น้ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำ

น้ำ

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คุณควรทราบเกี่ยวกับน้ำ รู้หรือไม่ว่าน้ำดีต่อร่างกายคุณอย่างไรและโรคจากการขาดน้ำ แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป คำแนะนำส่วนตัว รวมทั้งจะคำนวณได้อย่างไรว่าวันหนึ่งคุณต้องการน้ำเท่าใดและข้อควรระวังพิเศษในเรื่องน้ำ

ข้อเท็จจริง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ น้ำเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดของเรา 1 ใน 2 ถึง 4 ใน 5 ส่วนของน้ำหนักตัวของเราคือน้ำ
  • มนุษย์สามารถอยู่ได้เป็นสัปดาห์หากปราศจากอาหาร แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่วันหากปราศจากน้ำ
  • น้ำเป็นตัวทำลายอยู่ได้เป็นสัปดาห์หากปราศจากอาหาร แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่วันหากปราศจากน้ำ
  • น้ำเป็นตัวทำละลายหลักสำหรับอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อย
  • น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
  • มีส่วนสำคัญในการขับถ่ายของเสีย
  • ไม่มีปริมาณที่เฉพาะเจาจงให้ดื่มในแต่ละวัน เนื่องจากการสูญเสียน้ำของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามภูมิอากาศ สถานการณ์ และสภาพร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้ว การดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ถือว่าดีต่อสุขภาพ ผมแนะนำน้ำที่ผ่านการกรองแล้ววันละ 8-10 แก้ว หญิงให้นมบุตรจะต้องการน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องสูญเสียน้ำไปในน้ำนม
  • คนสูงอายุจะไม่ค่อยมีความรู้สึกกระหายน้ำ แม้ในยามที่ร่างกายต้องการ
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้มอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณต้องการน้ำมากขึ้น

น้ำดีต่อร่างกายคุณอย่างไร

  • ช่วยให้ร่างกายทุกส่วนทำงานได้เป็นปกติ
  • ช่วยในการลดน้ำหนัก โดยลดความอยากอาหารก่อนมื้ออาหาร
  • ป้องกันท้องผูก
  • ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต

โรคจากการขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ หรือดีไฮเดรชัน (Dehydration)

แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด

น้ำดื่ม น้ำผลไม้ ผลไม้ ผัก

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ของเหลวส่วนใหญ่สามารถทดแทนความต้องการน้ำในร่างกายเราได้

อาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป

ไม่พบว่ามีพิษต่อร่างกาย แต่การดื่มน้ำหนึ่งแกลลอนครึ่ง (ประมาณ 16-24 แก้ว) ในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง อาจเป็นอันตรายในผู้ใหญ่ และอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้

คำแนะนำส่วนตัว

  • ผมแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าสะอาดวันละ 8-10 แก้ว พยายามดื่มในช่วงครึ่งชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร โดยเฉพาะผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก หากคุณมีไข้พยายามดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ และเพื่อช่วยในการขับของเสีย ออกจากระบบต่างๆ ในร่างกายคุณ
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น หากคุณสังเกตุว่าปัสสาวะสีเข้มกว่าปกติ
  • ดื่มน้ำตามมากๆ เมื่อกินยาที่ระคายเคืองกระเพาะได้
  • กาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักทำให้ร่างกายขาดน้ำ และไม่ควรนับรวมเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นปริมาณน้ำที่คุณดื่มในแต่ละวัน
  • นมเป็นอาหาร และไม่ควรถือว่าการดื่มนมทดแทนการดื่มน้ำเปล่าได้
  • อย่าดื่มน้ำจากก๊อกน้ำร้อน เพราะน้ำร้อนละลายสารตะกั่วจากท่อออกมาได้มากกว่าน้ำเย็น และในยามเช้า ควรปล่อยให้น้ำไหลทิ้งสักสองสามนาที ก่อนที่จะใช้ เพื่อให้ตะกั่วที่สะสมอยู่ทั้งคืนได้ไหลทิ้งก่อน
  • หากคุณอาศัยอยู่ในบริเวณที่ใช้น้ำกระด้าง คุณอาจได้รับแคลเซียมและแมกนีเซียมมากกว่าที่คุณคิด
  • เครื่องกรองน้ำที่ราคาย่อมเยาที่สุดคือเหยือกแบบมีที่กรองติดอยู่ สิ่งที่คุณต้องทำคือ เทน้ำผ่านที่กรอง แน่นอนว่าระบบกรองที่ซับซ้อนกว่าซึ่งกำจัดโลหะหนักและสารก่อมะเร็งได้มากกว่าย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่อย่างน้อยการกรองน้ำด้วยเหยือกกรองธรรมดาก็ประหยัดและดีกว่าไม่กรองเสียเลย

จะคำนวณได้อย่างไรว่าวันหนึ่งคุณต้องการน้ำเท่าใด

  • เพื่อที่จะคำนวณว่าในหนึ่งวันร่างกายของคุณต้องการน้ำดื่มกี่ออนซ์ นำน้ำหนักตัวของคุณหารด้วยสอง ตัวอย่างเช่น
  • ผู้ชายหนัก 185 ปอนด์ (ประมาณ 84 กก.) หาร 2 = 92 ออนซ์ หรือ 11 แก้วต่อวัน (แก้วขนาด 8 ออนซ์)
  • ผู้หญิงหนัก 145 ปอนด์ (ประมาณ 65 กก.) หาร 2 = 72 ออนซ์ หรือ 9 แก้วต่อวัน (แก้วขนาด 8 ออนซ์)
  • (ควรรวมน้ำที่ได้จากการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ ด้วย)

ข้อควรระวังพิเศษในเรื่องน้ำ

  • อย่านำขวดน้ำพลาสติกที่มีน้ำอยู่ในขวดไปแช่แข็ง เนื่องจากอาจทำให้สารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ออกมาจากพลาสติกมากขึ้น
  • หากท่อน้ำในบ้านของคุณเป็นท่อตะกั่ว คุณควรให้หน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพในพื้นที่ของคุณวิเคราะห์สภาพของน้ำให้ น้ำที่มีค่า pH (ความเป็นกรดด่าง) ที่ไม่ถูกต้อง อาจละลายสารตะกั่วออกมาจากท่อน้ำ ส่งผลให้เด็กๆ มีโอกาสเสี่ยงต่อพิษจากตะกั่วได้ (แม้แต่ในบ้านที่ใช้ท่อทองแดงก็ยังอาจมีข้อต่อของท่อที่เป็นตะกั่ว ซึ่งอาจส่งผลถึงน้ำที่ออกมาจากก๊อกได้)
  • หากในน้ำที่คุณใช้มีสารคลอรีนหรือสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้าง สารเคมีเหล่านี้อาจเข้าสู่ร่างกายโดยซึมผ่านผิวหนัง หรือกลายเป็นไอระเหยให้คุณสูดดม การอบน้ำเหล่านี้เพียงสิบห้านาที อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายเทียบเท่ากับการดื่มน้ำที่มีสารเคมีเจือปนถึง 8 แก้ว!
  • ระบบกรองน้ำที่บ้านส่วนใหญ่ต่างมีข้อเสีย และบางกรณีก็อาจถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณได้ ตัวอย่างเช่น
  • – เครื่องกรองแบบใช้ถ่านคาร์บอน อาจมีสารสกปรกเปรอะเปื้อนได้ง่าย
  • – เครื่องกรองระบบรีเวิร์สออสโมซิส (R.O.) ซึ่งกำจัดสารเคมีเจือปนได้ดี แต่ไม่สามารถกำจัดสิ่งเจือปนที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic contaminant) (เช่น ตะกั่ว ปรอท สังกะสี ก๊าซไนโตรเจน ไซยาไนด์ เป็นต้น) ได้เสมอไป และควรได้รับการตรวจสอบสม่ำเสมอ เพราะไส้กรองอาจมีเชื้อแบคทีเรียอุดตันอยู่มากมาย โดยน้ำยังไหลเป็นปกติทุกอย่าง
  • – สำหรับเครื่องกลั่นน้ำ โดยทั่วไปแล้วจะกำจัดสิ่งเจือปนที่เป็นสารอนินทรีย์ได้ดีกว่าสารอินทรีย์ (Organic contaminant) (เช่น แบคทีเรีย กลุ่มโคลิฟอร์ม) และควรทำความสะอาดสิ่งตกค้างตามท่อสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้น น้ำที่กลั่นออกมาอาจมีคุณภาพแย่ยิ่งกว่าก่อนกลั่นได้! หากคุณมีเครื่องกรองน้ำเองที่บ้าน อย่าลืมทำความสะอาดและตรวจสอบสม่ำเสมอ และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากยี่ห้อที่เชื่อถือได้

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
15 benefits of drinking water and other water facts. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/290814)
Why Drink More Water? See 6 Health Benefits of Water. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/features/6-reasons-to-drink-water#1)
16 Reasons Why Water Is Important to Human Health. Healthline. (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/why-is-water-important)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป