กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เมื่อไหร่ควรเริ่มการดูแลแบบ Palliative Care

ไม่ต้องรอให้หมดหวัง ค่อยเริ่มดูแลแบบ Palliative Care
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อไหร่ควรเริ่มการดูแลแบบ Palliative Care

ในกรณีของคุณเอ็นดูจะเห็นได้ว่าในช่วงแรกผู้ป่วยยังได้รับการรักษาแบบการผ่าตัดและฉายแสง การดูแลแบบ Palliative Care ยังไม่เด่นชัดมากนัก โดยอาจเป็นการดูแลในลักษณะการให้กำลังใจกับคนในครอบครัวมากกว่า 

ต่อมาเมื่อ 9 ปีก่อนที่โรคมะเร็งกระจาย มาที่ปอดจะเห็นว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งแบบผ่าตัดและ Palliative Care โดยการให้ยามอร์ฟีนเพื่อบรรเทาอาการหอบเหนื่อยไปพร้อมๆ กัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต่อมาในปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น และไม่สามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายแสงได้ จึงให้การดูแลแบบ Palliative Care เป็นหลัก โดยการให้ยามอร์ฟีนเพื่อบรรเทา อาการหอบเหนื่อย และเริ่มมีการพูดคุยเพื่อตั้งเป้าหมายการรักษา เช่นเรื่อง การปั๊มหัวใจ การใส่ท่อให้อาหาร สถานที่ที่ผู้ป่วยต้องการ เสียชีวิต สิ่งที่ยังคั่งค้าง (Unfinished business) และผู้ตัดสินใจแทนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ (Power of attorney: POA)

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามบุคลากรทางการแพทย์ถึงแนวคิดในการรักษาแบบ Palliative Care ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการดูแลแบบ Palliative Care ควรเริ่มต้นขึ้นเมื่อไม่มีทางเลือกการรักษาใดๆ อีก เช่นไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสง หรือการให้เคมีบำบัดแล้วเท่านั้น แพทย์บางท่านปฏิเสธการให้การดูแลแบบ Palliative care โดยบอกว่า “ยังสู้อยู่” 

ความหมายของ Palliative care

ทั้งที่ความจริงแล้วการดูแล แบบ Palliative Care ไม่ได้แปลว่า “เราหยุดสู้เพื่อผู้ป่วย” หากแต่เป็นการเปลี่ยนเป้าหมายของการดูแล จากที่หวังว่าต้องรักษาให้หายขาดจากโรค เป็นการดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อบรรเทาความทุกข์และเพิ่มคุณภาพชีวิต 

เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคว่า เป็นโรคที่รักษาไม่หาย คู่ขนานกันไปกับการรักษาแบบผ่าตัด ฉายแสง หรือการให้เคมีบำบัด การที่บุคลากรทุกสาขาวิชาชีพมีความ รู้และทัศนคติที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบ Palliative Care ตั้งแต่เริ่มต้นการวินิจฉัยโรค โดยเริ่มจากน้อยไปมาก 

นอกจากนี้การดูแลแบบ Palliative Care ควรมีลักษณะ “เชิงรุก” คือ การสามารถปรับเปลี่ยนแผนการดูแลได้ตามการเปลี่ยนแปลงปัญหา สุขภาพของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาของการดำเนินโรค ดังรูปข้างล่างนี้ 

แผนภาพแสดงระยะเวลาการรักษาช่วงต่างๆ

หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตการดแลยังคงมีได้ต่อเนื่อง โดยทีมควรให้การดูแลความโศกเศร้าของครอบครัว และผู้ดูแลที่เกิดจากการสูญเสีย ความเศร้าโศก (Grief) เป็นปฏิกิริยาปกติที่เกิดได้จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก จึงไม่อาจสามารถกำหนดเป็นระยะเวลได้ชัดเจนว่าความเศร้าโศกควรกินเวลานานเท่าใด 

บางที่อาจกำหนดให้ไม่เกิน 6 เดือน แต่ในความเป็นจริงบางคนอาจยังมีอารมณ์โศกเศร้าอยู่ในช่วงที่นึกถึงแม้ระยะเวลาจะผ่านไปหลายปีโดยไม่ถือเป็นความผิดปกติ เราจะเรียกว่าเป็นความเศร้าโศกแบบผิดปกติ (Abnormal grief)  โดยดูว่าผู้ป่วยมีการสูญเสียหน้าที่ในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวันและการทำงานหรือไม่ เช่น หลังจากผ่านระยะเวลาการสูญเสียไป ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีแล้ว ผู้สูญเสียสามารถกลับมาดำเนินชีวิต เป็นปกติได้หรือไม่


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
As cancer death approaches, palliative care may improve quality of life. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/as-cancer-death-approaches-palliative-care-may-improve-quality-of-life-201207115017)
What is palliative care?. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000536.htm)
What end of life care involves. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/end-of-life-care/what-it-involves-and-when-it-starts/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) คืออะไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) คืออะไร

รู้จัก Pallitative Care บางทีเรียกกันว่า การดูแลผู้ป่วยที่หมดหวัง

อ่านเพิ่ม