ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infections - UTI) ในเด็กเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมักจะไม่ร้ายแรง ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

UTI สามารถจำแนกได้เป็น:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • UTI ส่วนบน/ตอนต้น: หากว่าเป็นการติดเชื้อที่ท่อไตหรือที่ไต (ท่อไตคือจุดที่เชื่อมระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ)
  • UTI ส่วนล่าง/ตอนล่าง: หากว่าเป็นการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (cystitis) หรือท่อปัสสาวะ (ท่อที่ใช้ลำเลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย)

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

หากคุณคิดว่าลูกของคุณไม่สบายและอาจประสบกับภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ให้ติดต่อแพทย์ทันทีที่ทำได้

แม้ว่า UTI จะไม่ใช่ภาวะติดเชื้อประเภทที่ร้ายแรง คุณก็ควรพาลูกไปรับการวินิจฉัยและรักษาให้เร็วที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

อาการของภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

เป็นการยากที่จะยืนยันว่าลูกของคุณเป็น UTI จริงหรือไม่เพราะอาการของภาวะนี้มีความกำกวม และเด็กเล็กก็ยังไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างตรงไปตรงมา

สัญญาณทั่วไปที่บ่งชี้ถึงความไม่สบายเนื้อสบายตัวของลูกคุณมีดังนี้:

  • มีไข้สูง
  • อาเจียน
  • เหน็ดเหนื่อยอ่อนแรง
  • ฉุนเฉียว
  • ป้อนอาหารยาก
  • น้ำหนักไม่เพิ่มตามที่ควรจะเป็น
  • สำหรับเด็กเล็กมากอาจมีภาวะผิวและตาขาวสีเหลือง (ดีซ่าน)

สัญญาณบ่งชี้ว่าลูกของคุณอาจเป็น UTI มีดังนี้:

  • ความรู้สึกเจ็บหรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ
  • ต้องปัสสาวะบ่อย ๆ
  • ไม่สามารถอั้นปัสสาวะได้นาน
  • กิจวัตรการขับถ่ายเปลี่ยนจากเดิม เช่นปัสสาวะรดที่นอนหรือรดกางเกง
  • เจ็บท้องน้อย สีข้าง หรือแผ่นหลังส่วนล่าง
  • ปัสสาวะมีกลิ่นแรง
  • มีเลือดปนปัสสาวะ
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น

การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

กรณีส่วนมากแพทย์จะสามารถวินิจฉัยภาวะ UTI ได้จากการสอบถามอาการ ตรวจร่างกาย และจัดการตรวจปัสสาวะของเด็ก คุณอาจต้องทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะของเด็กเองที่บ้าน หรือให้แพทย์หรือพยาบาลที่สถานพยาบาลเป็นคนช่วย

การทดสอบนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถระบุสาเหตุของการติดเชื้อ และเพื่อดูว่าภาวะนี้เกิดขึ้น ณ ตำแหน่งใดของระบบทางเดินปัสสาวะ

การรักษาจะเริ่มขึ้นทันทีเมื่อได้รับผลการตรวจปัสสาวะ และจะไม่มีการทดสอบใด ๆ เพิ่มเติมอีก ในบางกรณี อาจต้องดำเนินการทดสอบเพิ่มเติมภายในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาความผิดปรกติในร่างกายของเด็ก โดยแพทย์จะส่งคุณไปโรงพยาบาลทันทีหากลูกของคุณมีอายุน้อยมาก ๆ หรือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่าสามเดือน เพื่อเข้าพบกุมารแพทย์โดยไม่จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะ

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะของเด็กอาจทำได้ยาก โดยเฉพาะหากเป็นเด็กเล็กหรือทารก

หากคุณไม่มั่นใจในวิธีการหรือต้องการความช่วยเหลือ คุณสามารถปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลได้

สำหรับเด็กเล็กที่ขับถ่ายได้เองแล้ว คุณสามารถขอให้พวกเขาเก็บตัวอย่างปัสสาวะของตนเองได้ด้วยการใช้ขวดฆ่าเชื้อที่แพทย์จัดหามาให้

การเก็บตัวอย่างทำได้โดยการปัสสาวะเข้าไปในขวดโดยตรง พยายามอย่าจับที่ขอบของขวดขณะเก็บตัวอย่างเพราะอาจทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้

หากคุณไม่สามารถทำการเก็บตัวอย่างที่สะอาดได้ คุณสามารถเก็บตัวอย่างได้ด้วยการใช้แผ่นดูดซับที่รองไว้ในผ้าอ้อมของเด็กแทนก็ได้ ซึ่งตัวอย่างปัสสาวะจะถูกดูดออกจากแผ่นดูดซับด้วยเข็มฉีดยา

หากคุณทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะที่บ้านหรือที่สถานพยาบาลลำบาก จะมีการใช้หลอดพลาสติกที่เรียกว่าสายสวนท่อปัสสาวะสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำการดูดของเหลวออกมาแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การทดสอบเพิ่มเติม

กรณีส่วนมากแล้วจะมีการรักษาเริ่มขึ้นทันทีหลังเก็บตัวอย่างปัสสาวะโดยที่ไม่ต้องให้เด็กเข้ารับการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามก็อาจมีการทดสอบเพิ่มเติมหากว่า:

  • เด็กมีอายุน้อยกว่าหกเดือน
  • อาการของเด็กไม่ดีขึ้นหลังเริ่มการรักษาไปแล้ว 24-48 ชั่วโมง
  • ลูกของคุณมีอาการที่ผิดปรกติต่าง ๆ เช่นปัสสาวะติดขัด ความดันโลหิตสูง หรือมีก้อนภายในหน้าท้องหรือกระเพาะปัสสาวะ
  • ลูกของคุณประสบกับ UTI ซ้ำซาก

กรณีเหล่านี้แพทย์จะแนะนำให้คุณพาลูกไปรับการสแกนร่างกายเพื่อมองหาความผิดปรกติต่าง ๆ

การสแกน

มีเทคนิคสแกนร่างกายมากมายที่สามารถดำเนินการเพิ่มตรวจหาปัญหาภายในระบบทางเดินปัสสาวะของเด็กได้ ดังนี้:

  • การสแกนอัลตราซาวด์: เป็นการใช้คลื่นเสียงที่ออกจากอุปกรณ์ที่ลูบไล้ไปตามผิวหนังของเด็กและแสดงภาพภายในออกมาบนหน้าจอ
  • การสแกน dimercaptosuccinic acid (DMSA): เป็นการฉีดสารกัมมันตภาพรังสีชนิดอ่อนที่เรียกว่า DMSA ที่จะแสดงออกมาบนอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่ากล้องแกมม่า (gamma camera) เพื่อเก็บภาพไตของเด็ก หลังการสแกน DMSA จะไหลออกมาพร้อมกับปัสสาวะของเด็กโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างใด
  • micturating cystourethrogram (MCUG): เป็นการใช้สายสวนท่อปัสสาวะเข้าไปและฉีดสารทึบรังสีที่สามารถแสดงออกมาบนฟิล์มเอกซเรย์ได้อย่างชัดเจนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะก่อนที่แพทย์จะทำการถ่ายชุดภาพเอกซเรย์ เช่นเดียวกับสาร DMSA สารทึบรังสีที่ใช้ก็สามารถไหลออกมาพร้อมปัสสาวะเช่นกัน

ประเภทของเทคนิคสแกนที่ใช้จะขึ้นอยู่กับกรณีของเด็กแต่ละคน ในบางกรณี การสแกนก็อาจดำเนินการหลังเด็กเริ่มมีอาการไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน

สาเหตุการเกิดภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

UTI ในเด็กส่วนมากจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจากระบบย่อยอาหารเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ซึ่งมีการลุกลามมากมายดังนี้:

ขณะที่เด็กเช็ดทวารและนำกระดาษชำระสกปรกไปสัมผัสกับอวัยวะเพศของตนเอง: มักจะเกิดเช่นนี้กับเด็กผู้หญิงได้ง่ายกว่าเด็กผู้ชายเพราะทวารของเด็กสาวจะอยู่ใกล้กับท่อปัสสาวะมากกว่า

เศษอุจจาระเข้าไปในท่อปัสสาวะขณะที่ทารกสวมผ้าอ้อมอยู่

และบ่อยครั้งที่ภาวะนี้เกิดขึ้นกับเด็กโดยที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อีกทั้งเด็กบางคนจะมีความอ่อนไหวต่อ UTI มากกว่าเด็กอื่น เพราะปัญหาที่เกิดจากภาวะที่ไม่สามารถปัสสาวะให้หมดกระเพาะได้ เช่น:

ภาวะท้องผูก: ภาวะนี้อาจทำให้ส่วนของลำไส้เบ่งออกจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ไม่สามารถถ่ายของเหลวได้ตามปกติ

dysfunctional elimination syndrome: ภาวะวัยเด็กที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ที่ซึ่งเด็กจะทำการ “อั้น” ปัสสาวะแม้ว่าพวกเขาจะรู้สึกอยากปัสสาวะก็ตาม

ภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ (vesicoureteral reflux): ภาวะที่พบไม่บ่อยที่ซึ่งปัสสาวะจะไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ สู่ท่อไตและไต ภาวะนี้เกิดขึ้นจากปัญหาที่ลิ้นของท่อปัสสาวะที่อยู่ระหว่างท่อกับกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

UTI ในเด็กส่วนมากจะหายเมื่อเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ 24 ถึง 48 ชั่วโมง และจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวใด ๆ

หลาย ๆ กรณี การรักษาจะต้องให้เด็กรับยาปฏิชีวนะชนิดทานแบบคอร์สที่บ้าน และเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน ทารกที่อายุต่ำกว่าสามเดือนกับเด็กที่มีอาการรุนแรงจะต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่วันเพื่อรับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด

1.การรักษาตัวที่บ้าน

หากลูกของคุณมีอายุมากกว่าสามเดือนขึ้นไป และคาดว่าไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะเจ็บป่วยที่ร้ายแรงกว่า คุณสามารถรักษาพวกเขาได้เองที่บ้านด้วยยาปฏิชีวนะ

แพทย์จะแนะนำระยะเวลาการรักษาแตกต่างไปตามกรณีผู้ป่วย เช่น:

  • UTI ส่วนล่าง: มักจะต้องใช้ยาติดกัน 3 วัน
  • UTI ส่วนบน: มักจะต้องใช้ยาติดกัน 7 – 10 วัน

ลูกของคุณอาจประสบกับผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะบ้าง แต่ก็มักจะเป็นผลที่ไม่รุนแรงและควรจะหายไปหลังยุติการใช้ยา โดยมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยดังนี้:

หากจำเป็น คุณสามารถใช้ยาพาราเซตตามอลเพื่อลดไข้และความไม่สบายเนื้อสบายตัวของเด็กได้

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) อย่างอิบูโพรเฟนกับเด็กที่ป่วยเป็น UTI เพราะมีผลเสียต่อไต ส่วนยาแอสไพรินก็ไม่ควรใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี

หากลูกของคุณไม่สามารถทานยาเม็ดหรือแคปซูลได้ พวกเขาสามารถใช้ยาพาราเซตตามอลและปฏิชีวนะในรูปแบบของยาน้ำได้

ภาวะของลูกคุณควรจะดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มการรักษา คุณดูแลให้พวกเขาได้รับยาปฏิชีวนะครบตามที่แพทย์กำหนดเพื่อป้องกันการกลับมาของภาวะติดเชื้อ

2.การรักษาตัวที่โรงพยาบาล

หากลูกของคุณมีอายุน้อยกว่าสามเดือน หรือคาดว่ามีภาวะทรุดลง แพทย์จะส่งพวกเขาไปรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่อ แพทย์จะคาดว่าลูกของคุณมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยร้ายแรงขึ้นหากว่าไม่ได้รับการรักษาจากทางโรงพยาบาลเมื่อ:

  • เด็กมีอาการไม่สู้ดี หรือมีภาวะขาดน้ำ หรือไม่สามารถทานยาเพราะมีอาการอาเจียนต่อเนื่อง
  • มีอาการไม่ปรกติที่ชัดเจน เช่นปัสสาวะไหลติดขัด ความดันโลหิตสูง หรือมีก้อนภายในท้องหรือกระเพาะปัสสาวะ
  • เด็กเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นภาวะที่ส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ

กรณีเหล่านี้จำต้องให้ลูกของคุณพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลาสองถึงสามวันเพื่อรับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด (intravenous antibiotics) และเช่นเดียวกับการรักษาตัวที่บ้าน เด็กควรจะมีอาการดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง

การนัดหมายติดตามผล

เด็กที่ป่วย UTI ส่วนมากจะหายจากภาวะนี้ภายในหนึ่งหรือสองวัน และจะไม่ประสบกับปัญหาระยะยาว คุณควรกลับไปพบแพทย์เมื่ออาการของเด็กไม่มีสัญญาณว่าจะดีขึ้นหลังเริ่มการรักษา

หลาย ๆ กรณีคุณก็ไม่ต้องพาเด็กกลับไปพบแพทย์หากว่าพวกเขาฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตามแพทย์ก็แนะนำให้เด็กรับการสแกนระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อตรวจหาต้นตอของการติดเชื้อที่อาจจะคงเหลืออยู่

สถานการณ์ที่แพทย์แนะนำให้มีการทดสอบเพิ่มเติมมีดังนี้:

  • ลูกของคุณมีอายุน้อยกว่าหกเดือน
  • อาการของเด็กไม่ดีขึ้นหลังเริ่มการรักษาไปแล้ว 24-48 ชั่วโมง
  • เด็กมีอาการที่ไม่ปกติ เช่นปัสสาวะติดขัด ความดันโลหิตสูง หรือมีก้อนภายในหน้าท้องหรือกระเพาะปัสสาวะ
  • ลูกของคุณประสบกับ UTI ซ้ำซาก

การป้องกันภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

การป้องกัน UTI ในเด็กนั้นไม่อาจทำได้ แต่ก็มีหลายสิ่งที่คุณสามารถปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกของคุณจะติดเชื้อได้ ดังนี้:

  • หากเป็นไปได้ ควรให้น้ำนมจากเต้าแก่ทารกในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอดเพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของทารกและลดความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก
  • สอนให้เด็กผู้หญิงเช็ดทวารจะหน้าไปหลังเพื่อลดความโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
  • ดูแลให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ และเข้าห้องน้ำเป็นเวลา การที่ให้เด็กอั้นปัสสาวะไว้จะทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น
  • เลี่ยงการใช้กางเกงชั้นในที่ทอจากผ้าไนลอนหรือวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่อาจยิ่งเพิ่มจำนวนแบคทีเรีย ควรเป็นกางเกงชั้นในผ้าไหมที่หลวมสบายแทน
  • เลี่ยงการใช้สบู่หรือฟองอาบน้ำผสมน้ำหอมเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ UTI ในเด็กขึ้น
  • ดูแลให้พวกเขาดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูกได้ด้วย สังเกตได้จากสีของปัสสาวะเด็กควรจะมีสีซีดและใสในช่วงกลางวัน และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ช่วยเด็กที่ประสบกับปัญหาท้องผูกเรื้อรัง

บางคนรู้สึกว่าการดื่มน้ำหรืออาหารเสริมจากแครนเบอร์รี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะ UTI ลง แต่งานวิจัยระดับสูงหลายชิ้นก็ไม่ได้สรุปชัดเจนว่าแครนเบอร์รี่มีฤทธิ์ลดโอกาสการเกิด UTI แต่อย่างใด

ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำซากในเด็ก

มีเด็กจำนวนน้อยที่ประสบกับ UTI ซ้ำซาก หากว่าเด็กเคยเป็น UTI มาก่อน สิ่งที่คุณควรทำคือการเฝ้าระวังและดูแลพวกเขาไม่ให้พวกเขาประสบกับอาการเดิม ควรไปแจ้งแพทย์เกี่ยวกับอาการที่เด็กประสบทันทีเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยยืนยันและเริ่มการรักษาให้ทันท่วงที

หากลูกของคุณมีปัญหาที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ UTI เช่นมีลิ้นท่อปัสสาวะที่ผิดปกติจนทำให้ของเหลวไหลย้อนทาง แพทย์จะทำการจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีขนาดยาต่ำให้เด็กใช้ในระยะยาวเพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อ

 


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urinary Tract Infections (UTIs) (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/urinary.html)
Urinary Tract Infection in Children. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6751349/)
UTIs In Children: Symptoms, Causes, Treatment, & Diagnosis. WebMD. (https://www.webmd.com/children/if-your-child-gets-a-uti#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?
ECMO (extracorporeal life support) คืออะไร ?

ECMO หมายถึง การค้ำจุนชีวิตสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก ผ่านการพัฒนามาอย่างมาก

อ่านเพิ่ม