การสื่อสารและกิจกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การสื่อสารและกิจกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

เมื่อโรคสมองเสื่อมพัฒนาไปเรื่อย ๆ สัมผัสประสาทและการประมวลผลของผู้ป่วยก็จะแย่ลง ทำให้การสื่อสารและการตระหนักถึงสิ่งรอบตัวเป็นไปได้ยาก และอาจต้องใช้วิธีต่าง ๆ กระตุ้นในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น

การสื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมเป็นภาวะความเจ็บป่วยซึ่งมีการดำเนินของโรคอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปโรคจะส่งผลต่อความสามารถของผู้ป่วยในการจดจำและทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันแม้กระทั่งข้อมูลพื้นฐานง่าย ๆ เช่น ชื่อบุคคล วันที่ และสถานที่ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ โรคสมองเสื่อมจะค่อยๆส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสื่อสารอีกด้วย ความสามารถของผู้ป่วยในการแสดงความคิดอย่างเป็นลำดับและการให้เหตุผลอย่างชัดเจนจะแย่ลงเรื่อยๆ

หากคุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คุณอาจพบว่าเมื่อโรครุนแรงมากขึ้นคุณอาจต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นการสนทนาเสมอ และอาจต้องพูดหลายครั้งเพื่อสื่อสารกับผู้ป่วยเหล่านั้น สิ่งนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยเนื่องจากความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของผู้ป่วยนั้นแย่ลงและการตอบสนองของพวกเขาจะช้าลงเช่นเดียวกัน

การส่งเสริมผู้ป่วยสมองเสื่อมให้สื่อสารได้มากขึ้น

พยายามเริ่มต้นการสนทนากับผู้ป่วยที่คุณกำลังดูแลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณสังเกตเห็นว่าพวกเขาทำการเริ่มการสนทนาน้อยลง เพื่อให้เกิดการ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเริ่มสื่อสารมีข้อแนะนำ ดังนี้:

  • พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ และพูดช้า ๆ โดยใช้ประโยคสั้น ๆ
  • สบตากับพวกเขาขณะพูด ถามคำถาม หรือการสนทนาอื่น ๆ
  • เว้นระยะการพูดให้พวกเขามีเวลาคิดและตอบสนอง เพราะผู้ป่วยอาจรู้สึกกดดันหากคุณพยายามเร่งให้ตอบ
  • กระตุ้นให้พวกเขาเข้าร่วมการสนทนากับผู้อื่น หากเป็นไปได
  • ปล่อยให้พวกเขาพูดเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเองระหว่างการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับสวัสดิการ หรือปัญหาสุขภาพของพวกเขา เนื่องจาก พวกเขาอาจไม่กล้าพูดถึงตัวเองในเรื่องอื่น ๆ
  • พยายามอย่าขำเยาะเย้ยพวกเขา หรือเล่นตลกกับคำพูดของผู้ป่วย
  • รับฟังสิ่งที่พวกเขาพูด แม้ว่าคำตอบเหล่านั้นอาจจะไม่ตอบคำถามของคุณ หรือสิ่งที่พวกเขาพูดนั้นไม่เกี่ยวข้องกับบทสนทนาเลย แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณกำลังรับฟัง และกระตุ้นให้พวกเขาพูดให้มากขึ้น ขยายความมากขึ้นเกี่ยวกับคำตอบเหล่านั้น
  • ให้ตัวเลือกง่าย ๆ - หลีกเลี่ยงการสร้างทางเลือกที่ซับซ้อนสำหรับพวกเขา
  • ใช้วิธีอื่นในการสื่อสาร - เช่น การตั้งคำถามใหม่ให้ง่ายและซับซ้อนน้อยลงเนื่องจากพวกเขาอาจไม่สามารถตอบคำถามได้ซับซ้อนอย่างที่เคยเป็น

การสื่อสารผ่านภาษากาย และการสัมผัส

การสื่อสารไม่ใช่แค่การพูดทางวาจาเท่านั้น ท่าทาง การเคลื่อนไหว และการแสดงออกทางสีหน้าทั้งหมดนั้นสามารถถ่ายทอดความหมายหรือช่วยให้คุณสื่อสารระหว่างกันได้  ภาษากายและการสัมผัสร่างกายมักกลายเป็นเรื่องสำคัญเมื่อการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมด้วยวาจานั้นทำได้ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ

ข้อแนะนำในการสื่อสารกับผู้ป่วยที่พูดได้ลำบาก หรือทำให้เข้าใจกันง่ายขึ้น ได้แก่:

  • ความใจเย็น และท่าทีที่สงบนิ่งสามารถช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้น
  • ใช้น้ำเสียงที่สดใส เป็นมิตรและเป็นกันเอง หากเป็นไปได้ในสถานการณ์นั้น
  • พูดคุยกับพวกเขาในระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกข่มขู่พวกเขา - ยืนหรือนั่งอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าผู้ป่วยก็สามารถทำให้บรรยากาศการสนทนาดีขึ้นได้เช่นกัน
  • ค่อย ๆ ลูบไหล่หรือจับมือผู้ป่วยในขณะกำลังพูดคุยกับพวกเขา สามารถสร้างความมั่นใจให้พวกเขาและทำให้คุณรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น ให้สังเกตภาษากายของพวกเขาและรับฟังสิ่งที่พวกเขาพูดว่าพวกเขารู้สึกดีกับสิ่งเหล่านี้หรือไม่

สิ่งสำคัญคือคุณต้องสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการ เพราะจำไว้ว่า เราทุกคนต่างรู้สึกหงุดหงิดเมื่อไม่สามารถสื่อสารได้ดั่งใจ หรือสื่อสารแล้วมีการเข้าใจผิดอยู่เสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรับฟังและทำความเข้าใจผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นสองทาง ในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คุณอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะ "ฟัง" อย่างรอบคอบมากขึ้น

คุณอาจต้องตระหนักถึงข้อความที่ไม่ได้มาจากคำพูดต่าง ๆ เช่น การแสดงออกทางสีหน้า และภาษากาย นอกจากนี้ คุณอาจจะต้องใช้การสัมผัสทางกายมากขึ้น เช่น การให้ความมั่นใจโดยการแตะไหล่ หรือยิ้มไปพร้อมกับการพูด เคล็ดลับต่อไปนี้อาจช่วยให้การสื่อสารระหว่างคุณและบุคคลที่คุณห่วงใยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การฟังอย่างตั้งใจ

เมื่อสื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ทักษะการฟังเชิงรุกหรือการฟังอย่างตั้งใจนั้นมีประโยชน์ โดยมีข้อแนะนำในการปฏิบัติ ดังนี้:

  • สบตาคนที่พูด และกระตุ้นให้พวกเขาสบตาคุณเช่นกันเมื่อคุณกำลังพูด
  • พยายามไม่ขัดจังหวะพวกเขาแม้ว่าคุณทราบสิ่งที่พวกเขากำลังพูดอยู่แล้ว
  • หยุดกิจกรรมที่คุณกำลังทำอยู่ เพื่อให้คุณสามารถให้ความสนใจเมื่อพวกเขาพูดให้มากที่สุด
  • ลดการรบกวนต่อการสื่อสาร เช่น ลดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุที่เสียงดังเกินไปหากเป็นไปได้
  • พูดทวนสิ่งที่คุณได้ยิน และถามว่ามันถูกต้องหรือไม่ หรือขอให้พวกเขาพูดซ้ำสิ่งที่พวกเขากล่าว
  • แสดงถึงการตั้งใจ "ฟัง" ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งการส่ายหน้า เอียงศีรษะหนีหรือพูดพึมพำนั้นถือเป็นวิธีที่แสดงถึงการปฏิเสธ หรือเป็นการแสดงความไม่พอใจออกมาให้เห็นได้

กิจกรรมของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

การใช้ชีวิตที่มีการเข้าสังคมอย่างสม่ำเสมอเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมรู้สึกมีความสุขและมีแรงบันดาลใจในชีวิตมากขึ้น

มีคลับและกิจกรรมหลายอย่างที่ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้คนในสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งอาจถือเป็นรางวัลสำหรับทั้งผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและครอบครัวรวมทั้งผู้ดูแลของพวกเขา

ทุกคนต้องการรู้สึกถึงคุณค่าชีวิต และมีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวัน การกระตุ้นให้คนที่มีภาวะสมองเสื่อมทำอะไรบางอย่างที่สร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกายเบา ๆ บางอย่าง หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้พวกเขาตระหนักถึงศักยภาพของพวกเขาเอง และสามารถช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองและลดความเหงาลงได้มาก ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในระยะแรก ๆ อาจจะชอบเดินไปนั่นไปนี่ เข้าเรียนในคลาสออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ หรือพบปะกับเพื่อนซึ่งเข้าใจและให้กำลังใจได้ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในกรณีที่คุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม หากมีกิจกรรมใดที่สามารถทำด้วยกันได้ ก็อาจทำให้คุณทั้งสองคนมีความสุขมากขึ้นและสามารถเพลิดเพลินไปกับเวลาดีๆ เหล่านั้นได้ด้วย

กิจกรรมสัมผัสประสาทหลายด้าน (Multisensory activities)

ถ้าคนที่คุณห่วงใยเริ่มค่อย ๆ ปลีกตัวออกไปจากชีวิตคุณมากขึ้น คุณอาจต้องการค้นหาวิธีต่างๆในการเชื่อมต่อกับผู้ป่วย สมาคมผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Society) มีคำแนะนำเพิ่มเติมเรื่องเหล่านี้ เช่น การทำสวน การอบขนม การแก้ปริศนาเชาว์ และกิจกรรมอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการจดจำอดีตที่มีความสุข เช่น การเยี่ยมชมสถานที่ที่ชื่นชอบ หรือการเก็บสิ่งต่าง ๆ ใส่กล่องความจำไว้

กิจกรรมที่ใช้สัมผัสประสาทหลายด้านมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมพัฒนาโรคไปยังระยะที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากทั้งสีสันที่สดใส เสียงที่น่าสนใจ และสิ่งของที่สัมผัสได้ของกิจกรรมดังกล่าวสามารถดึงดูดความสนใจของพวกเขาในทางที่กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การพูดคุยหรือการอ่านหนังสือธรรมดา ๆ นั้นทำไม่ได้อีกต่อไป

สวนเพื่อกระตุ้นสัมผัสประสาท

บ้านพักผู้ป่วยหลายแห่งมีสวนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้เวลาอยู่ในนั้น สามารถกระตุ้นสัมผัสประสาทด้านต่าง ๆ ได้ โดยปกติแล้ว สวนจะสามารถเข็นเก้าอี้รถเข็นเข้าไปได้ และคัดเลือกพันธุ์พืชและดอกไม้เพื่อดึงดูดสัตว์ในท้องถิ่นเข้ามาด้วย สวนกระตุ้นสัมผัสประสาทนั้นเป็นสวนหรือแปลงพืชที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าชมมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่แตกต่างกันหลายด้าน สวนกระตุ้นประสาทสัมผัสอาจประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • พืชส่งกลิ่นหอมและกินได้
  • ประติมากรรม และราวจับเดินชนิดแกะสลัก
  • ส่วนน้ำตก น้ำพุหรือทางเดินน้ำที่ส่งเสียง และสัมผัสได้
  • พื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ
  • จอแว่นขยาย
  • คำอธิบายแบบอักษรเบรลล์

สวนกระตุ้นประสาทสัมผัสจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุโดยสามารถกระตุ้นให้พวกเขาใช้เวลามากขึ้นนอกบ้าน การออกแบบและรูปแบบของสวนดังกล่าวตั้งใจที่จะกระตุ้นผ่านทางความรู้สึกด้านต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวพวกเขาให้มากขึ้น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia/living-with-dementia/living-well-with-dementia#dementia-activities


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's and dementia: Tips for better communication. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/caregivers/in-depth/alzheimers/art-20047540)
Communicating with someone with dementia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dementia/communication-and-dementia/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป