June 10, 2019 06:48
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ความเครียดระดับที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยานั้นจะเป็นความเครียดในระดับที่มากจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน หรือการทำงานครับ
ความเครียดในระดับนี้มักจะเป็นอย่างต่อเนื่องยาวนานมากกว่าปกติ เป็นติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา มักส่งผลกระทบต่อการกินการนอนหลับ และถ้ามีความรุนแรงมากก็อาจทำให้มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายตามมาได้ครับ
ถ้าหากมีปัญหาความเครียดที่ไม่สามารถควบคุมได้ หมอก็แนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการก่อนครับ ส่วนผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษานั้นจะมีความแตกต่างไปตามชนิดของยาที่เลือกใช้จึงอาจจะยังให้ข้อมูลที่ชัดเจนในตอนนี้ไม่ได้ครับ แต่โดยปกติแพทย์ก็จะเลือกใช้ยาโดยมีการระวังให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุดอยู่แล้วครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โดยปกติคนทั่วไปจะปรับตัวกับความเครียดได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ -1 เดือน ค่ะ หาระยะเวลาเกิน 1-2 เดือน และยังคงมีอาการเครียดในระดับสูง แบบนี้อาจต้องพบแพทยื ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งอาจใช้ยาเพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ร่วมกับการทำจิตบำบัด เป็นต้น
เครียดระดับไหนที่ควรพบแพทย์ เราสามารถประเมินอาการเบื้องต้นด้วยการทำแบบเมินความเครียดด้วยตนเอง
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน ในระยะเวลาเกินกว่า 1 เดือน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรพบแพทย์ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูสงสัยว่าความเครียดระดับไหนถึงจะถูกรักษาด้วยยาหรอคะ แล้วตัวยาจะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)