รู้จักกับ "เกลือ" ขั้นตอนการผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้จักกับ "เกลือ" ขั้นตอนการผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์

เกลือ คือหนึ่งในส่วนประกอบที่จำเป็นของชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก เป็นทั้งเครื่องปรุงรสชาติในอาหาร การนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิว หรือนำไปประยุกต์ใช้ในอีกหลากหลายด้าน เกลือ ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นโดยตรง แต่มีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ นำเข้าสู่กระบวนการผลิตให้เกิดความเหมาะสมในการนำมาใช้อย่างปลอดภัย แถมการนำมาใช้ยังให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ

ความหมายของ เกลือ

เมื่อนึกถึง "เกลือ" สำหรับเราแล้วก็ต้องนึกถึงรสชาติเค็มที่เป็นเอกลักษณ์ แต่หากความหมายในทางเคมี ตามธรรมชาติแล้ว เกลือ คือสารประกอบไอออนิกชนิดหนึ่ง โครงสร้างมาจากโซเดียมไอออนบวกเข้าสร้างพันธะเคมีกับคลอไรด์ไอออนลบ จนได้ออกมาเป็นผลึกสีขาวที่คุ้นตาอย่างที่เราเห็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เกลือ นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรส ใช้เป็นส่วนประกอบของยา เป็นตัวช่วยถนอมอาหาร และเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของร่างกายหากได้รับในปริมาณที่พอดี

ประเภทของ เกลือ ตามแหล่งกำเนิด

จุดกำเนิดของเกลือมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่กระบวนการทางอุตสาหกรรม เราค้นหาเกลือที่มีอยู่ทั่วไปตามน้ำทะเลหรือนาเกลือที่มีน้ำทะเลไหลผ่านเข้ามา ในประเทศไทยเราพบแหล่งกำเนิดเกลือได้สองจุดด้วยกันคือ

  1. เกลือสมุทร หรือเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเกลือทะเล ซึ่งได้จากการดูดเอาน้ำทะเลขึ้นมาพักไว้ แล้วปล่อยให้น้ำระเหยออกไปด้วยการตากกับแสงอาทิตย์ ส่วนที่เหลือจะเป็นเกลือที่ตกผลึก ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตในขั้นตอนต่อไป
  2. เกลือสินเธาว์ เกลือที่มาจากชั้นหินและดิน ซึ่งจะเคลือบอยู่ที่ผิวดิน เราจะได้เกลือจากส่วนนี้ด้วยการนำเอาดินมาละลายน้ำ รวมถึงน้ำบาดาลและบ่อเกลือ ซึ่งจะไหลผ่านแร่เกลือหิน ละลายเอาแร่เหล่านั้นมากับน้ำด้วย จากนั้นก็ทำการสูบขึ้นมาเข้าสู่กระบวนการผลิต

กระบวนการผลิตเกลือ

ไม่ว่าจะเป็นเกลือชนิดไหน ก็จะเรียกกันว่าการทำนาเกลือ ซึ่งเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ผ่านการลองผิดลองถูกและประสบการณ์ของบรรพบุรุษที่ส่งต่อมาให้เรา ทำให้ลูกหลานรุ่นใหม่ผลิตเกลือด้วยตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเกลือจากน้ำทะเลที่มีความเค็ม เกลือในชั้นหินที่มีน้ำบาดาลไหลผ่าน ไปจนถึงเกลือที่เคลือบอยู่บนผิวดิน

การทำนาเกลือที่ให้ปริมาณเกลือที่ดีจะต้องเป็นพื้นที่ราบลุ่ม พื้นดินเป็นดินเหนียว ซึ่งมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี การทำนาเกลือจะไม่ทำกันตลอดทั้งปี แต่จะเป็นช่วงเวลาคือตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไปด้วยการเตรียมพื้นที่แปลงนาก่อนเป็นอันดับแรก ทำการปรับสภาพหน้าดินให้เรียบ พร้อมสำหรับปล่อยให้น้ำไหลผ่านเข้ามาด้านในได้สะดวกและไม่ไหลออกหรือซึมหายไป

[caption id="" align="aligncenter" width="720"]

นาเกลือ[/caption]

