กลุ่มอาการครูป (Croup) เป็นอาการอักเสบของเยื่อหุ้มบุผิวบริเวณทางเดินหายใจตอนต้นจนถึงส่วนกลาง โดยเกิดขึ้นตั้งแต่กล่องถึงลงไปถึงหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยมีเสียงอาการไอเสียงก้อง เสียงหอบ หายใจลำบาก พบมากในผู้ป่วยเด็กอายุ 3 เดือนถึง 4 ปี
อาการครูปเป็นอาการที่รุนแรงได้ถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่รีบรักษาทันท่วงที คุณควรลองทำความเข้าใจที่มาที่ไปของอาการนี้ รวมถึงวิธีรักษา และดูแลผู้ป่วย
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุของกลุ่มอาการครูป
กลุ่มอาการครูปมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่อไปนี้
- เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการครูป คือ ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) และไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus: RSV)
- เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อโรคคอตีบ เชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนเซ (Haemophilus Influenzae) ซึ่งทำให้เกิดโรคฝากล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน
- มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในลำคอจนไปอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น กระดุม ลูกปัด ลูกอม เศษอาหาร ของเล่นเด็ก
- อาการภูมิแพ้ ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ที่ไปอุดกั้นทางเดินหายใจจนเกิดอาการครูป ได้แก่ อาหารทะเล ยา ฝุ่นละออง สิ่งสกปรกในอากาศ สารเคมี เกสรดอกไม้
อาการแสดงของอาการครูป
อาการครูปเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และกล่องเสียงจนเกิดการอักเสบ รวมถึงอาการบวม ทำให้มีสารคัดหลั่ง กล้ามเนื้อในลำคอหดเกร็ง จนมีอาการต่อไปนี้แสดงออกมาเป็นลำดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดก่อน คือ มีไข้ เจ็บคอ ไอ น้ำมูกไหลประมาณ 1-3 วัน
หลังจากนั้น การอักเสบจะลุกลามไปที่กล่องเสียง บริเวณสายเสี่ยงกับฝาปิดกล่องเสียง ทำให้ผู้ป่วยเสียงแหบ ไอมีเสียงก้อง เมื่อหายใจจะได้ยินเสียงครูปดังขึ้น หรือหากจินตนาการเสียงไม่ออก ให้ลองนึกถึงเสียงเห่าของสุนัข
ในผู้ป่วยบางรายอาจหายใจลำบากร่วมกับอาการด้านบน โดยเฉพาะในเวลากลางคืน และหากอาการรุนแรงมากๆ ก็จะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจด้วย รวมถึงหายใจถี่เร็ว ปีกจมูกบานออกเพื่อรับออกซิเจนมากขึ้น หน้าอกยุบบุ๋มลงเมื่อหายใจ อาจมีอาการตัวเขียว และหยุดหายใจได้ด้วย
ผู้ป่วยที่มีอาการครูปอาจอาการแย่ลงอีกหากรู้สึกกังวล หรือตื่นเต้น นอกจากนี้อาการอื่นๆ ของครูปยังรวมถึงอาการเสียงแหบ เจ็บคอเมื่อไอ เบื่ออาหาร และไข้ ซึ่งมักเป็นไข้ต่ำๆ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การวินิจฉัยอาการครูป
โดยปกติแพทย์จะวินิจฉัยอาการครูปโดยการสอบถาม และสังเกตอาการของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยรายที่มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น ก็อาจต้องตรวจผ่านการถ่ายภาพรังสี (Radiographic Testing: RT) บริเวณคอ
ซึ่งการตรวจผ่านการถ่ายภาพรังสีนั้นบริเวณคอจะตรวจพบลักษณะตีบแคบของหลอดลมส่วนต้น (Steeple sign)
นอกจากนี้ การประเมินอาการครูปว่ามีความรุนแรงในระดับใดก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราจะเป็นการตัดสินว่า เด็กหายใจลำบากหรือไม่ โดยสามารถจำแนกความรุนแรงของอาการได้ดังนี้
- ความรุนแรงน้อย (Mild croup) มีอาการไอเสียงก้องเป็นบางครั้ง หายใจหน้าอกไม่ได้ยุบลง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ยังทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
- ความรุนแรงปานกลาง (Moderate croup) ผู้ป่วยไอมีเสียงก้องเกือบตลอดเวลา และมีเสียงครูปดังขึ้นด้วยขณะพักหายใจ รวมถึงหน้าอกยุบบุ๋ม แต่ยังทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อยู่
- ความรุนแรงมาก (Severe croup) ผู้ป่วยไอมีเสียงก้อง มีเสียงครูป หน้าอกยุบบุ๋มลงขณะพักหายใจ มีอาการกระสับกระส่าย ไม่ค่อยรู้สึกตัว และไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง อ่อนเพลีย
แต่โชคดีที่เด็กส่วนมากจะมีอาการครูปในระยะรุนแรงน้อย และไม่มีอาการหายใจลำบาก หรืออาจหายใจเข้ามีเสียงดังในขณะร้องไห้ หรือตื่นเต้นตกใจเท่านั้น
การรักษาอาการครูป
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับอาการครูป แต่มีการรักษาหลายอย่างที่ช่วยบรรเทาอาการและทำให้ลูกของคุณอาการดีขึ้น โดยแบ่งไปตามระยะความรุนแรงของอาการ
1. ผู้ป่วยที่อาการครูปรุนแรงน้อย
สามารถรักษาได้เองที่บ้าน โดยวิธีรักษาที่ใช้กันทั่วไปมีทั้งการทำอากาศให้ชื้น ซึ่งทำได้โดยให้เครื่องสร้างไอเย็นเพิ่มความชื้นในอากาศ แต่ไม่สนับสนุนให้ใช้ชนิดไอร้อน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ลูกของคุณจะเกิดแผลไหม้หากไปจับมัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากนี้ คุณอาจใช้วิธีผลิตไอน้ำอุ่นโดยการเปิดน้ำร้อนทั้งหมดในห้องน้ำแทน ทั้งจากฝักบัว และอ่างล้างมือ จากนั้นปิดประตูห้องน้ำ แล้วให้ลูกของคุณหายใจเอาอากาศอุ่นชื้นในห้องเข้าไป
