คำศัพท์เพื่อเพิ่มเติมในคลังคำศัพท์เกี่ยวกับการนอนของคุณ

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คำศัพท์เพื่อเพิ่มเติมในคลังคำศัพท์เกี่ยวกับการนอนของคุณ

1. การนอนกัดฟัน (bruxism)

การนอนกัดฟันคือการกัดฟันหรือเคี้ยวฟันโดยไม่รู้ตัวและควบคุมไม่ได้ในขณะหลับ ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีความเครียด bruxism มาจากศัพท์ภาษากรีก “brychein” ซึ่งแปลว่าการกัดฟัน การนอนกัดฟันสามารถทำให้เกิดความเสียหายของฟัน อาการปวดกราม และปวดศีรษะได้

2. ภาวะผล็อยหลับ (cataplexy)

ภาวะผล็อยหลับคือการสูญเสียโทนของกล้ามเนื้อโดยฉับพลัน ซึ่งมักถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ที่รุนแรง เช่น การหัวเราะ ความประหลาดใจ หรือความโกรธ ซึ่งทำให้เกิดการอ่อนแรงและอาจเป็นอัมพาตชั่วคราว บางครั้งก็ทำให้ฟุบลงไป ภาวะผล็อยหลับเป็นหนึ่งในสี่อาการสำคัญของโรคลมหลับ (narcolepsy)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. นาฬิกาชีวภาพ (circadian)

จากความหมายในภาษาละติน “ประมาณหนึ่งวัน” นาฬิกาชีวภาพ (circadian) หมายถึง ปรากฏการณ์มากมาย (โดยเฉพาะจังหวะทางชีวภาพ-biological rhythms) ซึ่งมีความยาวประมาณ 24 ชั่วโมง และอาจใช้ในการอ้างอิงถึงโรคทางการนอนหลับที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm sleep disorders)

4. ปัสสาวะรดที่นอน (enuresis)

Enuresis หรือที่เป็นที่รู้จักกันมากกว่าในชื่อ bedwetting คือการปัสสาวะโดยที่ควบคุมไม่ได้ (มักเป็นในช่วงหลับลึก) ซึ่งเกิดขึ้นเลยวัยที่ควรจะควบคุมการปัสสาวะได้แล้ว มักพบในเด็ก

5. ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)

ฮิปโปแคมปัสอยู่ในส่วนลึกของสมองส่วนเทมโพรัล (temporal lobe ) โดยเป็นโครงสร้างรูปม้าน้ำ ที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญหลายอย่างของสมอง รวมถึงอารมณ์และการเรียนรู้ และยังมีความสำคัญต่อการประมวลความจำระหว่างการนอนหลับอีกด้วย

6. การหายใจแผ่วขณะหลับ (hypopnea)

ภาวะดังกล่าวหมายถึงการหายใจตื้น ๆ หรือการลดลงของการไหลของอากาศที่เกิดขึ้นขณะหลับ และเป็นอยู่อย่างน้อย 10 วินาที ภาวะนี้มีความรุนแรงน้อยกว่าการหยุดหายใจขณะหลับ (apnea) ซึ่งหมายถึงการที่ไม่มีอากาศไหลเวียนเลย ภาวะหายใจแผ่วอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปิดกั้นเป็นบางส่วนของทางเดินอากาศส่วนบนได้ด้วย

7. อาการเมาเวลา (jet lag)

อาการเมาเวลาเป็นภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้นจากการเดินทางข้ามเขตเวลาหลาย ๆ เขตอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเดินทางด้วยเครื่องบิน และทำให้ผู้ได้รับผลกระทบมีความรู้สึกเหนื่อยอ่อน นอนไม่หลับ คลื่นไส้ หรืออาการอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นาฬิกาชีวภาพไม่สอดคล้องกับเวลาในท้องถิ่น

8. ลิ้นใหญ่ (macroglossia)

ภาวะนี้หมายถึงการที่ลิ้นใหญ่ผิดปกติซึ่งอาจปิดกั้นทางเดินอากาศ และทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับได้ สำหรับเด็ก ภาวะนี้อาจมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) โรค glycogen storage disease หรือภาวะไทรอยด์ต่ำตั้งแต่กำเนิด (congenital hypothyroidism)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

9. การวูบหลับช่วงสั้น ๆ (microsleep)

ภาวะดังกล่าวคือการหลับไปเป็นช่วงสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นเพียงไม่ถึงวินาทีจนถึงสิบวินาที ซึ่งมักเกิดในคนง่วงนอนที่พยายามจะตื่นอยู่ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ควบคุมไม่ได้ และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์หรือเครื่องจักรได้

10. ภาวะนอนละเมอ (parasomnia)

ภาวะนอนละเมอเป็นความผิดปกติทางการนอน โดยมีพฤติกรรมช่วงหลับที่ผิดปกติ คำนี้มาจากภาษาละติน และหมายความถึง “แถว ๆ การหลับ” ภาวะนอนละเมอจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ซับซ้อน ไม่มีจุดประสงค์ชัดเจนและพฤติกรรมที่จูงใจ ซึ่งอาจรวมถึงการกลัวขณะหลับ (sleep terror) การเดินขณะหลับ การกินขณะหลับ การมีเพศสัมพันธ์ขณะหลับ โรค rapid eye movement behavior disorder หรือพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงใด ๆ ก็ตามขณะที่คนคนนั้นยังหลับอยู่

11. pavor nocturnus

ภาวะดังกล่าวคือการรบกวนทางอารมณ์เป็นช่วง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะหลับ และมักพบในเด็กเล็ก ช่วงเวลาดังกล่าวมักมีทั้งการกรีดร้อง การครวญ การหายใจเฮือก การตื่นกลัวและวิตกกังวล ซึ่งต่างจากฝันร้ายตรงที่ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดขึ้นในระยะ non-REM หรือช่วงที่มีคลื่นการนอนหลับเป็นแบบ slow wave ภาวะดังกล่าวจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มการละเมอ และผู้ที่มีภาวะนี้จะไม่มีสติรู้ตัวเต็มที่ และมักจะจำอะไรไม่ได้เกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อตื่นในตอนเช้า

12. คางหด (retrognathia)

คางหด คือ มีขากรรไกรเล็กหรือหด (ไม่ว่าจะเป็นขากรรไกรบน-maxilla หรือขากรรไกรล่าง-mandible) ซึ่งอาจเป็นปัจจัยต่อการเกิดการปิดกั้นของทางเดินหายใจและอาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ ซึ่งบางครั้งการผ่าตัดเพื่อทำให้กรามยื่นมาข้างหน้าก็อาจช่วยแก้ไขได้

13. โครงสร้างการนอนหลับ (sleep architecture)

โครงสร้างการนอนหลับ ประกอบไปด้วยวงจรของระยะการนอนหลับชนิด Non REM และ REM โดยสามารถสรุปได้ด้วยกราฟที่เรียกว่า hypnogram

14. somniloquy

ภาวะดังกล่าวคือพฤติกรรมการพูดในขณะหลับ

15. Zeitgeber

มาจากภาษาเยอรมันว่า “ผู้ให้เวลา” คำนี้หมายถึงปัจจัยภายนอกใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการตั้งระบบการควบคุมเวลาในสิ่งมีชีวิตใหม่ ในมนุษย์ วงจรนาฬิกาชีวิตดังกล่าวอยู่ที่ suprachiasmatic nucleus ใน hypothalamus ของสมอง ซึ่งได้รับผลกระทบจาก zeitgeber  โดยจะมีรูปแบบเป็นช่วง สิ่งกระตุ้นดังกล่าวที่รุนแรงที่สุดคือรูปแบบของแสงและความมืดตามธรรมชาติ


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Words to Expand Your Sleep Vocabulary. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/words-to-expand-your-sleep-vocabulary-3014839)
Humans can learn new foreign words while asleep. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324370)
Glossary of Sleep Related Terms. WebMD. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-disorders-glossary#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป