ในปี พ.ศ. 2533 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของ Palliative Care ว่าเป็น “วิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หายโดยให้การป้องกัน และบรรเทาอาการตลอดจนความทุกข์ทรมานด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นการดูแลเป็นแบบองค์รวม ครอบคลุมทุกมิติ ของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย มีเป้าหมายหลักของการดูแลเพื่อลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบหรือ ตายดี”
ปัจจุบันทางองค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความใหม่ของ Palliative Care ไว้ว่าเป็น “วิธีการดูแลที่เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ที่ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต โดยให้การป้องกันและบรรเทา ความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยการเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ใน ระยะแรกๆของโรค รวมทั้งทำการประเมินปัญหาสุขภาพ ทั้งทางด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียดครบถ้วน”
เพื่อนเป็น หอบ รักษาไม่หาย ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ต้องการการดูแลแบบ Palliative Care หรือไม่?
คำตอบคือ ใช่ค่ะแต่อาจจะไม่ได้ ต้องการให้หมอดูแลมากในช่วงที่ไม่มีอาการ เพราะโรคหอบส่วนใหญ่จะมีอาการเป็นพักๆ ไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงกับชีวิตค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แล้วอย่างคุณยายหนูที่เป็น มะเร็งปอด ขั้นสุดท้ายไม่มีวิธีรักษาแล้ว ก็ถือว่าอยู่ ในกลุ่มที่ต้องการ Palliative Care เหมือนกันใช่ไหมคะ?
ถูกต้องแล้วค่ะ! แบบคุณยายยิ่งต้องการมากๆ เพราะ Palliative Care มุ่งเน้นให้ผู้ป่วย สามารถอยู่กับความเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุขที่สุด และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า จนวาระสุดท้าย ค่ะ
บางที่เค้าจึงแปล Palliative Care ว่า "การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย" หรือ "การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง" หรืออีกอย่างคือ "การดูแลผู้ป่วยที่หมดหวัง"
ชื่อเหล่านี้ฟังดูเศร้่า เข้าใจยาก และอาจสื่อไปในทางไม่ดี โรงพยาบาลบางที่ เลยตั้งชื่อกันเองใหม่ให้ดูไม่น่ากลัว เช่น ร.พ.ศิริราช ชื่อ ศูนย์บริรักษ์, ร.พ.สงขลานครินทร์ ใช้ชื่อ ชีวันตาภิบาล, ร.พ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ใช้ว่า คลีนิคฮอมฮัก (แปลว่า รวมรัก) ค่ะ แต่ไม่ว่าจะเรียกยังไง..ก็หมายถึงการดูแลแบบ Palliative Care นั้นเองค่ะ