อันตรายจากการรับประทานเกลือมากเกินไป

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อันตรายจากการรับประทานเกลือมากเกินไป

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายจากการรับประทานเกลือมากเกินไป แล้วปริมาณเท่าไหร่ถึงพอเหมาะและถือว่าดีต่อสุขภาพ ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานเกลือ ตลอดจนปริมาณเกลือโซเดียมโดยประมาณในอาหาร หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

การรับประทานเกลือปริมาณแต่พอเหมาะถือว่าดีต่อสุขภาพ แต่การรับประทานเกลือมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ปริมาณ เกลือที่เรารับประทานกันโดยปกติคือวันละ 6- 18 กรัม แต่สมาคมโรคหัวใจ แห่งสหรัฐอเมริกาได้แนะนําให้จํากัดการบริโภคเกลือให้ต่ำกว่าวันละ 3 กรัม (3,000 มก.) หากรับประทานมากกว่า 14 กรัม จัดว่ามากเกินไป และพวกเรา หลายคนก็รับประทานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ชาวอเมริกันรับประทานเกลือ โดยเฉลี่ยปีละ 15 ปอนด์ (ประมาณเท่าลูกโบว์ลิ่งหนึ่งลูก)!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรับประทานเกลือมากไปทําให้ความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งส่งผลให้เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และเมื่อไม่นานมานี้ มีการค้นพบด้วยว่า อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนได้ เกลือที่มากเกินส่งผล ให้มีน้ำคั่งทําให้มีอาการมึนศีรษะและขาบวมและยังทําให้เราสูญเสียแร่ธาตุ โพแทสเซียมไปกับปัสสาวะ และขัดขวางการนําอาหารประเภทโปรตีนไปใช้ ประโยชน์ในร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาล่าสุดพบว่าการรับประทาน เกลือโซเดียมในอาหารมาก ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนโพแทสเซียมต่อโซเดียมต่ำลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ชาย

กับดักอาหารเค็ม

การที่คุณห่างจากเพรตเซลส์หรือขนมขบเคี้ยว และไม่เทเกลือลงในอาหาร ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้รับเกลือมากเกินไป กับดักอาหารเค็มนั้น พรางตัวได้แนบเนียนพอกันกับกับดักน้ำตาลเลยที่เดียว

หากคุณอยากจํากัดการรับประทานเกลือให้น้อยลง ควรปฏิบัติดังนี้

  • ลดการดื่มเบียร์ (มีเกลือถึง 25 มก.ในเบียร์ 12 ออนซ์)
  • หลีกเลี่ยงการใช้เบกกิ้งโซดา ผงชูรส และผงฟูในการทําอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย ซึ่งส่วนใหญ่มีโซเดียมเป็นส่วนผสม
  • อย่าใช้น้ำที่ผ่านการเติมสารลดความกระด้างมาทําอาหารหรือดื่ม เพราะเป็นน้ำที่ผ่านการเติมโซเดียมลงไปแล้ว
  • มองหาคําว่าเกลือ (salt) หรือโซเดียม (sodium) หรือสัญลักษณ์ ทางเคมี Na บนฉลากอาหาร
  • ระวังการดื่มน้ำมะเขือเทศ ซึ่งมีแคลอรีต่ำแต่เกลือโซเดียมสูง
  • อย่ารับประทานเนื้อสําเร็จรูป เช่น แฮม เบคอน คอร์นบีฟ ไส้กรอก รวมไปถึงสัตว์น้ำประเภทมีเปลือก อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เนื้อ สัตว์ปีกหรือปลาที่ผ่านการเติมโซเดียมแล้ว
  • หากรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรสังเนื้อที่ตัดจากส่วนในหรือ เนื้อติดซี่โครง และไม่โรยเกลือบนสเต๊กอีก
  • ระวังการดื่มน้ำอัดลมแบบไดเอต ซึ่งอาจจะมีแคลอรีต่ำ แต่ในหลาย ชนิดยังมีเกลือโซเดียมสูง!
  • ควรระลึกอยู่เสมอว่า ในขนมปังที่ขายกันส่วนใหญ่เพียงสองชิ้น (แม้แต่ ขนมปังแบบลดน้ำหนักหรือแบบโฮลวีต) อาจมีเกลือได้ถึง 230 มก.

 มันเค็มเพียงใด

ปริมาณเกลือโซเดียมโดยประมาณในอาหาร

ประเภทอาหาร

แตงกวาดอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไก่งวงแช่แข็ง (ยี่ห้อ Swanson)

ซอสถั่วเหลือง

แพนเค้กขนาด 4 นิ้ว(ยี่ห้อ Hungry Jack Complete)

ซุปไก่ (ยี่ห้อ Campbell's)

ซุปมะเขือเทศ (ยี่ห้อ Campbell's)

ถั่วแขกกระป๋อง (ยี่ห้อ Del Monte)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชีส (ยี่ห้อ Kraft)

ถั่วแดงอบ (ยี่ห้อ B and M)

พิซซ่าแช่แข็ง (ยี่ห้อ Celeste)

น้ำผัก V8

แดนิชชินนามอนโรลลูกเกด(ยี่ห้อ Pillsbury)

พุดดิ้งสําเร็จรูปรสช็อกโกแลต

โบโลนญา (ยี่ห้อ Oscar Mayer)

ทูน่าในน้ำมัน

ไส้กรอกเนื้อ (ยี่ห้อ Oscar Mayer)

ปริมาณ

1 ชิ้นใหญ่

1 (17 ออนซ์)

1 ช้อนโต๊ะ

3 ชิ้น

10 ออนซ์

10 ออนซ์

1 ถ้วย

2 ออนซ์

1 ถ้วย

4 ออนซ์

6 ออนซ์

1 หน่วยบริโภค

1.5 ถ้วย

2 ชิ้น

3 ออนซ์

1

เกลือ (มก.)

1928

1735

1320

1150

1050

950

925

850

810

656

654

630

486

450

430

425

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salt: the facts. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/salt-nutrition/)
How much salt does it really take to harm your heart?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322745)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป