ทารกและเด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปีนั้นมีภูมิคุ้มกัน (Antibodies) ที่ยังไม่แข็งแรงเท่าภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ การต่อสู้กับเชื้อโรคที่พยายามเข้าสู่ร่างกายจึงยังคงเป็นไปด้วยความลำบาก โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเย็นตัวลงมากกว่าปกติ ร่างกายอาจไม่มีความพร้อมมากนักจึงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ผู้ปกครองควรศึกษาอาการของโรคต่างๆและเฝ้าสังเกตอาการของเด็กเพื่อที่จะหาวิธีการรักษาได้ทันเวลา
ไวรัสที่มักเกิดกับทารกและเด็กในฤดูหนาว
หากลูกน้อยของคุณไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวในช่วงที่อากาศเริ่มเย็นตัวลง อย่าชะล่าใจเชียว เพราะนั่นอาจไม่ใช่แค่อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา แต่อาจเป็นไวรัสตัวร้ายที่มากับลมหนาว ซึ่งเด็กเล็กมีโอกาสติดเชื้อมากถึงร้อยละ 50- 99 เปอร์เซ็นต์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1. ไวรัสในระบบทางเดินหายใจ
ไวรัสในระบบทางเดินหายใจ หรือ Respiratory Syncytial Virus (RSV) แพร่เชื้อมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีมีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้เกือบทุกคน
อาการ: คือ มีอาการคล้ายกับการเป็นหวัดธรรมดา คือ มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล จามบ่อย ไอ เจ็บคอ ปวดหัว เวียนหัว และมีไข้อ่อนๆ แต่อาการอาจแย่ลงได้จนทำให้หลอดลมอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้รู้สึกแสบบริเวณหลอดลม หายใจเร็วและไออย่างต่อเนื่อง
วิธีการดูแล: คล้ายกับการรักษาไข้หวัดทั่วไป คือ ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ ทานยาลดไข้และยาแก้ไอสำหรับเด็ก แต่หากเด็กมีอาการหายใจผิดปกติควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือถึงขั้นต้องพักฟื้นดูอาการที่โรงพยาบาล
ข้อควรจำ: ห้ามใช้ยาแก้ไข้ทั่วไปในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี
2. ไข้หวัดลงกระเพาะอาหาร
ไข้หวัดในกระเพาะอาหาร เป็นอีกโรคที่อันตรายมาก เพราะสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เด็ก 9 ใน 10 คน มีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้
อาการ: อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นทำให้มีไข้ ปวดหัว อาเจียน และท้องเสียบ่อยครั้งจนทำให้มีอาการอ่อนแรง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
วิธีการดูแล: ให้ดื่มน้ำให้มากเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป อาจผสมเกลือแร่ในน้ำให้เด็กดื่มหลังมีอาการท้องเสียด้วยก็ได้ หรือเจลลี่ที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกหากเด็กไม่ชอบดื่มคู่กับน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
ข้อควรจำ: ปัจจุบันมีวัคซีนและยาต้านไวรัสชนิดนี้แล้ว แต่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป
3. โรคหัดกุหลาบ หรือ ผื่นกุหลาบ
โรคหัดกุหลาบ คือหนึ่งโรคที่ผู้ปกครองไม่คุ้นเคยนักและมักมองข้าม เพราะหากไม่สังเกตอาการอย่างถี่ถ้วนแล้วอาการที่เห็นคล้ายกับการเป็นหวัดทั่วไป แต่โอกาสที่เด็กจะเป็นโรคนี้นั้นมีมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถกลับมาเป็นอีกได้เรื่อยๆ
อาการ: เด็กที่เป็นโรคหัดกุหลาบมีอาการคล้ายกับการเป็นหวัดและมีไข้ทั่วไป ความแตกต่างที่สังเกตได้คือมีผื่นแดงทั่วร่างกาย แต่ไม่ทำให้รู้สึกแสบหรือคัน และเด็กบางคนอาจมีอาการท้องเสียด้วย
วิธีการดูแล: ดูแลเหมือนการเป็นหวัดทั่วไป โดยที่ผื่นแดงจะหายไปเองเมื่อไม่ถูกสัมผัส
4. โรคหูอักเสบ
โรคหูอักเสบ คือการติดเชื้อในช่องหู แม้จะเป็นเชื้อที่ไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง แต่กว่า 75 เปอร์เซ็นของเด็กที่อายุไม่เกิน 3 ขวบมีโอกาสเกิดหูอักเสบจากการเป็นหวัดธรรมดา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการ: มีไข้ เด็กจะจับหูหรือดึงหูบ่อยครั้งเพราะรู้สึกคันหรือแสบ บางครั้งก็รู้สึกว่าหูอื้อ
วิธีการดูแล: ทานยาแก้ปวดสำหรับเด็กเพื่อบรรเทาอาการเจ็บในช่องหู อาจทานยาต้านเชื้อและยาลดไข้ควบคู่ไปด้วยก็ได้
5. ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ พบมากในเด็กเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีและเด็กที่เป็นโรคหอบหืด ซึ่งช่วงเวลาที่ระบาดหนักที่สุดคือในช่วงฤดูหนาว ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อกันได้ภายใน 2 อาทิตย์แรก
อาการ: มีไข้สูงมาก รู้สึกหนาวๆร้อนๆ มีน้ำมูกไหล ไอบ่อยจนทำให้เจ็บคอ และร่างกายรู้สึกปวดเมื่อยมาก
วิธีการดูแล: คล้ายกับการเป็นหวัดธรรมดาอีกเช่นกัน แต่หากผู้ปกครองสังเกตอาการของโรคนี้ได้ภายใน 48 ชั่วโมงควรพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการป่วยและลดระยะเวลาการติดเชื้อได้
เชื้อโรคและไวรัสเหล่านี้มีโอกาสเข้าสู่ร่างกายของทารกและเด็กเล็กได้ทุกเมื่อ เพียงแต่ลมและความชื้นในฤดูหนาวนั้นช่วยเอื้ออำนวยการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายตัวของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี ผู้ปกครองจึงควรดูแลความสะอาดของเด็กเล็กอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