August 25, 2019 17:08
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
จากสาเหตุ ทั้งความเครียด ความกังวล นั้นเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ครับ
อย่างไรก้ตาม ควรตรวจการตั้งครรภ์ภายหลังมีความเสี่ยงประมาร14วัน ถึงจะสามารถยืนยันผลได้ครับ หากมีความเสี่ยงมาก่อนหน้านั้น เช่น ไม่ป้องกันด้วยถุงยาง เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาจลองทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย2-3วัน หรือ1สัปดาห์ครับ (อาจเปลี่ยนยี่ห้อการตรวจครับ)
นอกจากนี้การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ฮอร์โมนในเลือดผิดปกติ
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
เป็นต้นครับ
แนะนำจดบันทึกรอบประจำเดือนให้ชัดเจน และไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
หากมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่ แม่ไม่หลั่ง มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ครับ
แต่กรณีนี้ หากตรวจการตั้งครรภ์แล้วขึ้น 1 ขีด ค่อนข้างเชือถือได้ว่าไม่ตังครรถ์ครับ
โดยปกติ รอบเดือนของเรา จะคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 21-35 วัน (บวกลบเจ็ดวันจากรอบก่อนๆ ) อยู่แล้วครับ ถ้ายังอยู่ในช่วงนี้ ก็ยังถือว่าปกติครับ แต่ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ก็อาจทำให้คลาดเคลื่อนไปได้อีกครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่วซึม หรือ การหลั่งนอก ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ก่อนอื่นต้องเช็คเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนค่ะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์
โดยทั่วไป จะถือว่าเป็น ภาวะไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ต่อเนื่องกัน 3 เดือนค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ถ้าประจำเดือนขาดไปเพียงเดือนเดียว อาจเกิดจาก ความแปรปรวนของฮอร์โมน ไข่ไม่ตกในเดือนนั้น อาจสังเกตต่อไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าเดือนถัดๆไป ประจำเดือนยังไม่มาอีก ควรไปพบแพทย์
ถ้าสาเหตุของการไม่มีประจำเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1. มดลูก ปากมดลูก ผิดปกติ
2. รังไข่ผิดปกติ หรือ ไข่ไม่ตก
3. สาเหตุทางสมอง ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมอง มาควบคุมรังไข่ ผิดปกติไป เช่น การที่น้ำหนักลดลงมาก ออกกำลัยการหนักๆ หรือมีความเครียด ก็ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติได้ค่ะ ทำให้เมนส์ไม่มา
อย่างไรก็ตาม การจะทราบแน่ชัด ว่าเมนส์ไม่มาจากสาเหตุใดนั้น ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ เพราะต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ อาจต้องเจาะเลือดเพื่อดูฮอร์โมนเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์ที่มีการสอดใส่โดยไม่ได้ป้องกันนั้นอาจมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ทำให้มีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 4-27% ครับ ในขณะที่ถ้าหากใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องก็จะมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 2% เท่านั้น ในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จึงควรมีการป้องกันทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยครับ
.
สำหรับในกรณีนี้ที่ได้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันไปแล้วแต่ก็ได้ลองตรวจการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายมานานประมาณ 1 เดือนแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ ก็ทำให้โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็มีน้อยและประจำเดือนก็มีแนวโน้มที่จะมาช้าไปจากสาเหตุอื่นๆมากกว่า เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ถ้าไม่ได้มีอะไรกันในช่วงตกไข่ด้วย %ในการตั้งครรภ์ก็น้อยลงอีกใช่ไหมคะ
สวัสดีค่ะ ตอนนี้มีอาการเจ็บจี๊ดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ด้านซ้ายบ้างบางครั้ง เจ็บจี๊ดขึ้นมาเป็นเวลาไม่นานแล้วหายไป สักพักก็จี๊ดขึ้นมาอีก บางครั้งจี๊ดครงขาหนีบด้านขวาแล้วร้าวมาที่ขาค่ะ หากยืนนานหรือนั่งยองๆ ก็จะมีอาการหน่วงที่ช่องคลอดค่ะ เป็นมาประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว ไม่ทราบว่าอาการแบบนี้ต้องหาหมอด้านไหนดีคะ
พอดีว่าประจำเดือนมาปกติตั้งแต่มีอะไรกับแฟนครั้งแรกตลอด3เดือน มีการกินยาคุมฉุกเฉินรวมๆแล้ว3ครั้ง ประจำเดือนอาจจะมาก่อนมาหลังบวกลบไม่เกิน1วัน โดยใช้บันทึกตามแอปflo แต่มาเดือนสิงหาประจำเดือนขาด2วันแล้วโดยมีอะไรกันครั้งสุดท้ายคือ28 ก.ค โดยป้องกันใส่ถุงยาง แต่ก่อนใส่ถุง มีการสอดใส่แบบไม่ใส่ถุงไปไม่ถึงนาทีค่ะ เมื่อวานได้ทำการตรวจครรภ์ ขึ้น1ขีด แต่ระหว่างนี้มีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน มีอาการท้องผูก ตลอดเดือนสิงหามีความเครียดเรื่องต่างๆอยู่บ้าง ไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของประจำเดือนไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)