October 18, 2019 23:59
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าปวดบริเวณหน้าอกหรือซี่โครง สัมพันธ์กับการหายใจ หายใจเข้าเเล้วเจ็บ กดเจ็บ ขยับเเล้วเจ็บ เคยมีประวัติโดนกระเเทก ออกกำลังกายหนัก หรือผิดท่า
จะคิดถึงโรคเช่น กระดูกอ่อนอักเสบ (Costochondritis) กล้ามเนื้ออักเสบ ครับไม่ได้อันตรายถึงชีวิต
ถ้าสงสัยเป็นเเค่พวกปวดกล้ามเนื้อหรือกระดูกซี่โครงอักเสบให้ลองซื้อยาเเก้อักเสบกลุ่มNSAIDมากินก่อนครับ เช่น Ibuprofen , Celecoxib(Cerebrex) ,Etoricoxib(Arcoxia)
ร่วมกับพยายามงดกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ(ระวังเรื่องเเพ้ยา เเละไม่ควรกินติดต่อกันนานๆครับ เพราะส่งผลต่อไตหรืออาจมีแผลในกระเพาะอาหารได้)
....
หรือ อาจเป็นภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด(Pneumothorax)ได้ครับ กรณีที่เป็นน้อยๆจะปวดได้ สัมพันธ์กับการหายใจ เเต่ถ้าเป็นมากจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ร่วมด้วยพวกนี้ควรพบเเพทย์ครับ
....
ถ้าจุกเเน่นกลางอก มีเรอเปรี้ยวเเสบหน้าอก คลื่นไส้ สัมพันธ์กับการกินอาหาร กินเเล้วนอนทันทีจะเป็นมาก มีประวัติ กินชากาเเฟ สูบบุหรี่บ่อยๆ น่าจะเป็นกรดไหลย้อนครับ
.....
ส่วนถ้าพวกโรคหัวใจขาดเลือดมักจะปวดเหมือนอะไรมาทับกลางอก หรือปวดใน้ลิ้นปี่ได้ มีร้าวไปเเขน คอ หรือ กราม มีเหงื่อเเตกได้ บางคนออกเเรง/ออกกำลัง พอหัวใจเริ่มทำงานหนักขึ้นจะปวด เพราะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ บางคนถ้าเส้นเลือดตีบมาก อยู่เฉยๆก็ปวดครับ ส่วนใหญ่เกิดในคนอายุเยอะๆหน่อยครับประมาณ 40 ปีขึ้นไป มักมีโรคร่วมเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงครับ กรณีนี้ควรพบเเพทย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจครับ(EKG12leads)
.....
เเนะนำว่าถ้าปวดมากขึ้น พักหรือกินยาเเล้วไม่หาย มีเหนื่อยหายใจหอบ มีเเน่นหน้าอกให้รีบไปพบเเพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อยู่ดีก้เจบตรงบริเวณซี่โครงข้างขวา ยังไม่ไปชนอะไรหรือโดนอะไรเลยนะคะ อยู่ดีๆก้เจ็บขึ้นมา เจบมากๆ หายใจก้เจบ ขยับก้เจบมากๆค่ะ แบบนี้เกิดจากอะไร ต้องทำยังไงถึงหายคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)