กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Phosphatidylserine (ฟอสฟาติดิลซีรีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ข้อมูลภาพรวมของฟอสฟาติดิลซีรีน

ฟอสฟาติดิลซีรีน (Phosphatidylserine) คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เอง แต่ได้ในปริมาณที่น้อยมากจนส่วนใหญ่จะได้มาจากการรับประทานอาหาร ส่วนอาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนในอดีตเคยถูกผลิตมาจากสมองของวัว แต่ ณ ปัจจุบันได้ถูกผลิตมาจากกะหล่ำปลีหรือถั่วเหลืองแทนเนื่องจากความกังวลว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ เช่น โรควัวบ้า

ฟอสฟาติดิลซีรีนส่วนมากถูกใช้เพื่อเพิ่มการทำงานทางสมองโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฟอสฟาติดิลซีรีนออกฤทธิ์อย่างไร?

ฟอสฟาติดิลซีรีนเป็นสารเคมีสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเซลล์ เป็นกุญแจสำคัญในการคงสภาพการทำงานระดับเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ในระบบประสาท

การใช้และประสิทธิภาพของฟอสฟาติดิลซีรีน

ภาวะที่อาจใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะสมองเสื่อมจากอายุ ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจช่วยเพิ่มสมาธิ, ทักษะทางภาษา, และความจำของผู้สูงวัยที่เริ่มมีภาวะการคิดเสื่อมถอย โดยงานวิจัยส่วนมากได้ใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนที่นำมาจากสมองของวัว แต่ ณ ปัจจุบัน อาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนส่วนมากได้ผลิตขึ้นจากผักอย่างกะหล่ำหรือถั่วเหลืองกันแล้ว ทำให้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีหลักฐานว่าฟอสฟาติดิลซีรีนจากพืชเองก็ช่วยในเรื่องความจำของผู้สูงอายุเช่นกัน อีกทั้งงานวิจัยบางชิ้นยังได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานฟอสฟาติดิลซีรีนจากพืชที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน DHA ก็สามารถช่วยในเรื่องความจำและสมาธิของผู้หญิงสูงวัยได้เช่นกัน กระนั้นผลิตภัณฑ์จำพวกนี้มักจะออกฤทธิ์กับผู้ที่มีอาการของการเสื่อมถอยที่ไม่รุนแรงมากกว่า
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) การรับประทานฟอสฟาติดิลซีรีนอาจสามารถช่วยลดอาการจากโรคอัลไซเมอร์ได้บางอย่างหลังการรักษาไปแล้ว 6-12 สัปดาห์ โดยจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ไม่รุนแรง และผลของฟอสฟาติดิลซีรีนก็อาจมีประสิทธิภาพน้อยลงตามระยะเวลาการใช้งาน โดยหลังจากการใช้ที่ 16 สัปดาห์ อาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน  งานวิจัยส่วนมากยังได้ใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัว ทำให้นักวิจัยยังไม่ทราบว่าฟอสฟาติดิลซีรีนที่ผลิตจากพืชอย่างกะหล่ำปลีหรือถั่วเหลืองกับการบรรเทาโรคอัลไซเมอร์นั้นว่ามีผลมากน้อยกว่าการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัวอย่างไร

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนรักษาได้หรือไม่

  • เพิ่มศักยภาพทางด้านกีฬา การทานฟอสฟาติดิลซีรีนนาน 6 สัปดาห์ก่อนเล่นกอล์ฟอาจทำให้นักกอล์ฟเล่นได้ดีขึ้น แต่ไม่อาจช่วยลดความเครียดหรืออัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการแข่งขันได้ งานวิจัยอื่นได้แสดงให้เห็นอีกว่าการทานฟอสฟาติดิลซีรีนที่มีคาเฟอีนกับวิตามินอาจเพิ่มอารมณ์และลดความเหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายได้ แต่การเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังคงมีน้อยมาก และยังไม่แน่ชัดว่าผลเช่นนี้เกิดจากฟอสฟาติดิลซีรีนหรือส่วนประกอบอื่น ๆ กันแน่
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานฟอสฟาติดิลซีรีนจากพืชสามารถช่วยเพิ่มระดับสมาธิ, เพิ่มการควบคุมอารมณ์, และลดอาการไฮเปอร์ของเด็กและวัยรุ่นที่เป็น ADHD ได้
  • ความเครียดจากการออกกำลังกาย พบว่านักกีฬาที่ทานฟอสฟาติดิลซีรีนระหว่างการฝึกร่างกายต่อเนื่องจะรู้สึกโดยรวมดีกว่าและมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน้อยลง อย่างไรก็ตามผลลัพธ์จากการวิจัยยังคงไม่แน่ชัด
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีหลักฐานว่าฟอสฟาติดิลซีรีนอาจช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุลงได้
  • ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย งานวิจัยพบว่านักกีฬาที่ทานฟอสฟาติดิลซีรีนระหว่างการฝึกร่างกายต่อเนื่องจะรู้สึกโดยรวมดีกว่าและมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายน้อยลง
  • เพิ่มความสามารถทางการคิด
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของฟอสฟาติดิลซีรีนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของฟอสฟาติดิลซีรีน

ฟอสฟาติดิลซีรีนถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่และเด็กส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งมีข้อมูลว่าการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนในการทดลองทางคลินิกก็ให้ผลที่ปลอดภัยในระยะเวลา 6 เดือนในกลุ่มผู้ใหญ่ และ 4 เดือนสำหรับเด็ก

ฟอสฟาติดิลซีรีนสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ อย่างนอนไม่หลับและปวดท้องได้ โดยเฉพาะหากรับประทานที่ปริมาณมากกว่า 300 mg 

มีข้อกังวลว่าผลิตภัณฑ์ฟอสฟาติดิลซีรีนที่ผลิตจากสัตว์สามารถส่งต่อเชื้อโรคได้ อย่างเช่นโรควัวบ้า แต่ ณ ขณะนี้ก็ยังไม่มีกรณีการติดเชื้อประเภทนี้ในมนุษย์จากการใช้อาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนแต่อย่างใด หากคุณมีความกังวลก็ควรเปลี่ยนมาบริโภคอาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนที่ผลิตจากพืชแทนก็ได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนเพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาเหล่านี้ความระมัดระวัง

  • ยากลุ่ม Anticholinergic กับฟอสฟาติดิลซีรีน

ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจเพิ่มสารเคมีที่ลดผลกระทบของยากลุ่ม anticholinergic บางตัวลง โดยตัวอย่างยากลุ่มนี้มีทั้ง atropine, scopolamine, และยาสำหรับภูมิแพ้ (ยาต้านฮิสตามีน) (antihistamines) กับยาต้านซึมเศร้า (antidepressants) บางตัว 

  • ยาสำหรับโรคอัลไซเมอร์ (Acetylcholinesterase (AChE) inhibitors) กับฟอสฟาติดิลซีรีน

ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจเพิ่มสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า acetylcholine ขึ้น ยาสำหรับอัลไซเมอร์ที่เรียกว่า acetylcholinesterase inhibitors เองก็ออกฤทธิ์เพิ่มเคมีตัวนี้ขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการทานฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาสำหรับอัลไซเมอร์อาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงจากยาขึ้น โดยตัวอย่างยากลุ่ม acetylcholinesterase มีทั้ง donepezil (Aricept), tacrine (Cognex), rivastigmine (Exelon), และ galantamine (Reminyl, Razadyne)

  • ยาต่าง สำหรับโรคต้อหิน (glaucoma), โรคอัลไซเมอร์, และภาวะอื่น   (Cholinergic drugs) กับฟอสฟาติดิลซีรีน

ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจเพิ่มสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า acetylcholine ขึ้น สารเคมีตัวนี้จะคล้ายกับยาบางตัวที่ใช้สำหรับโรคต้อหิน, อัลไซเมอร์, และภาวะอื่น ๆ ดังนั้นการทานฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสของผลข้างเคียงขึ้น ตัวอย่างยาเหล่านี้มีทั้ง pilocarpine (Pilocar และอื่น ๆ ), และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับสมองเสื่อมถอยจากอายุที่มากขึ้น: ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัวหรือพืช 100 mg สามครั้งต่อวันนาน 6 เดือน และผลิตภัณฑ์ฟอสฟาติดิลซีรีนชนิดแคปซูล (Vayacog, Enzymotec Ltd.) ที่ประกอบด้วย phosphatidylserine (PS) และอุดมด้วยกรดไขมัน DHA 1-3 แคปซูลทุกวันนาน 15 สัปดาห์
  • สำหรับโรคอัลไซเมอร์: ฟอสฟาติดิลซีรีน 300-400 mg ทุกวันโดยแบ่งโดส


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kim, H. Y., Huang, B. X., & Spector, A. A. (2014). Phosphatidylserine in the brain: metabolism and function. Progress in lipid research, 56, 1–18. doi:10.1016/j.plipres.2014.06.002

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)