กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาหลอกและการแพทย์ทางเลือก

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยาหลอกและการแพทย์ทางเลือก

ยาหลอก (placebo) คือการรักษาปลอมที่ดูคล้ายยา แต่ไม่ได้มีสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อสุขภาพ แต่เมื่อให้กับผู้ที่คิดว่ากำลังได้รับการรักษา อาจทำให้ภาวะดังกล่าวดีขึ้นได้ เพราะเขาหรือเธอคาดว่าสิ่งนี้อาจจะช่วยได้

โดยปกติแล้ว ยาหลอกจะดูเหมือนการรักษาปกติ โดยอาจเป็นเม็ดยาที่ทำจากน้ำตาล แป้ง น้ำเกลือ หรือสารไม่ออกฤทธิ์ตัวอื่น ๆ หรืออาจเป็นการฉีดยา สารน้ำ หัตถการ หรือแม้แต่การไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของอาการที่วัดได้ สังเกตได้ หรือรู้สึกได้หลังได้รับยาหลอก เรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) อาการอาจดีขึ้นหรืออาจมีคนรู้สึกได้ถึงสิ่งที่น่าจะเป็นผลข้างเคียง ยาหลอกอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และการทำงานของสมอง

คาดว่าปรากฎการณ์ยาหลอกจะเกิดขึ้นมากกว่าในภาวะทางสุขภาพเฉพาะบางอย่าง เช่น อาการปวด ซึมเศร้า วิตกกังวล ข้อเสื่อม พาร์กินสัน ปวดหัว ร้อนวูบวาบ อาการของหวัด เช่น ไอและอาการคันตามผิวหนัง

ยาหลอกใช้ในงานวิจัยอย่างไรบ้าง ?

ในการศึกษาทดลองทางคลินิก ยาหลอกอาจใช้เปรียบเทียบกับการรักษาใหม่ เพื่อดูว่าผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาใหม่นั้นเกิดจากการรักษา ไม่ใช่อย่างอื่น (เช่น ความคาดหวังต่อการรักษา)

ในการศึกษาแบบ double blind placebo controlled study ยาหลอกจะต้องสมจริงมากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับการรักษาไม่รู้ว่าใครได้รับการรักษา และใครได้รับยาหลอก เพื่อที่ความคาดหวังจะไม่มีผลกระทบต่อผลการศึกษา ผู้ที่เข้าร่วมในการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกที่ใช้ยาหลอกจะต้องได้รับข้อมูลเรื่องความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะได้รับยาหลอกด้วย

ยาหลอกในการแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือก

ปรากฏการณ์ยาหลอกมักใช้ในการอภิปรายว่า ทำไมผู้คนจึงรายงานถึงอาการที่ดีขึ้นเมื่อใช้การแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริม (CAM)

นักวิจารณ์มักชี้ประเด็นเรื่องการขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (ซึ่งเจาะจงว่าเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก) ที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาแบบการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริม เช่น การฝังเข็ม ได้ผลมากกว่าการรักษาหลอก งานวิจัยของการแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือกที่กำลังเพิ่มขึ้นควรมีการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก เพื่อช่วยแยกระหว่างผลที่ได้จากการรักษาและผลจากยาหลอก

การออกเสียง: พลา-ซี-โบ
ตัวอย่าง: "ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาเบื้องต้นเรื่องประสิทธิภาพของเรกิ ในภาวะทางสุขภาพหลายอย่าง แต่ยังขาดการศึกษาที่ออกแบบมาอย่างดีที่แสดงให้เห็นว่าเรกิมีประสิทธิภาพมากกว่ายาหลอก"


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The power of the placebo effect. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/mental-health/the-power-of-the-placebo-effect)
Placebos: The power of the placebo effect. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306437)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป