August 25, 2019 21:46
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
หากมีปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพจิตต่างๆ คิดว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้ การพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ตามสิทธิการรักษาครับ
สามารถเช็คสิทธิการรักษาได้จากเว็บไซต์ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
ในกรณีผู้ถามนั้นอาการเป็นมานานแล้ว ควรอยู่ในความดูแลรักษาของจิตแพทย์อย่างต่อเนื่องครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ในกรณีที่มีการสูญเสียตั้งแต่เด็ก ไม่สามารถยอมรับและปรับตัวกับปัญหานั้นได้ ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์
จากอาการอาจเข้าข่ายได้หลายโรค ตั้งแต่ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพและการปรับตัว โรคเครียดวิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น
ในกรณีนี้เนื่องจากมีปัญหาสะสมมานานหลายปี อาจต้องพึงระวังเรื่องซึมเศร้าด้วยนะคะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การรับรู้ ความคิด การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม หากเจอปัญหาหรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 7 ข้อ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิดง่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ทันที ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมความคิดอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม ร่วมกับการทำจิตบำบัด จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจทำให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอนนี้ปัญหาที่เกิดบ่อยคือโมโหง่ายแค่โดนขัดใจเพียงนิดเดียวซึ่งไม่น่าโมโห แต่กลับรู้สึกโมโหมาก อยู่บ้านกับที่ทำงานอารมณ์ต่างกันมากค่ะ บางทีก็อยากพูด บางวันไม่อยากคุยกับใครไม่อยากให้มาถามไม่ต้องมาพูดด้วยหรือเวลาที่พี่สาวพูดเรื่องลูกสาวเขาเราจะรู้สึกว่าเขารักเราน้อยกว่ามันจะน้อยใจแล้วรู้สึกว่าถ้าวันหนึ่งไม่มีเราเขาก็น่าจะไม่ได้เสียใจอะไร
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาจะเห็นว่ามีความรู้สึกและความคิดหลายอย่างที่ทับซ้อนกัน และบางเรื่องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่ส่งผลกับตัวคุณ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นแล้วรู้สึกดีก็คือการที่คุณรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนแปลงตนเองในเรื่องที่เป็นอยู่ ซึ่งผมอยากชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ครับ
ส่วนในเรื่องของวิธีการ ผมคิดว่าทางเลือกที่ดีสำหรับคุณอาจจะเป็นการเข้าพบกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ที่ให้บริการในเรื่องของการให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม บางครั้งปัญหาที่คุณเจอ หากได้รับการพูดคุยออกมา จากเดิมที่ปัญหามันใหญ่ ก็อาจจะทำให้มันเล็กลงได้ครับ ดังนั้นผมคิดว่าการได้พูดคุยออกมาเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคุณ
นอกจากการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา การดูแลตนเองในเรื่องของการบริหารจัดการความเครียดในชีวิตประจำวันของคุณก็สำคัญเช่นกันนะครับ และเป็นสิ่งที่คุณควรที่จะทำควบคู่ไปกับการรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญ โดยคุณสามารถพูดคุยกับเพื่อนที่ไว้ใจ ครอบครัวในเรื่องนี้ หรือลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ความรู้สึกต่างๆเบาบางลงได้บ้าง คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ หากมีคำถามอื่นๆที่สงสัยสามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำไมเวลาโดนขัดใจ หรือโมโหจะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้จะโมโหจนสั่นบางทีจนมือเท้าเย็นชาทั้งตัวมือสั่น จะรุ้ว่าต่อให้ทุกวันนี้จะมีความสุขเท่าไหร่ก็จะรู้สึกว่ามันขาดตลอดไม่ชอบเวลาต้องโดนแย่งความรักจะรุ้สึกโมโห มาก มันกระทบกับชีวิตนิดหน่อย อยากจัดการอารมณ์แบบนี้ เราสูญเสียเเต่เด็ก พ่อแม่เสียหมดเราเหมือนถูกใช้เงินเลี้ยง ได้เงินแทนความรัก บางครั้งคิจะตายเพราะว่าถ้าไม่มีเราทุกคนก็ยังปกติดี ชอบอยู่คนเดียวไม่ชอบอยู่ร่วมกับใครไม่ชอบออกไปไหน เคยเป็นอารการหายใจเกินบ่อยๆช่วงอายุประมาณตั้งแต่เสียแม่ไปตอน8ขวบเป็นมาเรื่อยๆพักหลังเริ่มคุมได้ เรยไม่ค่อยจะมีการการชักเกร็งเหมือนแต่ก่อน ต้องทำยังไงค่ะถึงจะเปลี่ยนตัวเองเปลี่ยนความคิดได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)