July 24, 2018 21:49
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการปวดประจำเดือน มีสาเหตุการเกิดสองแบบ ได้แก่
แบบแรก คือ เกิดจากการหดตัวของมดลูก เพื่อขับเลือดประจำเดือน สามารถเกิดได้เป็นปกติค่ะ โดยอาการอาจจะเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และในช่วงการมีประจำเดิอน โดยเฉพาะ 12-72 ชมแรกค่ะ อาการปวด จะปวดแบบบีบๆ เหนือหัวหน่าว บางคนอาจร้าวไปหลังได้ด้วย และร่างกาย อาจหลั่งสารความเจ็บปวดออกมา ทำให้มีอาการตามระบบร่วมด้วย เช่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ท้องเสียถ่ายเหลว เป็นต้นค่ะ
แบบที่สอง คือ การปวดประจำเดือนทีมีสาเหตุมาจากความผิดปกติขอวระบบสืบพันธ์สตรีอื่นๆ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอก ในมดลูก หรือการติดเชื้อ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจประสบปัญหา เช่น ปวดมากจนรบกวนการเรียน / การทำงาน ปวดจนพักไม่ได้ ปวดนานไม่หาย มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก หรือมีตกขาวผิดปกติได้ค่ะ
คำแนะนำเบื้องต้น เมื่อมีประจำเดือนและมีอาการปวดประจำเดือนคือ
1.ทานน้ำมากๆ
2.ยาแก้ปวดที่ช่วยได้ เช่น mefenamic acid หรือ ponstan , diclofenac , ibuprofen , พาราเซตามอล เป็นต้น
3.การประคบอุ่น
4.พักผ่อนมากๆ
5.พยายามไม่มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดิอน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อต่างๆได้ง่ายค่ะ
หากมีอาการผิดปกติ ที่หมอกล่าวไป ที่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติที่จะทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนแบบที่สอง ได้แก่ ปวดมากจนรบกวนการเรียน / การทำงาน ปวดจนพักไม่ได้ ปวดนานไม่หาย มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก หรือมีตกขาวผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายใน หรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
อาการปวดท้องน้อยช่วงประจำเดือนเกิดจากมดลูกหดรัดตัว เกิดได้เป็นปกติ แต่หากมีอาการปวดมากจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำให้ต้องพักงาน แบบนี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปค่ะ เพราะสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งการรักษาบางครั้งอาจต้องถึงขั้นผ่าตัดเลยทีเดียว
สาเหตุของการปวดประจำเดือนจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) เป็นการปวดประจำเดือนที่แพทย์ตรวจไม่พบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อยที่ชัดเจน เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการมีประจำเดือน และมาจากการมีสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกมากผิดปกติ และสารชนิดนี้จะดูดซึมผ่านกระแสเลือดและมาออกฤทธิ์ที่มดลูก จึงทำให้มดลูกมีการบีบเกร็งตัวและเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย การปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมินี้มักพบได้ในเด็กสาวหรือผู้หญิงวัยรุ่นค่ะ
2. ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) เป็นการปวดประจำเดือนที่แพทย์ตรวจพบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานร่วมด้วย เช่น การมีเนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ หรือ เยื่อบุโพรงมดลูกต่างที่(Endometriosis) การมีพังผืดในช่องท้อง (Pelvic adhesion) การใส่ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device birth control) สาเหตุอื่น ๆ เช่น มดลูกย้อยไปด้านหลังมาก, ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดท้องประมาณ2-3วันก่อนมีประจำเดือนค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)