August 18, 2019 20:20
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ปัญหาในการควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- ขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ที่ดีพอ
- อารมณ์ที่แปรปรวนตามรอบเดือน
- โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์
- โรคซึมเศร้า
- โรคระเบิดอารมณ์เป็นครั้งคราว (Intermittent explosive disorder)
- โรคสมาธิสั้น
- ความผิดปกติของบุคลิกภาพบางอย่าง
ในกรณีที่การควบคุมอารมณ์ที่ไม่ดีนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆหรือส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตมากหมอก็แนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมดูก่อนเพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ส่วนในระหว่างนี้ก็อาจฝึกการควบคุมอารมณ์อย่างง่ายๆได้โดยการฝึกจับอารมณ์ของตนเองก่อน เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังหงุดหงิด โมโหก็ให้หาทางดึงตัวเองออกมาจากสถานการณ์นั้นก่อนและให้พยายามสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆยาวๆอย่างช้าๆไปจนกว่าอารมณ์จะเริ่มสงบลงครับ เมื่ออารมณ์เริ่มสงบลงแล้วจึงค่อยกลับไปเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวอีกครั้งก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการใช้คำอารมณ์รุนแรงได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขอบคุณนะคะคุณหมอ หนูอยากทำให้ได้อย่างที่คุณหมอบอก หนูไม่อยากเป็นคนอารมณ์ร้อนขี้หงุดหงิดแบบนี้อีก แล้วบางทีก็เอามาคิดเองร้องไห้เอง
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
หากมีปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพจิตต่างๆ คิดว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้ การพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ตามสิทธิการรักษาครับ สามารถเช็คสิทธิการรักษาได้จากเว็บไซต์ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณนะคะ
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการที่เล่ามา อาจเป็นปัยหาทางด้านอารมณ์ ซึ่งหากมีอาการเศร้า เบื่อ ซึม เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ อาการเหล่านี้อาจบ่งถึงภาวะซึมเศร้าก็เป็นได้นะคะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การรับรู้ ความคิด การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม หากเจอปัญหาหรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 7 ข้อ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิดง่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ทันที ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมความคิดอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม ร่วมกับการทำจิตบำบัด จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจทำให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอบคุณนะคะคุณหมอ
สวัสดีค่ะ คุณหมอคะพอดีหนูเป็นคนขี้หงุดหงิดง่ายมาก และอารมณ์ร้อนบ้างบางทีแต่ช่วงนี้เป็นบ่อย บางทีก็มีเรื่องให้คิดและมีปัญหาแต่ไม่รู้จะเล่าให้ใครฟัง อึดอัดจนบางทีก็ร้องไห้ออกมาเองโดยไม่รู้สาเหตุเก็บตัวไม่คุยกับใคร เหมือนมันอ่อนแอไปหมดเลยค่ะ หนูควรแก้ยังไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)