June 02, 2017 19:38
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
อาการปวดประจำเดือน มีสาเหตุการเกิดสองแบบ ได้แก่
แบบแรก คือ เกิดจากการหดตัวของมดลูก เพื่อขับเลือดประจำเดือน สามารถเกิดได้เป็นปกติค่ะ โดยอาการอาจจะเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และในช่วงการมีประจำเดิอน โดยเฉพาะ 12-72 ชมแรกค่ะ อาการปวด จะปวดแบบบีบๆ เหนือหัวหน่าว บางคนอาจร้าวไปหลังได้ด้วย และร่างกาย อาจหลั่งสารความเจ็บปวดออกมา ทำให้มีอาการตามระบบร่วมด้วย เช่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ท้องเสียถ่ายเหลว เป็นต้นค่ะ
**ดังนั้น จะเห็นได้ว่า อาการปวดหลังปวดเอว สามารถเป็นอาการแสดงก่อน หรือหลังการปวดแบบปวดประจำเดือนได้ค่ะ ถ้าอาการหายไปหลังหมดประจำเดือน ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าปวดเรื้อรัง ปวดมาก ให้ไปพบแพทย์นะคะ
แบบที่สอง คือ การปวดประจำเดือนทีมีสาเหตุมาจากความผิดปกติขอวระบบสืบพันธ์สตรีอื่นๆ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอก ในมดลูก หรือการติดเชื้อ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจประสบปัญหา เช่น ปวดมากจนรบกวนการเรียน / การทำงาน ปวดจนพักไม่ได้ ปวดนานไม่หาย มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก หรือมีตกขาวผิดปกติได้ค่ะ
คำแนะนำเบื้องต้น เมื่อมีประจำเดือนและมีอาการปวดประจำเดือนคือ
1.ทานน้ำมากๆ
2.ยาแก้ปวดที่ช่วยได้ เช่น mefenamic acid หรือ ponstan , diclofenac , ibuprofen , พาราเซตามอล เป็นต้น
3.การประคบอุ่น
4.พักผ่อนมากๆ
5.พยายามไม่มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดิอน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อต่างๆได้ง่ายค่ะ
หากมีอาการผิดปกติ ที่หมอกล่าวไป ที่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติที่จะทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนแบบที่สอง ได้แก่ ปวดมากจนรบกวนการเรียน / การทำงาน ปวดจนพักไม่ได้ ปวดนานไม่หาย มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก หรือมีตกขาวผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายใน หรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดหลัง ปวดเอว ก่อนเปนประจำเดือน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)