ไอครูป

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ไอครูป

โรคไอครูป (Croup) คือภาวะป่วยสำหรับเด็กที่ส่งผลต่อหลอดลมใหญ่ (trachea) หลอดลมของปอด (bronchi) และกล่องเสียง (larynx)

เด็กที่ป่วยเป็นโรคไอครูปจะมีอาการไอเสียงเห่าที่เป็นเอกลักษณ์ มีเสียงห้าวขณะหายใจเข้า (stridor) อีกทั้งยังทำให้เสียงแหบและหายใจลำบากเนื่องจากการปิดกั้นของทางเดินอากาศ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคครูปสามารถวินิจฉัยได้โดยแพทย์และสามารถรักษาได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตามหากเด็กป่วยด้วยอาการรุนแรงและทำให้หายใจลำบากมากอาจต้องพาพวกเขาไปโรงพยาบาล

ไอครูปเกิดมาจากสาเหตุอะไร?

โดยทั่วไปแล้วโรคครูปจะมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีเชื้อที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้หลายประเภท แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือไวรัส parainfluenza

ไอครูปเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

โรคไอครูปมักจะเกิดกับเด็กเล็กที่มีอายุระหว่างหกเดือนถึงสามปี โดยส่วนมากจะเป็นเด็กที่มีอายุหนึ่งปี

กระนั้นโรคไอครูปสามารถเกิดกับทารกที่อายุน้อยกว่าสามเดือนกับเด็กที่มีอายุมากถึง 15 ปีได้ ผู้ใหญ่เองก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกันแต่นับว่าหายากมาก

ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในฤดูหนาว และมักจะเกิดกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โดยเด็กหนึ่งคนสามารถป่วยเป็นโรคไอครูปได้มากกว่าหนึ่งครั้ง

การรักษาโรคไอครูป

กรณีผู้ป่วยโรคไอครูปส่วนมากจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถฟื้นตัวได้เองที่บ้าน สำหรับเด็กเล็กควรจัดให้พวกเขานั่งตัวตรงและคอยปลอบประโลมพวกเขาเพื่อไม่ให้พวกเขาร้องไห้ เนื่องจากว่าการร้องไห้จะทำให้อาการแย่ลง อีกทั้งควรดูแลให้พวกเขาดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สามารถใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทานที่เรียกว่าเดซาเมทาโซน หรือเพรดนิโซโลน (dexamethasone หรือ prednisolone) เพื่อลดอาการบวมในลำคอได้

หากลูกของคุณมีปัญหาการหายใจ ควรพาพวกเขาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับอะดรีนาลีนและให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไอครูป

โรคไอครูปส่วนมากจะหายไปเองภายใน 48 ชั่วโมง แต่ก็มีบางกรณีที่อาการต่าง ๆ คงอยู่ยาวนานกว่าสองสัปดาห์

การเสียชีวิตจากโรคไอครูปนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ

มีภาวะมากมายที่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคไอครูป เช่นภาวะปอดบวม และการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง

ทางเดินหายใจปิดกั้น

หากภาวะทางเดินอากาศถูกปิดกั้นไม่ได้รับการแก้ไข ภาวะนี้จะนำไปสู่: อาการหายใจลำบากรุนแรง ภาวะระบบหายใจล้มเหลว (ที่ซึ่งการหายใจหยุดลงแต่หัวใจยังคงเต้นอยู่)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลทันทีที่ลูกของคุณเริ่มหายใจลำบากมากขึ้น

ลูกของคุณอาจทำการดื่มของเหลวได้ยากขึ้นเนื่องจากการปิดกั้นของหลอดลม กระนั้นคุณก็ควรดูแลให้พวกเขาได้รับน้ำมาก ๆ เพื่อเลี่ยงภาวะขาดน้ำ

หากลูกของคุณไม่ยอมดื่มน้ำ พยายามอย่าไปฝืนพวกเขาเพราะอาจทำให้เด็กเครียดจนทำให้ภาวะนี้ทรุดลงได้

การติดเชื้อทุติยภูมิ

การติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) สามารถเกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไอครูปครั้งแรกได้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิด: โรคปอดบวม: การติดเชื้อภายในอกที่ทำให้เนื้อเยื่อของปอดข้างหนึ่งหรือสองข้างบวมขึ้น หลอดลมใหญ่ติดเชื้อแบคทีเรีย: เป็นภาวะติดเชื้ออันตรายถึงชีวิตที่อาจเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อไวรัสที่ระบบหายใจ

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคไอครูปนั้นมีทั้งการติดเชื้อของหูชั้นกลาง และภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (lymphadenitis) เป็นต้น

การป้องกันโรคไอครูป

โรคไอครูปแพร่กระจายคล้ายกับไข้หวัด ดังนั้นจึงทำการป้องกันโรคนี้ได้ยาก

การรักษาความสะอาดเบื้องต้นเป็นวิธีป้องกันโรคไอครูปที่ดีที่สุด อย่างเช่นการล้างมือและทำความสะอาดพื้นผิวสิ่งของบ่อย ๆ

MMR: หรือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และหัดเยอรมัน

DT aP/IPV/Hib: การฉีดป้องกันโรคคอตีบ (diphtheria) โรคบาดทะยัก โรคไอกรน โปลิโอ และโรคฮิป (Haemophilus influenzae type b)

อาการของโรคไอครูป

เด็กสามารถติดเชื้อโรคครูปจากช่วงเวลาใดของปีก็ได้ กระนั้นภาวะนี้ก็มักจะพบบ่อยระหว่างช่วงฤดูหนาว เนื่องมาจากว่าเชื้อไวรัสหลายประเภท อย่างเชื้อโรคไข้หวัดจะอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวมากที่สุด

อาการทั่วไปของโรคไอครูปมีดังนี้: ไอเสียงคล้ายสุนัขเห่า เสียงแตกหรือแหบแห้ง หายใจลำบาก เสียงฮี้ดขณะหายใจเข้า (stridor)

เสียง stridor มักจะสังเกตได้ง่ายขึ้นขณะที่เด็กร้องไห้หรือไอ แต่สำหรับกรณีที่เป็นโรคไอครูปรุนแรงอาจจะเกิดขึ้นขณะที่พวกเขานอนหลับก็ได้

อาการเหล่านี้มักจะทรุดลงในช่วงกลางคืน

เด็กบางคนจะมีอาการคล้ายหวัดเป็นเวลาก่อนเริ่มมีอาการของโรคไอครูปไม่กี่วัน

อาการคล้ายหวัดมีดังต่อไปนี้: เจ็บคอ ไอ คัดจมูก มีไข้สูง

แม้ว่าอาการของโรคไอครูปสามารถคงอยู่ได้ไม่กี่วัน โรคนี้ก็มีโอกาสเป็นยาวนานได้ถึงสองสัปดาห์เช่นกัน

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคไอครูปได้ และสำหรับกรณีที่เป็นไม่รุนแรงก็สามารถรักษาได้เองที่บ้าน

คุณควรไปพบแพทย์เมื่อลูกของคุณเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้: หายใจลำบากรุนแรง ความถี่ในการหายใจมีมากขึ้น หรือไม่มีเสียงขณะหายใจ อาการไอหรืออาการ stridor รุนแรงขึ้น ฉุนเฉียวหรือซึม ผิวคล้ำหรือซีดลง ผิวหนังรอบกระดูกซี่โครงและหน้าอกแน่นขึ้นหรือถูกดึงเข้าไปข้างในจนทำให้กระดูกหน้าอกและซี่โครงชัดเจนขึ้น มีไข้สูงมาก หัวใจเต้นเร็วหรือตกลงมาก ไม่สามารถดื่มของเหลวได้

อาการดังที่กล่าวไปอาจบ่งชี้ถึงภาวะต้นตอที่ร้ายแรงถึงชีวิตที่เรียกว่าภาวะฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (epiglottitis)

อาการเหล่านี้ยังสามารถบ่งชี้ได้ถึงภาวะหลอดลมใหญ่อักเสบ (tracheitis) ที่ต้องรีบเข้ารับการรักษากับแพทย์ได้อีกเช่นกัน

สาเหตุของโรคไอครูป

โรคไอครูปมักจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้กล่องเสียงบวม กับหลอดลมใหญ่เกิดการอุดกั้น และอาจส่งผลกับท่อภายในปอด (bronchi)

ไวรัส Parainfluenza

ไวรัส Parainfluenza เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไอครูปที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อไวรัสประเภทนี้มีอยู่สี่ประเภทดังนี้: Parainfluenza I Parainfluenza II Parainfluenza III Parainfluenza IV

เชื้อไวรัสสามารถส่งผ่านหากันได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ และเช่นเดียวกันกับไวรัสที่แพร่กระจายทางอากาศ Parainfluenza เองก็สามารถแพร่กระจายจากฝอยละอองของสารคัดหลั่งที่ออกมาจากการไอหรือจามของผู้ติดเชื้อเช่นกัน

ไวรัสอื่นๆ

มีไวรัสหลายประเภทที่ทำให้เกิดโรคไอครูปขึ้น ดังนี้: influenza A และ B (ไวรัสไข้หวัดใหญ่) ไวรัสโรคหัด มักจะเกิดกับเด็กที่ยังไม่ได้รับภูมิต้านทานโรคหัด ไรโนไวรัส (ไวรัสโรคไข้หวัดทั่วไป) เอนเทอโรไวรัส respiratory syncytial virus (RVS) ที่ทำให้เกิดปัญหาการหายใจรุนแรงและโรคปอดบวมในเด็กทารก

สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุที่พบได้ไม่บ่อยของโรคไอครูปมีดังนี้:

  • การสูดหายใจนำสิ่งของขนาดเล็กอย่างเช่นเม็ดถั่ว หรือปลอกปากกาเข้าไป
  • ภาวะฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (epiglottitis): การอักเสบของฝาปิดกล่องเสียง (แผ่นเปิดปิดที่อยู่ที่ฐานของลิ้น มีหน้าที่กันอาหารไม่ให้เข้าไปในหลอดลม)
  • ปฏิกิริยาแพ้ที่มีต่อสารต่าง ๆ อย่างเกสรดอกไม้ หรือไรฝุ่น
  • การสูดดมสารก่อความระคายเคือง อย่างเช่นสารเคมี เป็นต้น
  • การรั่วไหลย้อนขึ้นมาของกรดในกระเพาะอาหารสู่ลำคอ (ภาวะกรดไหลย้อน)

การวินิจฉัยโรคไอครูป

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคไอครูปได้จากการสังเกตอาการของเด็กได้จากเสียงของการไอของพวกเขา และอาจมีการตรวจสอบอุณหภูมิค่างกายเพื่อหาไข้และตรวจสอบว่าเคยประสบกับภาวะติดเชื้อไวรัสหรือไข้หวัดมาก่อนหรือไม่

ในบางกรณีอาจมีการตรวจวัดชีพจรที่นิ้วมือด้วย ซึ่งจะมีการใช้ตัวตรวจจับหนีบลงบนติ่งหูหรือนิ้วมือของเด็กเพื่อวัดระดับออกซิเจนในร่างกาย

การทดสอบนี้จะไม่สร้างความเจ็บปวดหรือความไม่สบายใจแก่เด็ก และมีไว้เพื่อตรวจดูว่าร่างกายของเด็กสามารถดูดซับออกซิเจนไปยังกระแสเลือดได้เพียงพอหรือไม่

แพทย์จะตัดสินใจว่าเด็กควรเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือสามารถกลับไปทำการรักษาที่บ้านได้เองอีกที

คุณไม่ควรตรวจลำคอของเด็กเองเพราะอาจจะไปกระตุ้นให้เกิดการตีบแคบของหลอดลมได้โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจทำให้หลอดลมบวมมากขึ้นจนทำให้อาการหายใจไม่ออกทรุดลงได้

การตรวจหาภาวะสุขภาพอื่น ๆ

โรคไอครูปมักจะสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการสังเกตอาการของเด็ก แต่แพทย์อาจต้องทำการตรวจสอบหาสัญญาณของภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันไปด้วย

สาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการคล้ายกับโรคไอครูปมีดังนี้: ความผิดปรกติของหลอดลมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด แผ่นที่เนื้อเยื่อหลังลำคอ การสูดสิ่งของเข้าไป การบวมของผิวหนังชั้นลึก (angio-oedema) ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ ภาวะหายใจลำบากที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด (congenital lesion) ปฏิกิริยาภูมิแพ้

สำหรับกรณีที่หายากมาก ๆ ภาวะอักเสบที่ฝาปิดกล่องเสียงหรือหลอดลมใหญ่อักเสบจะทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคไอครูป หากเป็นเช่นนี้เด็กจะรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวอย่างมากแทนที่จะมีอาการที่เจาะจงว่าเป็นโรคไอครูป

การตรวจสอบเพิ่มเติม

หากลูกของคุณต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากภาวะไอครูปรุนแรง หรือการรักษาที่ผ่านมาไม่ได้ผล จะมีการทดสอบเพิ่มเติมด้วยการตรวจสอบลำคอและหน้าอกเพื่อหาการอุดตัน

จะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ในกรณีที่คาดว่าลูกของคุณสูดหายใจนำบางสิ่งเข้าไปติดทางเดินอากาศ

การรักษาโรคไอครูป

การรักษาโรคไอครูปจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการต่าง ๆ กรณีส่วนมากจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถควบคุมได้เองที่บ้าน

อย่างไรก็ตามหากลูกมีภาวะไอครูปรุนแรง พวกเขาต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

การรักษาที่บ้าน

หากแพทย์คาดว่าลูกของคุณเป็นโรคไอครูปไม่รุนแรง พวกเขาจะแนะนำสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถจัดการเองได้ที่บ้าน ซึ่งมักจะเป็นการใช้ยาพาราเซตตามอลที่บรรเทาอาการของโรค และช่วยลดไข้ในกรณีที่พวกเขามีไข้

คุณควรดูแลให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ ตลอดระยะเวลาที่ป่วย

พยายามปลอบให้พวกเขาสบายใจ เพราะว่าอาการต่าง ๆ จะทรุดลงหากพวกเขาฉุนเฉียวหรือร้องไห้ หากลูกของคุณซึม พยายามจับพวกเขามานั่งบนตักของคุณเพื่อช่วยทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจขึ้น

แพทย์มักจะจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพียงโดสเดียวแก่คุณ (dexamethasone หรือ prednisolone) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบภายในลำคอของเด็ก ผลข้างเคียงของยาประเภทนี้มีทั้งอยู่ไม่สุข อาเจียน ปวดท้อง และปวดศีรษะ

การรักษาด้วยไอน้ำจะไม่แนะนำให้กับเด็กที่ป่วยเป็นโรคไอครูป เพราะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าการทำเช่นนี้จะช่วยทำให้เด็กมีอาการดีขึ้น

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่สังเกตว่าอาการของลูกคุณทรุดลง

ยาแก้ปวดสำหรับเด็ก

ยาแก้ปวดทั่วไปอย่างพาราเซตตามอลและอิบูโพรเฟนมีในรูปแบบของยาน้ำสำหรับเด็กอยู่ คุณสามารถหาซื้อยาเหล่านี้ได้จากร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อทั่วไป

เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีไม่ควรได้รับยาแอสไพริน

ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากว่าคุณไม่มั่นใจว่าควรใช้ยาแก้ปวดชนิดใดกับเด็ก

ห้ามใช้ยาแก้ไอหรือยาแก้คัดจมูกเนื่องจากยาเหล่านี้มักไม่ช่วยบรรเทาอาการของโรคครูป อีกทั้งการรักษาด้วยยาเหล่านี้อาจทำให้เด็กง่วงนอน ซึ่งจะเป็นอันตรายมากหากเด็กมีอาการหายใจลำบาก

การรักษาที่โรงพยาบาล

สำหรับกรณีที่เด็กป่วยจากโรคไอครูปรุนแรง ต้องพาพวกเขาไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

ปัญหาการหายใจอย่างหายใจติดขัด เป็นปัญหาหลักของโรคไอครูปรุนแรง คุณควรเรียกรถพยาบาลมารับทันทีที่เด็กเริ่มหายใจลำบากมาก ๆ

หากลูกของคุณป่วยเป็นไอครูปรุนแรง พวกเขาจะได้รับยาอะดรีนาลีนผ่านทางอุปกรณ์พ่นยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นภายใน 10 ถึง 30 นาที ซึ่งผลจากยาตัวนี้ควรจะคงอยู่ได้นานถึงสองชั่วโมง อุปกรณ์พ่นยาจะช่วยทำให้ยาถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของหมอก

หากลูกของคุณมีอาการหายใจลำบาก แพทย์อาจจัดให้พวกเขาได้รับออกซิเจนมากขึ้นด้วยการสวมหน้ากากออกซิเจน

ยา dexamethasone หรือ prednisolone ก็สามารถใช้กับกรณีผู้ป่วยโรคไอครูปรุนแรงได้เช่นเดียวกัน

สำหรับกรณีหายากอาจทำให้เด็กที่ป่วยต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ (intubation) ระหว่างการพักฟื้นนี้จะมีการสอดท่อผ่านรูจมูกหรือปากเข้าไปยังหลอดลมเพื่อช่วยให้เด็กหายใจง่ายขึ้น

การใส่ท่อช่วยหายใจมักจะดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบพื่อทำให้เด็กหมดสติไปตลอดกระบวนการเพื่อให้พวกเขาไม่รู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัว

 


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Croup. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/croup/)
Croup: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/155932)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?

ECMO หมายถึง การค้ำจุนชีวิตสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก ผ่านการพัฒนามาอย่างมาก

อ่านเพิ่ม