2. ผู้ป่วยที่อาการครูปรุนแรงปานกลาง
แพทย์มักให้รักษาโดยการพ่นยาอะดรีนาลีน (Adrenaline) 1;1,000 ขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รวมถึงให้ยาเดกซาเมทาโซน (dexamethasone) ซึ่งเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ในขนาด 0.15, 0.3, 0.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพื่อลดอาการอักเสบ และช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น
หรือแพทย์อาจให้ผู้ป่วยพ่นยาบูเดโซไนด์ (Budesonide) ขนาด 2 มิลลิกรัมแล้วเฝ้าดูอาการต่อประมาณ 4 ชั่วโมง
หากผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์จะยังให้สังเกตอาการต่อในห้องตรวจ แล้วอาจให้พ่นยาอะดรีนาลีนซ้ำอีก หรืออาจให้ผู้ป่วยกลับบ้านไปรักษาต่อเองได้ ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์
3. ผู้ป่วยที่อาการครูปรุนแรง
ผู้ป่วยต้องได้รับออกซิเจนขนาด 10 ลิตรต่อนาที พ่นยาอะดรีนาลีน 1;1,000 ขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รวมถึงให้ยาเดกซาเมทาโซนครั้งละ 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุกๆ 2-4 ชั่วโมง แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่ท่อช่วยหายใจ
ดูแลผู้ป่วยอาการครูป
ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยอาการครูป สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ต่อไปนี้
- คอยประเมินระดับความรู้สึกตัวผู้ป่วย รวมถึงลักษณะการหายใจของผู้ป่วย สัญญาณชีพจร ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในร่างกายทุก 2-4 ชั่วโมง
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพียงพออยู่เสมอ
- ให้ยาดลดไข้ผู้ป่วยหากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
- หมั่นประเมินภาวะขาดน้ำ เช่น สังเกตผิวผู้ป่วยว่าแห้งหรือไม่ รวมถึงความยืดหยุ่นของผิวหนัง แล้วให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำต่อร่างกายอย่างเพียงพอ
- ดูแลให้ผู้ป่วยพ่นยา ให้ยาปฏิชีวนะหากติดเชื้อแบคทีเรีย ตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงทำให้ผู้ป่วยร้องไห้เพราะจะทำให้หายใจลำบากขึ้น
- ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาการที่มักกระตุ้นทำให้เกิดอาการไอ เช่น อาการมัน อาหารทอด
- สังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการหอบหืด อาการไอเรื้อรัง หายลำบาก น้ำมูก หรือเสมหะเปลี่ยนสี ภาวะการหายใจล้มเหลว หากมีอาการรุนแรง หรือผิดปกติไปให้รีบติดต่อแพทย์ทันที
ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการครูป
นอกจากเคล็ดลับที่ทำให้รู้ว่านี่คือโรคครูปและเคล็ดลับในการรักษาแล้ว สิ่งอื่นๆ ที่ต้องรู้เกี่ยวกับครูปอีก มีดังนี้
- ลูกของคุณอาจเป็นครูปได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เนื่องจากมีไวรัสหลายตัวที่ทำให้เกิดอาการครูปได้ เช่น อะดีโนไวรัส (adenovirus) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza)
- หากลูกของคุณเป็นครูปบ่อยมาก เด็กอาจเป็นอาการครูปแบบสปาสโมดิก (spasmodic croup) เป็นอาการครูปซึ่งถูกกระตุ้นได้ด้วยไวรัส อาการแพ้ หรือกรดไหลย้อน แม้ว่าเด็กจะมีปัญหาด้านการหายใจ แต่มักจะไม่มีไข้ และอาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
- เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครูปหลายครั้งในแต่ละปี อาจจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงเรื่องโรคหอบหืดด้วย
- แม้เด็กจะมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนด้วย เช่น มีการติดเชื้อของหู แต่ยาปฏิชีวนะก็ไม่ได้มีผลต่อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของครูปแต่อย่างใด
- อาการหลักๆ ของครูปมักจะมีอาการอยู่แค่ 2-5 วัน แต่ในกรณีที่หาได้ยากกว่านั้น คือ มีอาการคงอยู่หลายสัปดาห์ เมื่ออาการไอเสียงก้อง และหายใจลำบากดีขึ้น ลูกของคุณอาจมีอาการไข้หวัดต่อไปได้อีก 7-10 วัน
ยังไม่มีวัคซีน หรือยาใดที่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกมีอาการครูปได้ (ยกเว้นวัคซีนไข้หวัดใหญ่) แต่คุณสามารถลดโอกาสที่ลูกของคุณมีอาการครูปได้โดยลดการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
นอกจากนี้ คุณต้องหมั่นกำชับให้เด็กล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการแบ่งอาหาร และเครื่องดื่มร่วมกับผู้อื่น หมั่นดูแลสุขอนามัยร่างกายของตนเองให้สะอาดอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยลดโอกาสที่ลูกของคุณติดเชื้อโรคจากผู้อื่นได้
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทุกวัย ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android