December 04, 2019 20:21
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการเจ็บหน้าอกนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ ซึ่งการที่จะยืนยันสาเหตุให้แน่ชัดได้นั้นก็จะต้องอาศัยลักษณะของอาการเจ็บหน้าอก การตรวจร่างกาย และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพิ่มเติมก่อนครับ
ตัวอย่างสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกที่เป็นไปได้สำหรับในกรณีนี้ เช่น
- มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหน้าอกหรือกระดูกซี่โครง จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกจี๊ดๆแปล๊บๆในระดับตื้นๆ มีจุดกดเจ็บชัดเจน อาการเจ็บอาจสัมพันธ์กับการขยับตัวเปลี่ยนท่าทาง
- กรดไหลย้อน อาจมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระเพาะได้ แต่ในกรณีนี้อาจจะยังไม่ได้เหมือนกับโรคกรดไหลย้อนมากนักเนื่องจากไม่ได้มีอาการแสบร้อนกลางอกหรือเรอเหม็นเปรี้ยวครับ
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะทำให้มีอาการเจ็บแน่นกลางอกคล้ายมีอะไรมาเหยียบ เจ็บร้าวไปที่คอด้านซ้ายหรือไหล่ซ้าย อาการเจ็บอาจเป็นมากขึ้นถ้ามีการออกแรง และต้องอาศัยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อยืนยันสาเหตุเพิ่มเติม
- ความผิดปกติของปอด เยื่อหุ้มปอด หรือมีหลอดเลือดที่ปอดอุดตัน จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกที่สัมพันธ์กับเวลาหายใจเข้าสุด อาจทำให้มีอาการไอ หอยเหนื่อยร่วมด้วย
ในกรณีที่มีอาการเจ็บหน้าอกเรื้อรังมานานและยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน หมอก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการหาสาเหตุให้แน่ชัดอีกครั้งก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เจ็บน่าอกบ่อยเกิดจากอาไรค่ะ เคยเป็นมาตั้งแต่เด็กค่ะพ่อแม่เคยพาไปหาหมอแต่หมอบอกไม่ได้เป็นอะไร ปัจุบันรู้สึกว่าเจ็บบ่อยขึ้นค่ะ และเริ่มเจ็บอกด้านซ้ายด้วย เจ็บอย่างเดียวค่ะไม่แสบไม่เรอเปรี้ยวไม่มีอาการกดไหลย้อน บางทีเจ็บ1-2 นาที บางทีก็นานหน่อยค่ะ บางครั้งหายใจไม่เต็มอิ่มเวลาเจ็บ บางครั้งก็เจ็บมาก เกิดจากอาไรค่ะ กดไหลย้อน หรือแค่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อเฉยค่ะ เพราะบางทีตกใจดีใจหรือคิดมากมันก็เจ็บค่ะ #เป็นโรคกระเพาะอยู่ค่ะอาจเกี่ยวกัน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)