี้ระแวง สงสัยคนอื่น เป็นเพราะมีการสูญเสียความทรงจำ ไม่สามารถจดจำใบหน้าคนที่คุ้นเคย และมีความสับสนซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากโรคในสมอง
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจจะกล่าวหาคุณ เพื่อนของเขา หรือเพื่อนบ้านของเขาว่าจ้องจะเอาทรัพย์สินของตนเองไป ผู้ป่วยอาจเชื่อว่าทุกคนจ้องจะเอาไปได้ตลอดเวลา ถ้าผู้ป่วยทำของหาย ผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนรน ตื่นตระหนก และโน้มน้าวจิตใจตนเองว่าถูกขโมยของเหล่านั้นไป
พฤติกรรมของผู้ป่วยอาจคล้ายกับการมีภาพหลอนและหวาดระแวง แต่ในฐานะผู้ดูแล ให้พยายามจำไว้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกว่านี่คือเรื่องจริงสำหรับพวกเขา
ให้รับฟังความกังวลของผู้ป่วย ปลอบประโลมให้พวกเขาสงบลง และถ้าคุณมั่นใจว่าเรื่องเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง ให้เปลี่ยนหัวข้อสนทนา
ยาสำหรับรักษาพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อม
ในสถานการณ์ที่รุนแรงมากๆ เช่น หากพฤติกรรมของผู้ป่วยนั้นอันตรายต่อตัวพวกเขาเองหรือคนรอบข้าง และวิธีอื่นเพื่อให้ผู้ป่วยสงบลงได้ถูกใช้ไปหมดแล้ว และไม่ได้ผล แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยอาจจ่ายยาเพื่อรักษาอาการเหล่านี้
หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาที่ช่วยในการจัดการพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม หรือคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาดังกล่าว ให้ปรึกษาแพทย์