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน คือช่วงที่หมดฝนแล้ว จะเริ่มทำการผันน้ำจากนาเกลือที่เป็น "นาขัง" ส่งน้ำเข้าไปตลอดเพื่อจะทำ "นาตาก" เป็นตัวช่วยเพิ่มความเค็มของน้ำให้สูงมากขึ้น ลดปริมาณสิ่งสกปรกและตะกอนให้ถูกกำจัดออกไป จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอน "นาเชื้อ" คือแปลงนาที่ใช้พักน้ำ ให้สัมผัสกับแสงแดด

น้ำจะเหยออกไป ทำให้น้ำทะเลที่เหลือใกล้เข้าสู่จุดอิ่มตัวจนตกผลึก ก็จะระบายน้ำเข้าสู่ "นาปลง" เป็นขั้นตอนที่น้ำจะมีความเค็มมากที่สุด จนเห็นเกลือเป็นเม็ด รอเวลาการตกผลึก 9-10 วัน ก็จะตักเอาเกลือเหล่านั้นไปเตรียมเข้าสู่กระบวนการทำเกลือที่ใช้นำมาบริโภคกันและประโยชน์อื่นๆ กันต่อไป

ในกระบวนการผลิตเกลือจะถูกแบ่งออกเป็น 2 วิธีตามแหล่งกำเนิดข้างต้น ได้แก่

1. การผลิตเกลือสมุทรหรือเกลือทะเล

จะเป็นการผลิตที่บริเวณใกล้ทะเล เรียกว่าการทำนาเกลือ ซึ่งในประเทศไทยจะทำในช่วงเดือนที่ฝนตกไม่ชุก กระบวนการจะแยกเอาโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล แล้วปล่อยให้เกิดการระเหยและตกผลึก น้ำทะเลที่ระเหยไปจนเหลือปริมาณน้ำน้อยลง จะได้เกลือที่มีความเข้มข้นจนเกิดการตกผลึกขึ้นมา

2. การผลิตเกลือสินเธาว์

เนื่องจากแหล่งเกลือชนิดนี้ได้จากแร่หินและบนชั้นดิน น้ำบาดาลที่ไหลผ่านแร่เกลือหิน น้ำเกลือที่ได้มาจะนำเอามาผ่านกระบวนการกรอง ทำให้ระเหย และตกผลึก ซึ่งขั้นตอนการทำ บางกลุ่มจะใช้วิธีละลายหน้าดินที่มีเกลือเคลือบอยู่แล้วปล่อยให้ตกผลึก แล้วแต่แหล่งกำเนิดที่ได้มา

เกลือกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

  1. เกลือเป็นยาสมุนไพรโบราณที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยถอนพิษ และทำให้เลือดเย็น
  2. ช่วยบรรเทาอาการอาเจียน และช่วยระบาย
  3. นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยาอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาอาการท้องผูก แก้เหงื่อออกมา ผสมเป็นเกลือแร่ตอนท้องเสีย
  4. นำมาใช้บรรเทาอาการคัดจมูกและอาการอักเสบ ด้วยการนำเอาน้ำเกลือมาผ่านการเจือจาง แล้วเทใส่ขวดน้ำเกลือเพื่อล้างจมูก จะช่วยให้จมูกโล่งและฆ่าเชื้อได้
  5. ลดอาการคอแห้งด้วยการดื่มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย
  6. ช่วยขับพิษด้วยการเร่งให้อาเจียน ในกลุ่มคนที่รับประทานอาหารเป็นพิษ ด้วยการดื่มน้ำเกลือเข้มข้นเข้าไปแล้วกระตุ้นให้อาเจียนออกมา
  7. รักษาโรคกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว ดื่มหลังตื่นนอนทุกเช้า จะทำให้อาการค่อยๆ ดีขึ้น

นอกจากนี้ ประโยชน์ของเกลือยังถูกนำไปใช้เป็นเกลือขัดผิว เกลือพอกหน้า ส่วนประกอบในการเติมรสชาติอาหาร เป็นยาสมุนไพร หรือแม้กระทั่งใช้ทำความสะอาด จนเรียกได้ว่าเกลือเป็นแร่ธาตุอัศจรรย์ที่ล้วนมีติดบ้านไว้กันทุกคน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salt and Sodium | The Nutrition Source. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/salt-and-sodium/)
Sea salt vs. table salt: Differences and health benefits. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326519)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป