กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ทำความเข้าใจโรคหอบหืดในเด็ก การรักษา และยา

ลูกของคุณเป็นหอบหืดหรือเปล่า?
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ทำความเข้าใจโรคหอบหืดในเด็ก การรักษา และยา

ลูกของคุณเป็นหอบหืดหรือเปล่า? คำถามนี้ดูเหมือนจะง่าย แต่หากลูกของคุณไม่ได้มีอาการของหอบหืดที่เด่นชัด เช่น อาการไอหายใจมีเสียงวี้ดและหายใจเหนื่อย คุณอาจไม่รู้ว่าเขามีภาวะหอบหืด เด็กหลายคนมีอาการที่ไม่ชัดเจน รวมถึงอาการไอตอนกลางคืน อาการไอที่แย่ลงเมื่อออกกำลังกายหรือใช้แรง หรือการไอเรื้อรังไม่หาย

การวินิจฉัยภาวะหอบหืดในเด็กเหล่านี้จะทำได้ยาก โดยเฉพาะเด็กทารกและเด็กเล็ก พ่อแม่มักจะถามว่า มีการทดสอบว่าลูกเป็นหอบหืดหรือเปล่า ในเด็กที่โตพอสมควร การตรวจการทำงานปอด (pulmonary function test) หรือการตรวจ peak flow สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่การตรวจเหล่านี้ทำได้ยากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4-5 ปี ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้กุมารแพทย์วินิจฉัยอาการหอบหืดได้ยาก รวมถึงการที่เด็กเล็กหลายคน โดยเฉพาะเด็กทารกและเด็กเล็ก จะมีอาการหายใจมีเสียงวี้ดได้เมื่อติดเชื้อไวรัส หลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ RSV นั้นเป็นสาเหตุหลักของอาการหายใจดังกล่าวในเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากนี่เป็นการหายใจมีเสียงวี้ดครั้งแรกของลูก ร่วมกับอาการไอ มีน้ำมูก และไข้ ลูกของคุณก็น่าจะเป็นหลอดลมอักเสบมากกว่าหอบหืด โดยเฉพาะในช่วงที่ RSV ระบาด (ช่วงท้ายของฤดูใบไม้ร่วง ช่วงฤดูหนาว หรือช่วงเริ่มแรกของฤดูใบไม้ผลิ) เด็กบางคนที่มีอาการหายใจมีเสียงวี้ดอย่างมากตอนเป็นทารกมักได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคหลอดลมมีความไวมากเกินปกติ (reactive airway disease หรือ RAD) เนื่องจากสามารถมีอาการหายใจดังกล่าวได้เมื่อติดเชื้อไวรัสและนั่นหมายความว่าพวกเขาจะไม่มีอาการหายใจดังกล่าวหรือมีปัญหาเมื่ออายุมากขึ้น

หากลูกของคุณมีปัญหาหลอดลมมีความไวมากเกินปกติและมีอาการหายใจมีเสียงวี้ดและอาการไอบ่อยครั้ง ลูกของคุณก็น่าจะมีภาวะหอบหืด การวินิจฉัยโรคหอบหืดก็น่าจะทำได้หากลูกของคุณมีอาการปอดอักเสบ หลอดลม หรือหลอดลมฝอยอักเสบบ่อยครั้ง หรือถ้ามีอาการดังกล่าวทุกครั้งที่เป็นหวัด หรือหากมีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการแย่ลงในช่วงกลางคืน

การรักษาภาวะหอบหืด

การรักษาะสำหรับภาวะหอบหืดกำเริบมักรวมถึงการใช้ยาในกลุ่มยาขยายหลอดลม เช่น albuterol, Proventil, Ventolin หรือ Xopenex ซึ่งอาจให้ยาด้วยอุปกรณ์ nebulizer หรือ metered dose inhaler หรือให้ในรูปยาน้ำเชื่อมสำหรับในรายที่มีอาการกำเริบปานกลางหรือรุนแรง การให้สเตียรอยด์ในรูปกิน เช่น prednisolone (Prelone) หรือ Orapred ก็มักจำเป็น ยาขยายหลอดลมมักถูกเรียกว่าเป็นยาบรรเทาอาการหรือเป็นยาที่บรรเทาอาการได้รวดเร็ว เนื่องจากใช้ลดอาการหอบหืดได้ โดยยากลุ่มนี้จะใช้เมื่อมีความจำเป็นและไม่จำเป็นต้องใช้เป็นประจำหากควบคุมอาการหอบหืดได้

แม้ว่า albuterol จะมีในรูปยาน้ำเชื่อม แต่ในการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็วก็มักเป็นการให้ผ่านทาง nebulizer หรือ metered dose inhaler ในเด็กเล็กอาจใช้ inhaler (เครื่องสูดพ่นยา)ได้ หากมีอุปกรณ์ spacer และหน้ากากพ่นยาสำหรับเด็กเล็ก

ยาที่ใช้ป้องกันอาการ

ยาอีกกลุ่มที่ใช้รักษาอาการหอบหืด คือ ยาที่ใช้ป้องกันอาการ ซึ่งใช้ป้องกันการมีอาการกำเริบ ซึ่งยาในกลุ่มนี้รวมถึงยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว ได้แก่ Serevent และ Foradil และสเตียรอยด์ เช่น Flovent, Qvar, Pulmicort, Asmanex และ Azmacort

Pulmicort respules เป็นรูปหนึ่งของสเตียรอยด์ที่ให้ทาง nebulizer และเป็นประโยชน์ในเด็กเล็กที่ยังใช้ inhaler ไม่ได้ หรือในเด็กที่ทนการใช้หน้ากากพ่นยาและ spacer ไม่ได้ Advair เป็นยาผสมสูตรใหม่ ที่รวม Flovent และ Serevent เข้าด้วยกัน ซึ่งใช้ได้ง่ายด้วย dry powder inhaler

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Leukotriene antagonist เป็นยาอีกกลุ่มที่ใช้สำหรับการป้องกันอาการ และ Singulair ซึ่งมาในรูปยาเม็ดสำหรับเคี้ยว ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี โดยให้วันละครั้ง และ Accolate ซึ่งใช้สำหรับเด็กอายุมากกว่า 7 ปี

Intal เป็นยาป้องกันการกำเริบอีกตัวหนึ่ง ซึ่งใช้กับ metered dose inhaler และ nebulizer ได้ แต่จำเป็นต้องใช้ 3-4 ครั้งต่อวันจึงจะมีประสิทธิภาพ

ลูกของคุณเป็นหอบหืดหรือเปล่า? คำถามนี้ดูเหมือนจะง่าย แต่หากลูกของคุณไม่ได้มีอาการของหอบหืดที่เด่นชัด เช่น อาการไอ หายใจมีเสียงวี้ดและหายใจเหนื่อย คุณอาจไม่รู้ว่าเขามีภาวะหอบหืด เด็กหลายคนมีอาการที่ไม่ชัดเจนรวมถึงอาการไอตอนกลางคืน อาการไอที่แย่ลงเมื่อออกกำลังกายหรือใช้แรง หรือการไอเรื้อรังไม่หาย

การวินิจฉัยภาวะหอบหืดในเด็กเหล่านี้จะทำได้ยาก โดยเฉพาะเด็กทารกและเด็กเล็ก พ่อแม่มักจะถามว่ามีการทดสอบว่า ลูกเป็นหอบหืดหรือเปล่า ในเด็กที่โตพอสมควร การตรวจการทำงานปอด (pulmonary function test) หรือการตรวจ peak flow สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่การตรวจเหล่านี้ทำได้ยากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4-5 ปี

กลุ่มโรคหลอดลมไวเกิน

ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้กุมารแพทย์วินิจฉัยอาการหอบหืดได้ยาก รวมถึงการที่เด็กเล็กหลายคน โดยเฉพาะเด็กทารกและเด็กเล็กจะมีอาการหายใจมีเสียงวี้ดได้เมื่อติดเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ RSV นั้นเป็นสาเหตุหลักของอาการหายใจดังกล่าวในเด็ก หากนี่เป็นการหายใจมีเสียงวี้ดครั้งแรกของลูก ร่วมกับอาการไอ มีน้ำมูก และไข้ ลูกของคุณก็น่าจะเป็นหลอดลมอักเสบมากกว่าหอบหืด โดยเฉพาะในช่วงที่ RSV ระบาด (ช่วงท้ายของฤดูใบไม้ร่วง ช่วงฤดูหนาว หรือช่วงเริ่มแรกของฤดูใบไม้ผลิ)

โรคนี้มักได้รับการวินิจฉัยในเด็กทารก เนื่องจากสามารถมีอาการหายใจดังกล่าวได้เมื่อติดเชื้อไวรัสและนั่นหมายความว่าพวกเขาจะไม่มีอาการหายใจดังกล่าวหรือมีปัญหาเมื่ออายุมากขึ้น หากลูกของคุณมีภาวะหลอดลมไวเกินและมีอาการหายใจมีเสียงวี้ดและไอหลายครั้ง ลูกของคุณก็น่าจะเป็นหอบหืด ถึงแม้ว่ากุมารแพทย์อาจไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวินิจฉัยโรคหอบหืดก็น่าจะทำได้หากลูกของคุณมีอาการปอดอักเสบ หลอดลม หรือหลอดลมฝอยอักเสบบ่อยครั้ง หรือถ้ามีอาการดังกล่าวทุกครั้งที่เป็นหวัด หรือหากมีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการแย่ลงในช่วงกลางคืน

อาการหอบหืดที่มาด้วยอาการไอ

อาการหอบหืดอาจรักษาได้ยากขึ้น หากลูกของคุณมีแต่อาการไอและไม่มีอาการหายใจมีเสียงวี้ด แพทย์หลายคนอาจไม่มั่นใจที่จะรักษาเด็กกลุ่มนี้และอาจคิดว่าลูกของคุณเป็นแค่หวัดหรือหลอดลมอักเสบ หากลูกของคุณมีอาการไอนานหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะหากอาการแย่ลงตอนกลางคืนหรือเมื่อออกแรง คุณควรถามแพทย์ว่านี่เป็นหอบหืดได้หรือเปล่า เช่นเดียวกับอาการหอบหืดกำเริบแบบอื่นๆ หอบหืดชนิดนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างชัดเจนด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมเป็นประจำ เช่น albuterol หรือ Xopenex และสเตียรอยด์รูปแบบกิน การใช้ยาพ่นแค่ไม่กี่ครั้งต่อวันอาจไม่เพียงพอ

หอบหืดที่กำเริบจากการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายก็เป็นตัวกระตุ้นอาการที่พบได้บ่อย ในบางครั้งหอบหืดที่กำเริบจากการออกกำลังกาย (Exercise-induced asthma: EIA) ก็อาจถูกเข้าใจสับสนกับเด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพ ลูกของคุณมีอาการหอบหืดที่แย่ลงเฉพาะเมื่อตอนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหรือเปล่า? แทนที่จะหลีกเลี่ยงการออกแรงหอบหืดที่ถูกกระตุ้นโดยการออกกำลังกายจะดีขึ้นได้หรือป้องกันได้โดยการใช้ยาบรรเทาอาการก่อนการทำกิจกรรม

หอบหืดชนิดอื่นๆ

หอบหืดชนิดอื่นๆ ได้แก่

  • หอบหืดภูมิแพ้ คือ หอบหืดที่กระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้จำเพาะ เช่น ราหรือเกสรดอกไม้
  • หอบหืดช่วงกลางคืน คือ หอบหืดที่แย่ลงช่วงกลางคืน
  • หอบหืดที่ดื้อต่อสเตียรอยด์ คือ หอบหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยสเตียรอยด์

แม้ว่าหลายคนจะคิดว่าหอบหืดก็เป็นได้แค่นั้น แต่การเข้าใจว่ามีหอบหืดหลายชนิดก็ทำให้ลูกของคุณได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การไอแบบครูปคือะไร?
การไอแบบครูปคือะไร?

ครูป: การติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็ก

อ่านเพิ่ม
4 สิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะทำโทษลูกน้อยของคุณ
4 สิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะทำโทษลูกน้อยของคุณ

พฤติกรรมของเด็กเล็กสามารถทำให้เราหมดความอดทนได้ แต่การทำโทษจะเหมาะสมหรือเปล่า

อ่านเพิ่ม