August 26, 2019 20:56
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ท้องผูกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น การละเลย หรือยับยั้งความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ การกินอาหารที่มีกากใยน้อย การดื่มน้ำน้อย โรคของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เช่น ริดสีดวง ฝีคัณฑสูตร โรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากยา ที่พบบ่อยคือยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ยาแก้ปวด แคลเซียม เป็นต้นครับ
เบื้องต้น แนะนำให้ฝึกให้มีนิสัยการขับถ่าย เช่น ขับถ่ายเป็นเวลา โดยเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายอุจจาระที่ดีควรจะเป็นหลังอาหาร(ดีที่สุดหลังอาหารเช้า) เพิ่มปริมาณเส้นใยในอาหาร ทานผักผลไม้มากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ถ้าไม่ดีขึ้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ จะได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยแยกโรคครับ
ส่วนเรื่องการที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- ตั้งครรภ์
เป็นต้นครับ
ถ้ามีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ อาจลองตรวจการตั้งครรภ์ และแนะนำให้พักผ่อนมากๆ หลีกเลี่ยงความเครียด/ออกกำลังกายหักโหม พยายามลดน้ำหนัก ดีที่สุดอยากให้พบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เคยเป็นอาการนี้ตอนประมาณอายุ 9-10ขวบค่ะ แล้วหมอที่โรงพยาบาลตรวจเค้าบอกว่าเป็น ลำไส้ตีบ อยากทราบว่าจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมไหมคะ ควรกินยาที่เคยกินแล้วหายไปก่อนหรือไปตรวจที่โรงพยาบาลเลยดี
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการท้องอืด โดยเฉพาะหากเป็นบ่อยๆ อาจเกิดจากหลายปัจจัยครับ
1.โรคแผลในกระเพาะ หรือ กรดไหลย้อน ค่ะ ทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้องตรวลิ้นปี่ได้ บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งสองโรคนี้ เป้นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดครับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดได้ เช่น การทานอาหารไม่ตรวเวลา อาหารรสจัด น้ำอัดลม คาเฟอีน อาหารมันๆ และการทานแล้วนอนเลยครับ
2.โรคนิ่วในถุงน้ำดี. คนไข้อาจมีอาการปวดท้องด้านขวา หรือมีอาการอืดแน่นท้อง มักเป็นตามหลังอาหารมื้อใหญ่ๆ หรือ อาหารมันจัดครับ
3.ก้อนเนื้อ อันนี้อย่าเพิ่งกังวลไปนะครับ อาการร่วมที่พบได้ เช่น แน่นท้องมากๆ กลืนลำบาก น้ำหนัดลด เป็นต้นครับ
ข้อแนะนำเบื้องต้นคือ หากไม่มีอาการอื่นๆผิดปกติ เช่น น้ำหนักลดลงผิดปกติ ทานอาหารไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียนมาก ซีดลง อ่อนเพลีย การขับถ่ายผิดปกติ คนไบ้ อาจลองใช้ยาสามัญประจำบ้านและปรับวิถีชีวิตประจำวันดูก่อนได้ครับ เช่น
การปรับชีวิตประจำวัน ควรปรับเรื่อง อาหาร และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกินครับ
-อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน ไม่หวานจัดเผ็ดจัดเค็มจัด
-ลดของหวานของมัน อเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และ คาเฟอีน
-รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-หลังกินควรยกหัวสูง คือไม่นอนทันทีครับ อย่างน้อย 1-3 ชม
-หากมียาที่มีผลข้างเคียงที่รับประทานเป็นประจำ ทำให้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ อาจจะเป็นโรคกระเพาะไม่มีสาเหตุ การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ก้อน นิ่ว เป็นต้น หลังจากตรวจ อาจจะได้นามารับประทาน ให้รับประทานต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับชีวิตประจำวันครับและไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอครับ
>>การใช้ยา โดยทั่วไป ยาสามัญประจำบ้านที่คนไข้สามารถซื้อเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยา alum milk , ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน , simeticone เป็นต้นครับ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
รู้สึกเหมือนท้องอืดอยู่ตลอดเวลา ไม่ถ่ายมา4-5วันแล้วค่ะ ประจำเดือนก็ยังไม่มาค่ะเดือนนี้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)