May 06, 2019 00:20
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาในช่่วงนี้มีความเครียดเข้ามา และเหตุการณ์ที่ทำให้ปวดหัวและทำให้รู้สึกเศร้า จนทำให้มีการโทษตัวเองเข้ามานะครับ อาการเหล่านี้คิดว่าความเครียดก็เป็นปัจจัยหนึ่งครับที่ทำให้คุณมีอาการและความคิดเหล่านี้เข้ามา ซึ่งตรงนี้หากว่าอาการเหล่านี้ค่อนข้างเข้ามามีผลกระทบกับชีวิตจนทำให้ไม่สามารถทำงานหรือเรียนได้อย่างเดิม และมีอาการติดต่อกันมากกว่า 2 อาทิตย์ ก็อยากจะแนะนำให้ลองเข้าพบกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์เพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปนะครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้อารมณ์เศร้าลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลานะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การมีอารมณ์เศร้าโดยที่ไม่มีสาเหตุ หรือมีเหตุผลที่ไม่สมควรจะเศร้า อาจบ่งถึงความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า หรือ ไบโพลาร์(ระยะซึมเศร้า) ก็เป็นไปได้ค่ะ
สาเหตุของความผิดปกติทางด้านอารมณ์ หลักๆเลย คือ จากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ และในบางรายอาจมีปัญหาที่ร้ายแรงในชีวิตมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น
อาการของซึมเศร้า
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
4.นอนไม่หลับ / หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้มากเกินปกติ
6.เหม่อลอย ไม่มีสมาธิ
7.กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
8.รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ และมีอาการต่อเนื่องทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์ ก็ถือว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ
การรักษาซึมเศร้า ควรรับการรักษาจากจิตแพทย์ ซึ่งการรักษาที่ได้ผลดี คือ การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ร่วมกับการทำจิตบำบัด ซึ่งจะช่วยให้ปรับตัวกับปัญหาต่างๆได้เหมาะสมมากขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกตินะคะ
ดังนั้นในกรณีนี้ หากหนูสำรวจอาการแล้วเข้าข่ายซึมเศร้า ควรไปพบจิตแพทย์ ตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดอีกครั้งแล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ ซึมเศร้า รู้เร็ว รักษาไว มีโอกาสหายได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ช่วงนี้ ร้องไห้แล้วปวดหัวบ่อยมากเลยค่ะ แล้วจะรู้สึกเศร้าหรือโทษตัวเอง ร้องไห้ด้วยเรื่องเล็กๆก็มีค่ะ แบบอยู่ดีๆน้ำตาก็ไหล ;---; คือมันเกิดจากเราเครีบดฟรือคิดเรื่องอื่นไหมคะ ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)