กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

น้ำเกลือแบ่งออกได้กี่ชนิด มีข้อบ่งใช้ และข้อควรระวังอะไรบ้าง

รู้จัก "สารน้ำ" ที่มีความสำคัญต่อร่างกายยามเย็บป่วย แต่ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เพื่อความปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 8 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำเกลือแบ่งออกได้กี่ชนิด มีข้อบ่งใช้ และข้อควรระวังอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โดยปกติร่างกายของคนเราจะสูญเสียน้ำเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งทางเหงื่อ ปัสสาวะ ไอน้ำจากการหายใจออก และเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ คุณจึงต้องรับสารน้ำเข้าร่างกายเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป
  • น้ำเกลือเป็นสารน้ำที่มีความเข้มข้นพอๆ กับน้ำในร่างกายของคนเรา ต่างจากน้ำธรรมดาที่เราดื่มเข้าไปซึ่งมีความเข้มข้นน้อยกว่า โดยในน้ำเกลือจะมีเกลือแร่หลายอย่างที่สำคัญต่อร่างกาย
  • น้ำเกลือมีประโยชน์ด้านการรักษาผู้ป่วยหลายด้าน เช่น เป็นสารน้ำเพื่อนำยาเข้าสู่เส้นเลือด เป็นอาหารให้ผู้ป่วยที่ต้องอดอาหารก่อนผ่าตัด เป็นสารน้ำให้ผู้ป่วยที่เสียเลือดมากจนอาจช็อก หรือหมดสติ
  • ผู้ป่วยบางกลุ่มต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความเข้มข้นของน้ำเกลือ เพราะหากรับมากเกินไปก็อาจได้รับเกลือแร่มากเกิน น้ำคั่งในปอด หัวใจวายจนเสียชีวิตได้ เช่น ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยเด็กเล็ก 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

น้ำเกลือถือเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ขาดไม่ได้ โดยน้ำเกลือที่ถูกนำไปใช้ทางการแพทย์นั้น จะไม่ได้เป็นแค่น้ำผสมน้ำเกลือเท่านั้น แต่ได้ผสมแร่ธาตุต่างๆ เข้าไปในสัดส่วนที่พอดีกับความเข้มข้นของน้ำในร่างกาย 

หากสังเกตดีๆ เราจะพบว่า รสชาติของเหงื่อไม่ได้มีรสจืดเหมือนน้ำ แต่มีรสเค็มเหมือนกับน้ำเกลือ ซึ่งนี่คือที่มาว่า ทำไมต้องมีการใช้น้ำเกลือในการรักษาพยาบาล 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความสำคัญของน้ำเกลือ

โดยปกติธรรมชาติของร่างกายเรานั้นจะมีการสูญเสียน้ำเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นทางปัสสาวะ ทางเหงื่อ หรือการหายใจที่จะมีไอน้ำออกมา โดยร่างกายของคนเราจะขับเอาน้ำออกมาราวๆ 2-2.5 ลิตรต่อวัน

และเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เมื่อสูญเสียน้ำไปก็จำเป็นต้องรับน้ำจากภายนอกเข้ามาเพิ่ม โดยหลักๆ คือ ผ่านการดื่มน้ำและการรับประทานอาหารที่มีน้ำมาก เช่น ผลไม้ที่มีน้ำมาก  เช่น แตงโม ซุป 

นอกจากนี้ยังมีอีกช่องทางอื่นที่สามารถรับน้ำเข้าสู่ร่างกายได้อีก นั่นก็คือ การให้น้ำเกลือ สาเหตุที่ต้องให้น้ำเกลือแทนการให้สารน้ำธรรมดานั้นเพราะ ความเข้มข้นของน้ำธรรมดากับน้ำในร่างกายคนเรานั้นแตกต่างกัน และน้ำที่พอจะทดแทน รวมถึงเข้มข้นในระดับพอๆ กับน้ำในร่างกายคนได้ ก็คือ น้ำเกลือนั่นเอง

ส่วนผสมของน้ำเกลือ 

น้ำเกลือสำหรับให้ร่างกายจะไม่มีรสชาติเค็มมากเกินไป และภายในร่างกายจะประกอบไปด้วยเกลือแร่ชนิดต่างๆ เช่น โซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียม น้ำตาลหลากหลายชนิด และไบคาร์บอน 

โดยสรุปแล้วองค์ประกอบของตัวน้ำเกลือ จะมีน้ำและเกลือแร่ชนิดต่างๆ ปะปนอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำเกลือที่มีการแบ่งชนิดออกตามระดับความเข้มข้น การใช้งานจึงแตกต่างกันออกไป 

นอกจากนี้น้ำเกลือยังมีข้อบ่งชี้การใช้ที่แม้จะไม่เป็นอันตราย แต่ควรระมัดระวัง เพราะมิเช่นนั้นอาจส่งผลเสียทางอ้อมต่อสุขภาพร่างกายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชนิดของน้ำเกลือ

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า น้ำเกลือเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำ และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ที่อาจมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย เราแบ่งตามความเข้มข้นของน้ำเกลือได้ดังนี้

  1. น้ำเกลือชนิดนอร์มัลซาไลน์ (Normal Saline Solution: NSS) คือ น้ำเกลือแบบธรรมดา ความเข้มข้นอยู่ที่ 0.9 % เป็นค่าที่เท่ากับเกลือที่อยู่ในกระแสเลือดของคนทั่วไป
  2. 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) เป็นการผสมระหว่างน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้มข้น 5 % ร่วมกับน้ำเกลือความเข้มข้น 0.3 % ซึ่งน้อยกว่าน้ำเกลือธรรมดา
  3. 5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS: 5% D/NSS) เป็นการผสมระหว่างน้ำเกลือธรรมดากับน้ำตาลเดกซ์โทรส 5 %
  4. 5% เดกซ์โทรส (5% Dextrose in water: 5%D/W) เป็นน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเดกซ์โทรสอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ในระดับความเข้มข้น 5 % โดยไม่มีส่วนผสมของเกลือแร่

การใช้น้ำเกลือในทางการแพทย์

ในทางการแพทย์จะใช้น้ำเกลือเพื่อประโยชน์ด้านการรักษาผู้ป่วยหลายด้าน เช่น

  • ผู้ที่อาเจียนอย่างหนัก จนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
  • ผู้ที่มีอาการท้องเดิน 
  • ผู้ที่มีมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ผู้ที่เสียเลือดมากจนเกิดภาวะช็อก เป็นลม หมดสติ 
  • ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำตามปกติได้ 
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้สารน้ำเป็นทางผ่านก่อนส่งยาเข้าสู่กระแสเลือดทำให้ง่ายต่อการฉีดยา โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวหลายๆ ครั้ง
  • ใช้เป็นอาหารทดแทน

หลายคนเข้าใจผิดว่า น้ำเกลือเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือยาบำรุงเลือด เป็นตัวช่วยรักษาบาดแผล หรือฆ่าเชื้อ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด

ข้อควรระมัดระวังในการใช้น้ำเกลือ

แม้น้ำเกลือจะมีความปลอดภัย ทว่ามีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะแบ่งประเภทการใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในช่วงนั้นๆ 

ตามหลักการแพทย์ น้ำเกลือเป็นตัวช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย และบรรเทาอาการบางอย่าง แต่ในการใช้งานจะต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้

  1. กรณีที่มีผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกลือที่มีส่วนผสมของ NSS แต่ให้เลือกใช้น้ำเกลือในที่มีความเข้มข้นเพียง 0.3 % ก็เพียงพอ
  2. หลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือพร่ำเพรื่อ แต่ให้เฉพาะกับคนที่จำเป็นต้องได้รับเท่านั้น เนื่องจากน้ำเกลือเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของร่างกาย การได้รับมากเกินไปย่อมส่งผลเสียตามมา
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะบวมน้ำ หรือเป็นโรคไตวาย จะต้องใช้อยู่ในความดูแลของแพทย์ ไม่ควรใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นมาก เพราะเสี่ยงที่จะทำให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหัวใจวาย หรือน้ำคั่งในปอดจนเป็นภาวะปอดบวมน้ำตามมา
  4. น้ำเกลือที่นำมาใช้จะต้องมีความเข้มข้นเท่ากับ "เกลือที่อยู่ภายในเลือด" หากได้รับน้ำเกลือที่เข้มข้นต่างไปจากนี้อาจส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล ได้รับเกลือแร่ที่เข้มข้นมากเกินไปจนเสียชีวิตตามมาได้
  5. พึงตระหนักว่า การให้น้ำเกลืออาจเกิดผลข้างเคียงได้หลายประการ เช่น อาการปวดบริเวณที่ให้น้ำเกลือ การติดเชื้อ เส้นเลือดดำอักเสบ ภาวะน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติ เกิดลิ่มเลือด และอุณหภูมิในร่างกายต่ำ
  6. กรณีพบอาการหนาวสั่น รู้สึกไม่สบาย หรือมีอาการผิดปกติอื่นใดในระหว่างให้น้ำเกลือ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลในทันที

จะเห็นได้ว่า น้ำเกลือคือ น้ำที่มีความเข้มข้นเท่ากับน้ำในร่างกายของเรา เมื่อเกิดภาวะต่างๆ ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้น้ำเข้าไปทดแทนโดยไม่ผ่านการดื่ม จำเป็นต้องใช้น้ำเกลือ

ที่สำคัญควรใช้น้ำเกลือภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เพราะผู้ป่วยแต่ละรายมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเกลือแตกต่างกันนั่นเอง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Conference: 2013 American Academy of Pediatrics National Conference and Exhibition, Systematic Review of Hypotonic Versus Isotonic Intravenous Fluids (https://www.researchgate.net/publication/267913432_Systematic_Review_of_Hypotonic_Versus_Isotonic_Intravenous_Fluids), 7 June 2020.
Roberts JR, Hedges JR (2013). Roberts and Hedges' Clinical Procedures in Emergency Medicine E-Book (6th ed.). Elsevier Health Sciences. p. 349. ISBN 9781455748594.
Drugs.com, Normal Saline (flush) Uses, Side Effects & Warnings (https://www.drugs.com/mtm/normal-saline-flush.html), 14 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป