กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

PTSD: Post-Traumatic Stress Disorder (ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะ PTSD เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่เกิดจากการประสบเหตุการณ์ที่รุนแรง และกระทบกระเทือนทางจิตใจมาก
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค PTSD อาจมาจากปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ ไฟ้ไหม้ พายุ หรืออาจเกิดจากปัจจัยจากมนุษย์ เช่น การทำกระทำชำเรารุนแรงตั้งแต่แรก การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • อาการของผู้ป่วยโรค PTSD จะมีหลายระดับ และจะมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก สายตาสั้น อาการของโรคนี้ที่หนักที่สุด คือ ไม่สามารถนอนหลับสนิทได้อีก รู้สึกโกรธ หรือฉุนเฉียวง่าย มีอาการหวาดระแวงเกินกว่าปกติ
  • วิธีรักษาโรค PTSD คือ การปรับสภาพจิตใจผู้ป่วยให้รู้สึกปลอดภัย มีความเชื่อมั่น และเห็นคุณค่าในตนเองได้
  • หากคุณมีเหตุการณ์สะเทือนใจในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจมากจนถึงปัจจุบัน หรือมีภาวะเครียดจากเหตุการณ์ในอดีตที่ลืมไม่ได้ ให้ลองไปพบจิตแพทย์ดู (ดูแพ็กเกจพบจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาภาวะเครียดได้ที่นี่)

อุบัติเหตุ หรือประสบการณ์รุนแรงเลวร้ายที่หลายๆ คนเคยเผชิญในวัยเด็ก สามารถทำให้เกิดภาวะความผิดปกติทางจิตใจได้ ซึ่งเราสามารถเรียกอาการนี้ได้ว่า "ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (Posttraumatic Stress Disorder: PTSD)" หรือสามารถเรียกได้สั้นๆ ว่า "ภาวะ PTSD"

รู้จักความหมายของภาวะ PTSD

ภาวะ PTSD เป็นหนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดจากผู้ป่วยประสบเหตุการณ์ที่รุนแรง และกระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจมาก จนทำให้เกิดความหวาดกลัวต่ออาการบาดเจ็บ ความตาย ภัยธรรมชาติ สถานที่ วัตถุ สัตว์บางชนิด หรือบุคคลที่เคยพบเจอมาก่อน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยภาวะ PTSD จะไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในภาวะปกติได้เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่ตนเองหวาดกลัว และยังส่งผลให้เกิดอาการวิตกกังวลอย่างหนักด้วย 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ PTSD

เหตุการณ์ หรือสิ่งสะเทือนจิตใจที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะผิดปกตินี้ได้ จะต้องเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงมากพอจนผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัว หรือหายหวาดกลัวจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถช่วยเหลือหรือแก้ไขเหตุการณ์นั้นได้อีกด้วย 

โดยปัจจัยเสี่ยงของโรค PTSD จะมีดังต่อไปนี้

  • ลักษณะบุคลิกภาพ ผู้ที่มักมองโลกในแง่ร้าย ถูกปลูกฝังให้หวาดกลัวต่อบางสิ่ง หรือคนที่อยู่รอบตัวมาตั้งแต่เด็ก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการความเครียดให้กับตนเอง จนไม่สามารถควบคุม หรือรับมือสถานการณ์บางอย่างได้ มีความเสี่ยงที่เกิดภาวะ PTSD ได้จากความผิดพลาด หรือความเข้าใจผิดของตนเอง
  • สุขภาพจิต ผู้ป่วยโรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดภาวะ PTSD ได้หากต้องเผชิญกับสิ่งที่หวาดกลัว หรือที่เคยสร้างความสะเทือนใจมาก่อน
  • ประสบการณ์ชีวิต การประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญในวัยเด็ก หรือที่รุนแรงมากๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะ PTSD ได้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
    • ภัยจากธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์ น้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว 
    • ภัยที่เกิดจากมนุษย์ เช่น สงคราม อุบัติเหตุหมู่ การปล้น การถูกต่อว่าด้วยคำพูดรุนแรงซ้ำๆ การถูกทารุณกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การฆาตกรรม 

ระยะของภาวะ PTSD

ผู้ที่ประสบกับภาวะ PTSD มีอาการเป็น 2 ระยะดังนี้

1. ระยะความเครียดแบบเฉียบพลัน (Acute Stress Disorder: ASD) 

ระยะความเครียดแบบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์แรก หรือประมาณ 1 เดือน หลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ โดยผู้ป่วยจะมีอาการตอบสนองครั้งแรกคือ กลัว สิ้นหวัง หรือสับสนไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน 

ระยะความเครียดแบบเฉียบพลันจะยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ PTSD แบบเต็มตัว หากผู้ป่วยรีบหาทางรักษา และรับการช่วยเหลือทางจิตใจทันเวลา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หากผู้ป่วยไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือไม่สามารถปรับตัวยอมรับกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นได้ ก็มีแนวโน้มที่ระยะความเครียดนี้จะพัฒนาไปสู่ภาวะ PTSD ได้

2. ระยะความผิดปกติทางจิตใจ (PTSD)  

เป็นระยะที่ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะ PTSD แล้ว โดยผู้ป่วยจะรู้สึกโศกเศร้า มีความบกพร่องในการเข้าสังคม มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะนี้จะแสดงอาการออกมาภายใน 6 เดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรง หรืออาจเกิดขึ้นช้ากว่านั้นก็ได้ตามแต่สถานการณ์ที่ผู้ป่วยเผชิญ

หากอาการของภาวะ PTSD มีระยะเวลามากกว่า 3 เดือน แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรค PTSD แบบเรื้อรัง ซึ่งอาการของภาวะ PTSD ยังแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มอาการ ดังนี้

1. รู้สึกว่าได้กลับไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีกครั้ง (Re-experiencing) 

เป็นอาการของผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญบางอย่าง และไม่สามารถหลุดจากความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้ โดยมีการหวนกลับมาของเหตุการณ์ทางมโนภาพ ความคิด และการรับรู้ ฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้นบ่อยๆ 

ผู้ป่วยมีความรู้สึกว่า เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอีก หรือเห็นภาพลวงตา ภาพหลอน และมีความทุกข์ทรมานจิตใจอย่างรุนแรง เมื่อพบสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก ร่วมกับมีอาการทางกาย เช่น เหงื่อออก และหายใจสั้น เมื่อนึกถึงภาพเหตุการณ์นั้น

2. Avoidance/numbing 

ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงความคิด ความรู้สึก หรือการพูดถึงเหตุการณ์นั้น และพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรม สถานที่ หรือบุคคลที่กระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น จนอาจถึงขั้นไม่สามารถนึกถึงช่วงสำคัญของเหตุการณ์นั้น รู้สึกเฉยชาไม่สนใจสิ่งรอบข้าง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ ความรู้สึกสนใจของผู้ป่วยในการเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญต่างๆ ลดลง มีความรู้สึกแยกตัว หรือห่างเหินจากผู้อื่น ไม่แสดงออกถึงอารมณ์ หรือความรู้สึก ไม่สามารถรู้สึกถึงความรัก และอาจรู้สึกว่า ตนไม่มีอนาคต จนไม่คาดหวังในอาชีพการงาน การแต่งงาน การมีครอบครัว หรือการมีอายุยืนยาว

3. Hyperarousal 

มีภาวะตื่นตัวสูงผิดปกติ เช่น มีปัญหาการนอนหลับหรือไม่สามารถนอนหลับได้นาน มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือโกรธง่าย ไม่มีสมาธิ มีอาการระแวดระวัง มีอาการตกใจกลัวเกินความเป็นจริง  

อาการ PTSD ในเด็ก

อาการ PTSD ในวันรุ่นจะมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่ แต่หากเป็นในผู้ป่วยเด็ก อาจสังเกตอาการได้ดังนี้

  • ฉี่รดที่นอน
  • อยู่ดีๆ ก็ไม่พูด หรือพูดน้อย เก็บตัว
  • ขี้อ้อน ติดคนเลี้ยงดูมากกว่าปกติ
  • ก่อกวน ทำลายข้าวของ ไม่เคารพเชื่อฟัง

ผลกระทบจาก PTSD

อาการ PTSD อาจส่งผลให้ผู้ป่วยละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง กระทบต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง และการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ หากมีอาการ PTSD เรื้อรัง ก็อาจส่งผลให้เกิดโรค และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน ติดแอลกอฮอล์ โรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย 

การรักษา PTSD

เป้าหมายของการรักษา PTSD คือ มุ่งเน้นให้ความคิดทางลบของผู้ป่วยลดน้อยลง และเพิ่มความคิดความรู้สึกทางบวกของผู้ป่วยให้มากขึ้น เช่น  

  • ให้การสนับสนุนที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้น ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การรักษาทางการแพทย์ และการดูแลสุขภาพ 
  • ความช่วยเหลือจากครอบครัวในการกิจกรรมที่ทำให้มีความสุขในชีวิตประจำวัน 
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ PTSD และแนะนำวิธีการเผชิญหน้ากับสิ่งที่หวาดกลัว
  • สร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มแรงจูงใจในการรักษา

หากผู้ป่วยมีความมั่นคงภายในจิตใจมากขึ้น สามารถจัดการอารมณ์ แลเห็นคุณค่าของตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยนึกถึงความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิต เช่น ความความภูมิใจ สิ่งที่เคยมีความสุข ความสัมพันธ์กับคนอื่น และสามารถกลับไปปรับตัวดำเนินชีวิตตามปกติได้อีกครั้ง

ดูแพ็กเกจพบจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาภาวะเครียด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Post-Traumatic Stress Disorder. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/posttraumaticstressdisorder.html)
Posttraumatic Stress Disorder (PTSD): Symptoms, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/post-traumatic-stress-disorder#1)
PTSD: What you need to know. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/156285)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ไข้เรื้อรังเกิดจากอะไรค่ะเป็นมาตั้งแต่วันที่11/1/60จนถึงปัจจุบันเป็นๆหายๆชอบเป็นกลางคืนค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คนที่เป็นวัณโรค และ มีเชื้อ HIV ในคนๆเดียวกัน จะสามารถอยู่ได้นานแค่ไหน และควรดูแลตัวเองยังไง รวมถึงควรใช้ชีวิตกับครอบครัวและสังคมอย่างไร จึงจะปลอดภัยที่สุ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การดูแลตนเองผู้ป่วยมะเร็ง หลังการให้เคมีบำบัด ครบครอส แล้วต้องทำอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เหารักษาอย่างไรให้หายขาด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)