กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อารมณ์แปรปรวน? บางทีคุณอาจจะกำลังตกไข่อยู่

ความต้องการทางเพศของผู้หญิง รอบประจำเดือน และการตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อารมณ์แปรปรวน? บางทีคุณอาจจะกำลังตกไข่อยู่

คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่า อารมณ์ทางเพศเพิ่มในบางช่วงเวลาของเดือน ถ้าคุณติดตามรอบประจำเดือนของคุณ คุณจะพบว่าอารมณ์ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในช่วงใกล้กับก่อนเวลาตกไข่ ฮอรโมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มความต้องการทางเพศ ธรรมชาติต้องการให้มนุษย์ตั้งครรภ์และทำให้อารมณ์เราเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ความต้องการทางเพศที่เพิ่มขี้นในช่วงเวลาที่ตกไข่เท่านั้น แต่ช่วงเวลานี้ความดึงดูดกับคู่ของคุณก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อไหร่ที่ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นก่อนภาวะไข่ตก?

คำตอบ ช่วงเวลาที่สามารถมีตั้งครรภ์มีระยะเวลาประมาณ 7 วันในหนึ่งรอบเดือน อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงท้ายๆ ของ 7 วันนี้โอกาสการตั้งครรภ์ก็จะลดลง เวลาที่เหมาะสมสำหรับการปฏิสนธิมากที่สุดคือช่วงเวลา 3 วันก่อนถึงวันตกไข่ ในวันที่ 3 ก่อนวันตกไข่ โอกาสประมาณ 8-23% ในขณะที่ 1 วันก่อนการตกไข้ โอกาสประมาณ 21-24%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวิจัยค้นพบว่า ช่วงเวลาที่มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นนั้นมีระยะเวลาทั้งหมด 6 วันของในรอบเดือนนั้นๆ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 3 ก่อนระดับฮอร์โมน LH ที่สูงขึ้น (ซึ่ง LH ฮอร์โมนจะเพิ่มสูงสุดในช่วงใกล้ก่อนการตกไข่) นั่นหมายความว่า ถ้าคุณทำตามความรู้สึกของอารมณ์ทางเพศและมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลา 6 วันนี้ โอกาสการตั้งครรภ์ก็จะมากขึ้น

งานวิจัยอีกฉบับทดลองให้ผู้หญิงติดตามการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 90 วัน และตรวจปัสสาวะในตอนเช้าทุกวัน เพื่อศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน LH ในแต่ละวัน จากการเก็บตัวอย่างดังกล่าวพบข้อมูลน่าสนใจว่า ผู้หญิงจะมีเพศสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นเมื่อระดับฮอร์โมน LH สูง และวันที่มีระดับฮอร์โมน LH สูงสุดจะเป็นวันที่ผู้หญิงส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งสอดคล้องกับวันที่เหมาะสมที่สุดที่จะมีการตั้งครรภ์

ทำไมความต้องการทางเพศเพิ่มมากขึ้นในช่วงของการตกไข่?

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ความต้องการนี้เพิ่มมากที่สุด? คำตอบคือ มีหลายปัจจัยแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานคือระดับของฮอร์โมนมีผลต่ออารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเพศที่ไม่คงที่อาจจะมีอาการซึมเศร้า ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากอาจจะทำให้อารมณ์แปรปรวนได้

การศึกษายังค้นพบอีกว่า ในช่วงเวลาของการเกิดตกไข่นั้น ผู้หญิงมักจะมีอารมณ์เหงาลดลงและอาจจะมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความสุขเพิ่มขึ้น ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะช่วยทำให้เพิ่มความรู้สึกความต้องการทางเพศ อีกหนึ่งสาเหตุ คือปัจจัยทางกายภาพที่จะช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่าระยะเวลาก่อนไข่ตกจะมีฮอร์โมน LH และเอสโตรเจน (estrogen) เพิ่มถึงจุดสูงสุด

ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกและของเหลวบริเวณนี้ (คือสารคัดหลั่งปกติจากทางช่องคลอด) การตรวจของเหลวจากปากมดลูกนี้จะช่วยบ่งบอกเวลาที่พร้อมเหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการตั้งครรภ์ การเพิ่มสารคัดหลั่งบริเวณปากมดลูกนั้นจะทำให้เพิ่มความรู้สึกว่าช่องคลอดเปียกชื้นมากขึ้น ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะเพิ่มความต้องการทางเพศมากขึ้น

ความรู้สึกต้องการทางเพศที่มากขึ้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเวลาที่ที่มีการตกไข่และเป็นเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อตั้งครรภ์

การตรวจสารคัดหลั่งที่ปากมดลูกหรือวัดอุณหภูมินั้นเป็นการตรวจที่เชื่อถือได้ในการวัดเวลาการตกไข่ ในขณะเดียวกันร่างกายถูกสั่งโปรแกรมให้มีความต้องการทางเพศในเวลาเดียวกัน คุณอาจจะติดตามอารมณ์ความรู้สึกอารมณ์ทางเพศ เพื่อที่จะมีเซ็กส์ในเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์

แต่ถึงกระนั้นก็ตามอารมณ์ทางเพศมักจะไม่ใช่อยู่ในช่วงเวลาการตกไข่เสมอไป ถ้าคุณมีอารมณ์เครียดหรือซึมเศร้า อารมณ์ทางเพศอาจจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันคุณอาจจะมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นได้จากเหตุผลอื่นๆ ได้นอกจากภาวะตกไข่ ความต้องการทางเพศที่สูงไม่ได้แสดงถึงเวลาตกไข่เสมอไป มันเป็นแค่อารมณ์ทางธรรมชาติที่คุณอาจจะลองสังเกตดู ดังนั้นถ้าครั้งหน้าคุณมีความรู้สึก มีอารมณ์ดังกล่าวลองคิดว่าอาจจะเป็นช่วงเวลาของการมีไข่ตกและใช้โอกาสนี้ในห้องนอนของคุณ!

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Increased Sex Drive When Ovulating Is Real. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/in-the-mood-you-may-be-ovulating-1960259)
Ovulation Symptoms: 7 Signs of Ovulation. TheBump.com. (https://www.thebump.com/a/ovulation-symptoms-signs-of-ovulation)
Trying to get pregnant. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/getting-pregnant/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม