อาเจียนในเด็กและทารก

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาเจียนในเด็กและทารก

เป็นเนื่องปรกติที่เด็กและทารกจะเกิดอาการอาเจียนขึ้น ซึ่งในกรณีส่วนมากจะเกิดอาการไม่นานไปกว่าหนึ่งหรือสองวันและมักไม่เป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรงใด ๆ

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการอาเจียนในเด็กและทารกมากที่สุดคือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ที่เป็นภาวะติดเชื้อของกระเพาะจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งยังทำให้เกิดอาการท้องร่วงด้วย อาการอาเจียนแม้จะทำให้เด็กไม่สบายตัวบ้าง แต่ส่วนมากมักจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตามการอาเจียนเรื้อรังนั้นสามารถทำให้เด็กประสบกับภาวะขาดน้ำรุนแรงได้ (dehydrate) และอาการเรื้อรังมักจะเป็นสัญญาณของภาวะอื่น ๆ ที่ร้ายแรงขึ้น เช่นภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis)

สิ่งที่คุณควรทำ

หากลูกของคุณประสบกับการอาเจียน ควรดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด และเชื่อในสัญชาตญาณความเป็นพ่อแม่ของตนเองและติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณเริ่มกังวลใจ

หากสาเหตุเกิดมาจากเชื้อโรคลงกระเพาะ ลูกของคุณยังคงทานอาหารและเล่นได้ตามปรกติ ในกรณีนี้คุณควรป้อนอาหารพวกเขาต่อไปและดูแลให้พวกเขาดื่มน้ำให้มาก ๆ

แต่หากพวกเขาไม่สบาย เช่นอ่อนแรง ฉุนเฉียว หรือการตอบสนองน้อยลง พวกเขาอาจจะป่วยหนักได้ดังนั้นคุณควรพบเด็กไปพบแพทย์ทันที

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรติดต่อแพทย์หากว่า:

  • ลูกของคุณมีอาการอาเจียนซ้ำซาก และไม่สามารถดื่มน้ำได้เลย
  • คุณคาดว่าเด็กประสบกับหรือมีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่นปากแห้ง ร้องไห้แบบที่ไม่มีน้ำตาออกมา วิงเวียน และปัสสาวะน้อยหรือไม่มีเลย
  • อาเจียนของพวกเขามีสีเขียวหรือปนเลือด
  • เด็กอาเจียนนานกว่าหนึ่งหรือสองวัน

ให้พาพวกเขาไปสถานพยาบาลใกล้เคียงทันทีที่เด็กมีอาการอาเจียนและเริ่มปวดท้องรุนแรงอย่างกะทันหัน หรือเมื่อพวกเขาเริ่มมีอาการอ่อนแรง ฉุนเฉียว หรือการตอบสนองน้อยลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การดูแลลูกของคุณที่บ้าน

กรณีส่วนมากคุณสามารถดูแลเด็กได้เองที่บ้าน โดยสิ่งสำคัญคือการให้พวกเขาดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

หากทารกอาเจียน ควรป้อนนมพวกเขาต่อไป โดยหากพวกเขาเริ่มมีอาการขาดน้ำ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (oral rehydration solution) สำหรับทารก

ผงน้ำตาลเกลือแร่คือผงชนิดพิเศษที่ให้คุณละลายในน้ำและดื่มลงไป ผงนี้จะประกอบด้วยน้ำตาลและเกลือที่ช่วยชดเชยน้ำกับเกลือที่สูญเสียไปจากการอาเจียนหรือท้องร่วง

เด็กที่ประสบกับอาการอาเจียนควรได้รับน้ำเปล่าด้วยการค่อย ๆ จิบทีละน้อย คุณสามารถให้น้ำผลไม้และน้ำอัดลมแก่พวกเขาได้หากพวกเขาเริ่มมีอาการดีขึ้น หากพวกเขาไม่ประสบกับภาวะขาดน้ำและยังสามารถทานอาหารได้ คุณก็สามารถจัดอาหารแข็งให้เด็กได้ตามปกติ

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากว่าคุณกังวลว่าลูกของคุณประสบกับภาวะขาดน้ำ โดยพวกเขาจะทำการแนะนำผลิตภัณฑ์ผงเกลือแร่ที่เหมาะสมกับลูกของคุณได้ คุณควรติดต่อแพทย์หรือพยาบาลทันทีที่ลูกคุณไม่สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ได้เลย

หากลูกของคุณมีอาการท้องร่วงและอาเจียน ควรให้พวกเขาหยุดเรียนหรือไปสถานรับเลี้ยงจนกว่าจะปลอดอาการเหล่านี้เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาเจียนในเด็ก

  • โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) คือภาวะติดเชื้อที่กระเพาะ และเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการอาเจียนในเด็กมากที่สุด ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นยาวนานไม่กี่วัน
  • ภาวะแพ้อาหาร (Food allergies) สามารถทำให้เกิดอาการอาเจียนในเด็กพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่นลมพิษ (urticaria) และอาการบวมที่ใบหน้า รอบดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น หรือเพดานปาก
  • ควรดูแลไม่ให้พวกเขาทานอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการอาเจียนและไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยภาวะแพ้อาหารของลูกคุณ
  • การติดเชื้ออื่น ๆ อาการอาเจียนสามารถเป็นสัญญาณของภาวะติดเชื้อนอกจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบก็ได้ เช่นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ( urinary tract infections - UTI) การติดเชื้อของหูชั้นกลาง ภาวะปอดบวม หรือภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ควรติดต่อแพทย์ทันทีที่ลูกของคุณมีอาการอาเจียนและมีอาการอื่น ๆ ของการติดเชื้อร่วมด้วย เช่นมีไข้สูง และรู้สึกฉุนเฉียว
  • ภาวะไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) เป็นอาการบวมที่เจ็บปวดมากที่เกิดกับไส้ติ่ง ซึ่งเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายนิ้วที่เชื่อมเข้ากับลำไส้ใหญ่ ภาวะนี้ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา
  • หากลูกของคุณมีอาการปวดท้องที่ค่อย ๆ แย่ลง ควรพาพวกเขาไปพบแพทย์ทันที และควรเรียกรถพยาบาลมารับหากพวกเขามีอาการปวดท้องรุนแรงจนลามไปทั่วท้องกะทันหัน กรณีส่วนมากของโรคไส้ติ่งอักเสบจำต้องมีการผ่าตัดไส้ติ่งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • พิษ การกลืนสารพิษลงไปโดยไม่ตั้งใจก็อาจทำให้ลูกของคุณอาเจียนได้ หากคุณคาดว่าพวกเขาเกิดอาการขึ้นเพราะเหตุนี้ ควรติดต่อแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงในทันที

สาเหตุของอาการอาเจียนในทารก

อาจเกิดมาจาก:

  • โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ แพ้อาหาร หรือภาวะแพ้น้ำตาลกลูโคสในนม (milk intolerance)
  • กรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux): ที่ซึ่งของในกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปหลอดอาหาร
  • รูบนจุกขวดนมใหญ่เกินไปจนทำให้ทารกดื่มน้ำนมมากเกินไป
  • การกลืนสารพิษโดยไม่ตั้งใจ
  • ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบแต่กำเนิด (congenital pyloric stenosis): ภาวะที่ช่องจากกระเพาะไปยังลำไส้ตีบแคบจนอาหารไม่สามารถเคลื่อนผ่านไปได้จนทำให้เกิดอาการอาเจียนพุ่ง
  • ภาวะไส้เลื่อนชนิดถูกบีบรัด (strangulated hernia): ทารกของคุณอาจอาเจียนและร้องไห้บ่อยครั้งราวกับพวกเขาเจ็บปวดมาก ภาวะนี้นับว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องเข้ารับการรักษาทันที
  • โรคลำไส้กลืนกัน (intussusception): ทำให้เกิดอาการอาเจียน ผิวของทารกซีด อ่อนแรง และมีอาการของภาวะขาดน้ำ

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Patient education: Nausea and vomiting in infants and children (Beyond the Basics). UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/nausea-and-vomiting-in-infants-and-children-beyond-the-basics)
Vomiting in babies: what's normal and what's not. BabyCentre UK. (https://www.babycentre.co.uk/a536689/vomiting-in-babies-whats-normal-and-whats-not)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?

ECMO หมายถึง การค้ำจุนชีวิตสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก ผ่านการพัฒนามาอย่างมาก

อ่านเพิ่ม