ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?

การรู้สึกว่าง่วงนอนอาจแสดงถึงความผิดปกติของการนอนหลับได้
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?

อาจเป็นเรื่องแปลกที่จะถามว่าอาการง่วงนอนคืออะไร? อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ง่วง ความง่วงนอนแสดงถึงความผิดปกติของการนอนหลับบางโรค เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคลมหลับหรือไม่ อาการง่วงนอนแตกต่างจากอาการอ่อนเพลียหรืออ่อนแรงอย่างไร? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับซึ่งรวมถึงความหมายและสาเหตุที่ทำให้เกิด และทำไมการนอนหลับที่มากกว่าปกติอาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคความผิดปกติของการนอนหลับได้

คำจำกัดความของอาการง่วงนอน

อาการง่วงนอน คือ ความต้องการที่จะนอนหลับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนใหญ่อาการนี้มักเป็นหากขึ้นเมื่อเราตื่นอยู่นานขึ้น การยกตัวอย่างอาจจะช่วยให้คุณเห็นภาพมากขึ้น เช่นลองนึกภาพว่าคุณนอนหลับไม่เพียงพอติดต่อกันหลายๆ วัน และคุณเพิ่งทานอาหารกลางวันเป็นไก่งวง มันบดกับน้ำเกรวี่ และแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ขณะนี้เป็นเวลาบ่ายสองโมง และคุณกำลังนั่งอยู่ในเก้าอี้นุ่มแสนสบายในห้องที่ค่อนข้างอุ่น กำลังอ่านหนังสือที่น่าเบื่อหรือดูรายการโทรทัศน์ที่ไม่น่าสนใจ หนังตาของคุณเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ความรู้สึกหนักๆ เริ่มเข้าครอบงำคุณ คุณกำลังจะหลับ คุณง่วงนอน

สาเหตุของความง่วงนอน

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ง่วงนอน? อาการง่วงนอนเกี่ยวกับกับการสะสมสารเคมีภายในสมองที่เรียกว่า adenosine สารนี้เป็นสารสื่อประสาทที่อาจเกิดการสะสมขึ้นระหว่างภายในเซลล์ประสาท ยิ่งมีระดับของ adenosine ในระบบ reticular activating system ในก้านสมองมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับระดับความง่วงนอนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

ที่น่าสนใจก็คือคาเฟอีนออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของ adenosine ภายในสมองทำให้กระตุ้นการตื่นนอน ในขณะที่แอลกอฮอล์จะเพิ่มปริมาณของ adenosine และทำให้ง่วงนอนมากขึ้น

ความง่วงนอนอาจเกิดได้ตามปกติหรือเกิดจากโรคความผิดปกติของการนอนหลับก็ได้ คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกง่วงนอนทุก ๆ วันโดยเฉพาะช่วงก่อนเข้านอน และระดับความง่วงนอนนั้นก็จะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่คุณยังคงตื่นอยู่

คุณอาจจะรู้สึกง่วงนอนได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่คุณควรจะเข้านอนไปแล้ว เช่น ตอนกลางคืน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของ Circadian rhythm และอาการง่วงนอนอาจรุนแรงขึ้นในช่วงที่มีการอดนอน หากคุณมีนอนหลับได้ไม่เต็มที่ คุณก็อาจจะรู้สึกง่วงนอนมากขึ้นในตอนกลางวัน

อาการง่วงนอนที่มากกว่าปกติแม้จะได้นอนหลับอย่าเพียงพออาจแสดงถึงโรคความผิดปกติของการนอนหลับ โดยการนอนหลับในตอนกลางวันที่มากกว่าปกติเมื่อใช้การวัด Epworth sleepiness scale นั้นมักพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) หรือโรคลมหลับ (Narcolepsy) ซึ่งแต่ละโรคนั้นจะทำให้เกิดการนอนหลับเป็นช่วง ๆ ทำให้การนอนหลับสะสมไว้ไม่เพียงพอ บางคนอาจเกิดอาการง่วงนอนโดยไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดหรือที่เรียกว่า Idiopathic hypersomnia ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนั้นอาการง่วงนอนอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสาร tryptophan ในปริมาณมาก (เช่น ไก่งวง) ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดเช่นยานอนหลับได้ อาการง่วงนอนหลังจากรับประทานอาหารเรียกว่า post-prandial sleepiness

อาการอ่อนเพลียแตกต่างการอาการง่วงนอนอย่างไร

การแยกความแตกต่างระหว่าง 2 ภาวะนี้เป็นเรื่องสำคัญ

อาการอ่อนเพลียอาจแสดงถึงความผิดปกติทางกายหลายอย่างเช่นซีด ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ และโรคซึมเศร้า และในผู้ที่มีความผิดปกติในการนอนหลับอาจจะพบว่ามีอาการอ่อนเพลียที่เกิดจากการนอนไม่หลับได้ ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียมักรู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อให้พวกเขานอน พวกเขามักจะนอนไม่หลับ

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับที่มากเกินไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่ามีความผิดปกติทางการนอนหลับใดๆ หรือไม่ที่ทำให้คุณมีอาการดังกล่าว


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม

คำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมง่ายๆ ทำให้สามารถเพิ่มการขยับร่างกายได้มากขึ้น

อ่านเพิ่ม