พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วง 1 เดือนแรก
ช่วง 1 เดือนแรก ตัวอ่อนทารกในครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้
- ช่วงสองสัปดาห์แรก เป็นช่วงที่ยังไม่เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับสเปิร์ม และยังไม่เกิดตัวอ่อนขึ้น โดยปกติการปฏิสนธิจนเกิดตัวอ่อน จะเริ่มขึ้นหลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่การนับกำหนดคลอด จะนับรวมสองสัปดาห์แรกนี้เข้าไปด้วย ทำให้การนับวันกำหนดคลอด จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย และนับไปอีก 40 สัปดาห์ ก็จะเป็นวันกำหนดคลอดโดยประมาณ
- ช่วงสัปดาห์ที่สาม สเปิร์มและไข่จะเกิดการปฏิสนธิขึ้นบริเวณท่อนำไข่ เกิดการรวมตัวเป็นเซลล์เดียว ซึ่งเรียกว่าเซลล์นี้ว่า ไซโกต (zygote) ซึ่งจะเคลื่อนที่ตามท่อนำไข่ไปยังมดลูก ในขณะนี้ก็จะเกิดการแบ่งเซลล์ของไซโกตเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้นไปพร้อมๆ กัน ระยะนี้มีชื่อว่า “บลาสโตไซต์ (blastocyte)” โดยชั้นในของบลาสโตไซต์จะพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน ส่วนชั้นนอกจะพัฒนาไปเป็นรก ซึ่งหล่อเลี้ยงทารกไปตลอด 40 สัปดาห์จนกว่าจะคลอด
- ช่วงสัปดาห์ที่สี่ เป็นระยะฝังตัว บลาสโตไซต์จะฝังตัวลงบริเวณผนังมดลูก และหลังจากสัปดาห์ที่ 4 ไปแล้ว ระดับฮอร์โมนของมารดาจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะมีการสร้างฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (hCG) ขึ้นจากรก ซึ่งการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนนี้ จะทำให้ประจำเดือนไม่มา ซึ่งเป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกว่ามีการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนนี้เองที่เป็นฮอร์โมนที่ใช้ทดสอบว่าเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นหรือไม่
สังเกต อาการคนท้อง 1 เดือนได้จากอะไรบ้าง?
อาการที่พบได้บ่อยของผู้ที่ตั้งครรภ์ 1 เดือน ได้แก่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ประจำเดือนสีจางลง จากการศึกษาหนึ่งพบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 25 มีประจำเดือนสีจางลง ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นได้หลังการฝังตัวของตัวอ่อน (ประมาณ 6-12 วัน หลังเกิดการปฏิสนธิ)
- ประจำเดือนไม่มา หากพบว่าประจำเดือนไม่มาตามปกติเกิน 1 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะความเครียดก็อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของรอบเดือนได้เช่นเดียวกัน
- ความเปลี่ยนแปลงต่อเต้านมและหัวนม จากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ผลของการเปลี่ยนแปลงประการหนึ่ง คือ ร่างกายจะมีการเตรียมความพร้อมของเต้านมสำหรับการให้นมบุตร ระยะนี้มักพบอาการคัดเต้านม หัวนมมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือรู้สึกเจ็บบริเวณหัวนม
- อ่อนเพลีย จากฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยรักษาครรภ์มารดาและกระตุ้นการเจริญของต่อมสร้างน้ำนมในเต้านม นอกจากนี้ ร่างกายยังต้องมีการสูบฉีดเลือดที่มากกว่าปกติเพื่อหล่อเลี้ยงสารอาหารไปยังตัวอ่อนด้วย จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ง่าย
- ปวดศีรษะ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการปวดศีรษะได้
- คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงสัปดาห์ที่ 2-8 หลังจากการปฏิสนธิ และพบไปต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์
- อารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังการปฏิสนธิ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง
- ปวดปัสสาวะบ่อย การปวดปัสสาวะบ่อยมักเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมน hCG ที่ทำให้เลือดลำเลียงไปบริเวณเชิงกรานมากขึ้น และเมื่อครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น ขนาดของครรภ์จะยิ่งกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยถี่มากขึ้น
- อยากอาหาร หรือเกลียดอาหารบางอย่างกะทันหัน เนื่องจากประสาทรับรู้จะไวขึ้นกว่าปกติ
หากพบอาการเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่ามีการตั้งครรภ์อย่างชัดเจน เพราะถ้าหากเจ็บป่วย หรือมีความเครียดสูง ก็อาจแสดงอาการบางอย่างได้เช่นกัน และในทางกลับกันการตั้งครรภ์ก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการเหล่านี้ให้เห็นเลยก็เป็นได้ วิธีที่มีความแม่นยำที่สุด ก็คือการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์
อุปกรณ์ทดสอบอาการคนท้อง 1 เดือนอะไรบ้างที่หาซื้อได้เอง และเช็กได้ชัวร์
ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย มีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
- แบบจุ่ม หลักการทำงานคือ จุ่มแผ่นทดสอบลงในถ้วยเก็บปัสสาวะ เป็นแบบที่มีราคาถูกที่สุด
- แบบหยด เปลี่ยนจากการจุ่มแผ่นทดสอบมาเป็นใช้หลอดหยดปัสสาวะลงบนแผ่นทดสอบ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาแผ่นทดสอบถูกปริมาณปัสสาวะมากเกินไปจนทำให้แผ่นทดสอบเสีย โดยแบบหยดจะมีราคาสูงกว่าแบบจุ่ม
- แบบปัสสาวะผ่าน ใช้วิธีปัสสาวะผ่านแท่งทดสอบ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการเก็บปัสสาวะลงในถ้วย (อย่างในสองวิธีแรก) มีความสะดวกมากที่สุด แต่ก็มีราคาสูงที่สุดใน 3 รูปแบบ
ฮอร์โมน hCG จะเริ่มสร้างหลังจากการปฏิสนธิได้ประมาณ 9 วัน (หรือในช่วง 6-12 วัน) ดังนั้นจะตรวจพบฮอร์โมนนี้ได้ในเลือดประมาณ 9 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่ในช่วงวันแรกๆ อาจพบฮอร์โมนที่ขับออกทางปัสสาวะแบบเจือจาง
ซึ่งชุดทดสอบในปัจจุบันสามารถให้ผลการทดสอบที่แม่นยำได้ตั้งแต่การตรวจวันแรกของวันที่ขาดประจำเดือนตามปกติ
แต่อย่างไรก็ตาม ความคาดเคลื่อนของผลการทดสอบอาจเกิดขึ้นได้ เช่น การใช้ชุดทดสอบเร็วเกินไป ทำให้ยังไม่พบฮอร์โมน hCG
ปวดหลัง ตกขาว ประจำเดือนไม่มา ใช่สัญญาณอาการคนท้อง 1 เดือนหรือเปล่า?
โดยปกติแล้วอาการปวดหลังจะเกิดขึ้นหลังจากครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมารดาจะต้องรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่อาการในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการตกขาว เป็นอาการที่พบได้ปกติในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หนึ่งในนั้นคือฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น ตกขาวจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ที่แน่นอน เพราะตกขาวอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อ เป็นต้น
ประจำเดือนไม่มา ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ เช่น ความเจ็บป่วย หรือความเครียด หรือความผิดปกติของมดลูก ดังนั้น วิธีที่มีความแม่นยำที่สุดที่จะบอกว่าตั้งครรภ์หรือไม่ คือการใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์
หากต้องการตั้งครรภ์ ต้องดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร?
สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร แพทย์จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิก (folic acid) ขนาด 400 ไมโครกรัม/วัน ในช่วงก่อนการเริ่มตั้งครรภ์ 2-3 เดือน และให้รับประทานกรดโฟลิกต่อเนื่องไปจนครบไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect (NTD)) ของทารกในครรภ์
เพราะฉะนั้น การปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนในการตั้งครรภ์ เป็นทางเลือกที่ดี และเหมาะสมที่สุด ที่จะช่วยให้ทารกในครรภ์สามารถคลอดออกมาได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
ดูแพ็กเกจฝากครรภ์ และคลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android