January 23, 2017 21:32
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
-รักษาสุขอนามัยพื้นฐานอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นช่วงติดเชื้อได้ง่าย
-ไม่กินยาสมุนไพร หรือยาต่างๆ รวมทั้งใช้การแพทย์สนับสนุน และการ แพทย์ทางเลือก โดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อน
-พักผ่อนให้เต็มที่ ถ้าอ่อนเพลีย ควรลาหยุดงาน แต่ถ้าไม่อ่อนเพลีย ก็สามารถทำงานได้ แต่ควรเป็นงานเบาๆ ไม่ใช้แรงงาน และสมองมาก และสามารถพักในช่วงกลางวันได้ ควรปรึกษาหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานเพื่อการปรับตัว
-ทำงานบ้านได้ตามกำลัง
-งด/เลิก บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-จำกัดเครื่องดื่มกาเฟอีนดังได้กล่าวแล้ว
-มีเพศสัมพันธ์ได้ตามกำลัง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนในเรื่องนี้ โดยเฉพาะการคุมกำเนิดในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์
-หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดเพราะจะติดเชื้อได้ง่าย
-รู้จักดูแลตนเองในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา)
-ยังคงต้อง ดูแล รักษา ควบคุมโรคร่วมอื่นๆอย่างต่อเนื่องร่วมไปด้วยเสมอกับการรักษาโรคมะเร็ง
-รักษาสุขภาพจิต ให้กำลังใจตนเอง และคนรอบข้าง มองโลกในด้านบวกเสมอ พยายามไม่ให้บ้านมีลักษณะเป็นโรงพยาบาล ระลึกไว้เสมอว่า ความสุขของเรา คือความสุขของครอบครัว และความทุกข์ของเราก็คือความทุกข์ของครอบครัว รู้จักขอบคุณทุกคนที่ดูแลเรา ไม่คิดว่าเขาดูแลเราเพราะเป็นหน้าที่ หรือดูแลเราน้อยไป เพราะโดยทั่วไปในสังคมปัจจุบัน เมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ครอบครัวมักมีความทุกข์ และมีปัญหาเท่าๆกับผู้ป่วย หรือมีมากกว่า
-พบแพทย์ตามนัดเสมอ
-พบแพทย์ก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือเกิดความผิดปกติผิดไปจากเดิม หรือเมื่อกังวลในอาการ
-พบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อ มีไข้สูง
ท้องเสีย โดยเฉพาะเมื่อร่วมกับมีไข้
คลื่นไส้ อาเจียนมาก หรือจนกิน ดื่ม ไม่ได้ หรือได้น้อย
ไอมากจนส่งผลกระทบต่อการนอน
หายใจเหนื่อย หอบ
มีเลือดกำเดา อาเจียน ไอ ถ่ายอุจจาระ และ/หรือปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีเลือดออกตามเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ
ท่อ หรือสายต่างๆที่มีอยู่หลุด เช่น ท่อให้อาหาร หรือท่อหายใจ
ปวดศีรษะรุนแรง
ชัก
แขน ขาอ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ อุจจาระ ปัสสาวะไม่ออก ไม่มีปัสสาวะภายใน 6 ชั่วโมง
สับสน ซึม และโคม่า
ที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตามแพทย์ และพยาบาลผู้ให้การดูแลรักษาแนะนำให้ถูกต้องเคร่งครัด เมื่อไม่เข้าใจ สงสัย หรือกังวล ควรสอบถามแพทย์ พยาบาลผู้ให้การรักษาดูแล และเมื่อมีปัญหาในการรักษา รวมทั้งปัญหาในครอบครัวและการงาน ควรต้องปรึกษาแพทย์ พยาบาลด้วย เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบถึงการรักษา การดูแลอื่นๆ นอกจากนั้นได้ แก่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การดูแลตนเองผู้ป่วยมะเร็ง หลังการให้เคมีบำบัด ครบครอส แล้วต้องทำอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)