การรักษาโรคสมองเสื่อม

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การรักษาโรคสมองเสื่อม

วิธีการรักษาโรคสมองเสื่อมในปัจจุบันจะเน้นชะลอการดำเนินไปของโรค แต่ไม่สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ เช่น การใช้ยา การบำบัดทางด้านจิตใจ และการบำบัดทางด้านพฤติกรรม แต่อย่างไรก็ตามหากเป็นโรคสมองเสื่อมจากบางสาเหตุ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น การขาดวิตามิน การขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกในสมองบางชนิด การมีน้ำเกินในสมอง เป็นต้น

โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และจะค่อยๆ มีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับภาวะสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามิน และการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการให้สารเหล่านี้ทดแทนกับผู้ป่วย

สาเหตุบางสาเหตุสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เช่น เนื้องอกในสมองบางชนิด, การมีน้ำเกินในสมอง (โพรงสมองคั่งน้ำ หรือ hydrocephalus) หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ

สำหรับโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของเนื้อเยื่อประสาทและสมอง คุณสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ มีความเป็นไปได้ที่จะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อม โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล การควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และการหยุดสูบบุหรี่

สำหรับโรคสมองเสื่อม ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยาบางชนิดอาจป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ ยาเหล่านี้มักถูกให้ในผู้ป่วยที่มีอาการในระยะเริ่มต้นและระยะกลางของโรค ซึ่งยาจะช่วยรักษาระดับของอาการไม่ให้แย่ลง

เป็นเรื่องปกติที่จะพบว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย หากคุณมีภาวะสมองเสื่อมและมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาสั่งยาต้านอาการซึมเศร้าให้กับคุณ หรือ นัดคุณให้มาพบกับจิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานกับผู้สูงอายุ

บางทีการรักษาที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมคือ การได้รับการดูแลและการช่วยเหลือสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์, ครอบครัว และเพื่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากคุณหรือคนที่คุณรักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม คุณควรเริ่มต้นวางแผนการดูแลที่จะต้องใช้ในอนาคต

ให้พูดคุยเกี่ยวกับ

ท้ายที่สุด ยังมีหลายสิ่งที่คุณหรือคนที่คุณรักสามารถทำเพื่อรักษาความจำ รักษาความเป็นอิสระ และการทำงานของร่างกายไว้ได้ หากคุณมีภาวะสมองเสื่อม

ยาสำหรับรักษาโรคสมองเสื่อม

ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสมองเสื่อมในระดับรุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคสมองเสื่อม ความรุนแรงของโรค และสิ่งตรวจพบอื่นๆ ที่แพทย์ตรวจพบ ซึ่งอาจทำให้คุณได้รับการจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ยา

ยาโดเนเพซิล (donepezil) และยาอื่นๆ ในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors

ยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors เช่น กาแลนทามีน (galantamine) และ ไรวาสติกมีน (rivastigmine) ถูกใช้เพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง ยานี้สามารถใช้เพื่อรักษาโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ได้ และยังมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการประสาทหลอนด้วย

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors คือ คลื่นไส้ อาเจียน แต่อาการมักจะดีขึ้นเมื่อรับประทานยาผ่านไป 2 สัปดาห์แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitors บางครั้งอาจทำให้หัวใจเต้นช้าลง ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram (ECG)) ทั้งก่อนและระหว่างการใช้ยานี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือการตรวจที่จะบันทึกจังหวะและคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ

ยามีแมนทีน (memantine hydrochloride)

ยามีแมนทีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งผลของสารเคมีในสมอง ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการรุนแรง แต่ก็สามารถใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง หากผู้ป่วยรายนั้นตอบสนองไม่ดีต่อยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors

ยารักษาโรคจิต (Antipsychotics)

ยารักษาโรคจิตเป็นยาที่บางครั้งใช้ในการรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะก้าวร้าว หรือมีอาการกระวนกระวายใจ ปกติแล้วยานี้จะถูกใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยความระมัดระวัง เพราะยาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากับหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ง่วงนอน และมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการอื่นๆ ของโรคสมองเสื่อมแย่ลงได้

มีหลักฐานว่ายารักษาโรคจิตอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ ได้แก่:

  • ร่างกายแข็ง
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
  • ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้

ส่วนใหญ่แล้ว ยารักษาโรคจิตจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมท้าทายและพฤติกรรมก่อกวนที่รุนแรงซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง ก่อนการเริ่มใช้ยารักษาโรคจิต จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษา โดยจะต้องมีการปรึกษาพูดคุยกันระหว่างแพทย์, ครอบครัวของผู้ป่วย และถ้าเป็นไปได้ควรพูดคุยกับผู้ป่วยที่จะได้รับยาด้วย

ถ้ามีการสั่งใช้ยารักษาโรคจิตให้กับผู้ป่วย แพทย์จะจ่ายยาด้วยขนาดต่ำสุดและระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และผู้ที่ได้รับยารักษาโรคจิตจำเป็นต้องได้รับการติดตามภาวะทางสุขภาพอย่างรอบคอบ

ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants)

ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวนมาก ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับความรู้สึกผิดหวังที่ตนเองเป็นโรคนี้

ภาวะซึมเศร้าบางครั้งสามารถทำให้ความจำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแย่ลงได้ ดังนั้นจึงอาจต้องจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยด้วย

การรักษาทางด้านจิตใจสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

การรักษาทางด้านจิตใจไม่สามารถชะลอการดำเนินไปของโรคสมองเสื่อมได้ แต่สามารถช่วยเรื่องอาการที่ผู้ป่วยเป็นได้

การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด และ การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (Cognitive stimulation and reality orientation therapy)

การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (Cognitive stimulation therapy) จะมีการทำกิจกรรมและการออกกำลังกายซึ่งจะช่วยกระตุ้นความจำ ช่วยทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถทางภาษาดีขึ้น

การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (reality orientation therapy) จะช่วยลดความรู้สึกของการสับสนทางอารมณ์, การสูญเสียความทรงจำและความสับสน และช่วยเพิ่มความนับถือเคารพตนเอง

มีหลักฐานสนับสนุนว่า การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด จะช่วยให้ทักษะการคิดและความจำของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือการรักษาทางด้านจิตใจวิธีเดียวที่ถูกแนะนำโดย  National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ว่าสามารถช่วยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีอาการรุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง

การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีไม่มากและมักปรากฏขึ้นเมื่อมีความพยายามทำอย่างต่อเนื่องเท่านั้น

การหาความหมายของพฤติกรรมและอารมณ์ที่ผู้ป่วยแสดงออกมา (Validation therapy)

การบำบัดด้วยการให้เหตุผลจะมุ่งเน้นที่ภาวะสมองเสื่อมจากมุมมองทางอารมณ์มากกว่าความเป็นจริง โดยอยู่บนหลักการว่า แม้พฤติกรรมของผู้ป่วยจะมีความสับสนมาก แต่ก็มีความหมายสำหรับผู้ป่วยคนนั้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าใครก็ตามที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีอาการกระวนกระวายใจที่เวลาที่แน่นอนในทุกวัน เพราะเชื่อว่าแม่ของเขาจะมาหาและมารับเขา   หากคุณบอกว่าแม่ของเขาไม่ได้มีชีวิตอยู่แล้ว อาจยิ่งทำให้ผู้ป่วยกระวนกระวายมากขึ้นและรู้สึกเป็นทุกข์

ในทางทฤษฎี การบำบัดด้วยวิธีนี้จะลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยลงได้ หากเราสะท้อนอารมณ์ของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและยอมรับว่าความคิดและความรู้สึกของพวกเขามีความหมายสำหรับพวกเขา

อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีนี้อาจถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาด้วยวิธีนี้ว่าเป็นประโยชน์หรือไม่

พฤติกรรมบำบัด (Behavioural therapy)

การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดจะพยายามค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ยากลำบาก มีการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจมีประวัติการเดินออกจากบ้านหรือศูนย์ดูแลเพราะรู้สึกกระวนกระวายใจ ดังนั้นให้กระตุ้นพวกเขาให้ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งอาจช่วยลดความรู้สึกกระวนกระวายใจลงได้

การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดสามารถใช้เพื่อรักษาปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า การก้าวร้าวรุกราน และความคิดหลงผิด

ผู้ป่วยมักได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยเพื่อน หรือญาติที่ผ่านการฝึกอบรม (โดยปกติจะเป็นผู้ดูแลหลักในครอบครัว) หรือผู้ดูแลที่จ้างมา แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สามารถรักษาโรคสมองเสื่อมได้หรือไม่?

แนวคิดเกี่ยวที่ว่าสมองเสื่อมเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากความแก่ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นแนวคิดที่มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว

หลังจากมีการวิจัยจำนวนมาก ในปัจจุบันก็ยังคงมีอีกหลายเรื่องที่ยังเป็นปริศนาสำหรับโรคนี้ และยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้โรคนี้หายขาด

อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยจำนวนมากในปัจจุบันที่อาจนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจมีโอกาสที่จะรักษาโรคสมองเสื่อมได้

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการรักษาโรคสมองเสื่อมให้หายขาด แต่ก็มีเหตุผลอันเชื่อได้ว่าในปัจจุบันมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ข้อมูลด้านล่างนี้คือบางส่วนของแนวโน้มงานวิจัยเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมในปัจจุบัน

ยีนบำบัด (Gene therapy) สำหรับโรคสมองเสื่อม

ยีนบำบัดคือศาสตร์ทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุทางพันธุกรรมในการป้องกันหรือรักษาโรค

ทฤษฎีที่อยู่เบื้องต้นยีนบำบัดเริ่มมีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ซึ่งถือเป็นขอบเขตงานวิจัยที่ใหม่มากๆ และขณะนี้มีการรักษาด้วยวิธีนี้เฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น

ในโรคสมองเสื่อม การใช้ยีนบำบัดมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดยั้งการตายของเซลล์สมอง หรืออาจแทนที่เซลล์สมองเดิมที่ตายแล้ว แต่อาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีก่อนเริ่มมีการศึกษาในมนุษย์

วัคซีนโรคสมองเสื่อม (Dementia vaccine)

นักวิจัยบางรายกำลังศึกษาถึงสิ่งที่เรียกว่าวัคซีนโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะเป็นยาที่จะ “สอน” ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รับรู้ว่ามีการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติขึ้น (เช่น โปรตีน amyloid plaques) ในโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เซลล์สมองเกิดความเสียหาย

ระบบภูมิคุ้มกันเมื่อพบเจอการสะสมของโปรตีนเหล่านี้ ก็จะเข้าโจมตีก้อนโปรตีน และอาจทำให้ชะลอการดำเนินไปของโรคได้ นักวิจัยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาหลายๆ วิธีในการสร้างวัคซีนไปจนถึงการฉีดสารภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย

สเต็มเซลล์ และโรคสมองเสื่อม (Stem cells and dementia)

สเต็มเซลล์ถือเป็นเซลล์ต้นกำหนดที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นๆ ได้หลายชนิดซึ่งรวมถึงเซลล์สมอง

งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษาโรคสมองเสื่อมมีอยู่ 2 หลักใหญ่ๆ

1.สเต็มเซลล์สามารถจัดการเพื่อให้เกิดการเลียนแบบกระบวนการทำงานของร่างกายบางอย่างที่อาจเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม การกระทำดังกล่าวนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมได้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้นักวิจัยสามารถคาดการณ์ผลของยารักษาโรคสมองเสื่อมได้แม่นยำมากขึ้น

2.นักวิจัยมีความหวังว่าซักวันหนึ่ง สเต็มเซลล์จะถูกใช้เพื่อการสร้างเซลล์สมองใหม่ไปทดแทนเซลล์สมองเดิมที่ได้รับความเสียหายจากโรคสมองเสื่อม

การรักษาทางด้านจิตใจสำหรับโรคสมองเสื่อม

แม้ว่าเทคโนโลยีการรักษาที่ซับซ้อนในปัจจุบันจะมีความสำคัญ แต่การดูแลรักษาทางด้านจิตใจของผู้ป่วยก็มีความจำเป็น ซึ่งได้แก่:

  • การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (cognitive stimulation)- ผู้ป่วยจะเข้าร่วมกิจกรรมและการออกกำลังกายที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเรื่องความจำของผู้ป่วย ทักษะการแก้ปัญหา และความสามารถทางภาษาของผู้ป่วย
  • การหาความหมายของพฤติกรรมและอารมณ์ที่ผู้ป่วยแสดงออกมา (Validation therapy)

การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการรักษาโรคสมองเสื่อมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการรักษาแนวทางใหม่ กลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยทางสื่อสังคมออนไลน์ และแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเรื่องความจำ

เป้าหมายอีกประการหนึ่งของการวิจัยด้านการรักษาทางจิตใจคือ การค้นหาวิธีการช่วยควบคุมพฤติกรรมท้าทายของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมโดยไม่ต้องใช้ยารักษาโรคจิต

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia/about-dementia


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dementia Treatments: Medication, Therapy, Diet, and Exercise. WebMD. (https://www.webmd.com/alzheimers/dementia-treatments-overview#1)
Treatment of dementia. UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/treatment-of-dementia)
What are the treatments for dementia?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dementia/treatment/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป