September 02, 2019 12:18
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับประจำเดือนมามากเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ประสบภาวะนี้มักประสบปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล รังไข่ทำงานผิดปกติ เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูก ได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ดังนี้
1.ฮอร์โมนไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลจะช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลให้สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ ก็ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล และสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไปจนทำให้ประจำเดือนมามากได้
2. เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูก ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูกนั้นมีหลายอย่าง ผู้ที่ประจำเดือนมามากอาจประสบภาวะสุขภาพต่อไปนี้
- เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกในมดลูกไม่ใช่เนื้อร้ายที่เป็นโรคมะเร็ง โดยเนื้องอกเจริญขึ้นภายในเยื่อบุโพรงมดลูกหรือมดลูก ส่งผลให้ผู้ที่เกิดเนื้องอกบริเวณดังกล่าวมีประจำเดือนมามากหรือมีประจำเดือนนานกว่าปกติ
- มะเร็ง มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดประจำเดือนมากกว่าปกติ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ประจำเดือนมามากจากสาเหตุนี้พบได้ไม่บ่อยนัก
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ ทำให้รอบเดือนมาไม่ปกติและประจำเดือนมามากเมื่อกลับมามีรอบเดือนตามปกติ
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ ผู้ป่วยโรคนี้เกิดการติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ส่วนบน ได้แก่ มดลูก ท่อนำไข่ หรือรังไข่ มักเกิดอาการปวดท้อง รวมทั้งมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์หรือระหว่างช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ภาวะนี้เกิดจากต่อมของเยื่อบุมดลูกเข้าไปฝังตัวที่กล้ามเนื้อมดลูก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเลือดประจำเดือนมากรวมทั้งปวดท้องประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญในเนื้อมดลูกมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยกลางคนที่เคยมีบุตร
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นอกมดลูก (Endometriosis) ภาวะนี้คือภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกขนาดเล็กเจริญภายนอกมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ หรือช่องคลอด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงปวดท้องประจำเดือนได้
- ติ่งเนื้อที่ปากมดลูกหรือโพรงมดลูก ติ่งเนื้อคือเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย โดยจะเจริญขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกหรือปากมดลูก
3. ได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ที่มีเลือดออกจากช่องคลอดมากอาจเกิดจากภาวะแท้งหรือภาวะท้องนอกมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวเสี่ยงทำให้เกิดอาการประจำเดือนมามากได้ไม่บ่อยนัก
4. เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ยารักษาโรคบางอย่างก่อให้เกิดอาการประจำเดือนมามาก ซึ่งประกอบด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาสำหรับใช้ทำเคมีบำบัดบางตัว ยาต้านอักเสบ หรือห่วง อนามัยสำหรับคุมกำเนิด
5 .ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางชนิดอาจมีเลือดประจำเดือนมามาก เช่น ไฮโปไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือโรคที่เกี่ยวกับตับและไต
แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ส่วนยาที่รับประทานขออนุญาติทราบชื่อยาเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
โดยปกติแล้วรอบเดือนโดยเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วไปจะมาทุกๆ 24 ถึง 38 วันครับ และช่วงเวลาที่มีประจำเดือนแต่ละรอบส่วนใหญ่จะไม่เกิน 8 วันครับ
________________________
การมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีติ่งเนื้อในมดลูก (Polyps)
- มดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis)
- เนื้องอกกล้ามเนื้อในมดลูก (Leiomyoma)
- การเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ (Endometrial hyperplasia)
- มะเร็ง (Malignancy)
- ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Coagulopathy)
- การตกไข่ผิดปกติ (Ovulatory dysfunction) เช่น โรค PCOS, โรคไทรอยด์, น้ำหนักตัวมากหรือผอมเกินไป, ออกกำลังกายหนักเกินไป, เครียด เป็นต้น
- การทานยาบางชนิด เช่น ยาด้านจิตเวชบางตัว, ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน, ยาคุมกำเนิดชนิดโพรเจสเทอโรน เป็นต้น
**สาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวไปเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติม รวมถึงการพิจารณาส่งตรวจทางรังสีวิทยา และพยาธิวิทยาครับ ดังนั้นควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เป็นประจำเดือนมา 11 วันแล้ว แต่ปกติทุกเดือนเป็นแค่ 4-6 วัน ประจำเดือนทีสีน้ำตาลเข้ม ตอนนี้มีเจ็บหน่วงๆท้องน้อย และในแต่ละเดือนหนูทานยาแก้ปวดประจำเดือนเม็ดสีเหลือง มันจะเป็นไปได้ไหมที่เป็นผลระยะยาวจากการทานยาตัวนี้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)