July 08, 2019 19:28
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
วิธีการแยกความเครียดตามปกติกับความเครียดที่เป็นปัญหานั้นสามารถแยกได้ดังนี้ครับ
ความเครียดที่เป็นปกตินั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคนตามปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระตุ้นครับ โดยเมื่อเรื่องที่เข้ามากระตุ้นนั้นเริ่มหายไปความเครียดต่างๆก็จะลดลงไปด้วย และความเครียดที่เป็นปกตินี้ก็จะไม่มีผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากนักครับ
ส่วนความเครียดที่เป็นปัญหานั้นมักเป็นความเครียดที่มากเกินกว่าปัจจัยที่เข้ามากระตุ้น มักเป็นอย่างต่อเนื่องแม้เรื่องที่ทำให้เครียดหายไปแลเวความเครียดก็มักจะบังคงอยู่จนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตในด้านต่างๆตามมา ซึ่งถ้าหากมีความเครียดอยู่ในระดับนี้ก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความเครียดสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่โดยปกติคนทั่วไปจะปรับตัวกับความเครียดนั้นได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์-1 เดือน หากเกิน 1 เดือนไปแล้วยังคงมีความเครียด ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันแบบนี้มีโอกาสที่จะนำไปสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอื่นๆได้
เบื้องต้นลองทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองดูก่อนก็ได้นะคะ
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรหาเวลาผ่อนคลาย เช่นการหาที่ปรึกษาพูดคุยระบายความรู้สึก การไปออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมอื่นๆที่ผ่อนคลาย การฝึกสมาธิ การหยุดพักผ่อนหย่อนใจ หากลองปรับแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ต้องพบจิตแพทยืนะคะ ประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาก็จะเห็นได้ถึงความเครียดที่เข้ามากระทบกับร่างกายและพฤติกรรมที่แสดงออกมาซึ่งตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคนหลายๆ คนนะครับ และอย่างที่คุณหมอได้บอกไว้ หากเรานำตัวออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด แล้วความเครียดเหล่านี้ยังคงอยู่ต่อไปและเริ่มเข้ามามีผลกระทบกับการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน แฟน หรือครอบครัว เปลี่ยนไป ตรงนี้ก็เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งนะครับว่าคุณควรได้รับการตรวจประเมินจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา เพื่อรับการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครัล
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญแล้ว การบริหารความเครียดด้วยตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคญมากๆนะครับ โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของความเศร้าหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หนูควรไปพบจิตแพทย์ไหมคะคือตอนหนูไปเข้าค่ายหนูมีอาการปวดหัวเพราะเครียด ช่วงนี้ปัญหาต่างๆมันเยอะแล้วหนูเป็นคนคิดมากอยู่ด้วยจึงทำให้เครียดง่ายแต่อาการเครียดของหนูมันแปลกๆค่ะคือบางครั้งหนูก็รู้สึกซึมๆตอนอยู่กับผู้คนเยอะๆแต่บางครั้งก็หัวเราะออกมาแบบไม่มีสาเหตุ หัวเราะแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ เพื่อนหนูพูดอะไรมาหนูก็หัวเราะไม่หยุด หนูไม่เข้าใจตัวเองเลยค่ะทำไมถึงเป็นแบบนี้แต่พอไปนั่งรวมกับคนอื่นหนูก็กลับมาเงียบเหมือนเดิม ตอนถือของหนูก็รู้สึกมือสั่นๆ แล้วหนูนอนหลับนานมากค่ะเกือบทั้งวันเลย มันเป็นแค่อาการเครียดอย่างเดียวใช่ไหมค่ะหรือมีอาการทางจิตอื่นๆช่วยใก้คำแนะนำหน่อยนะคะคุณหมอ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)