การแพทย์โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การแพทย์โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy)

โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy) คือ แนวทางการรักษาที่ใช้สารเจือจางมาก นำมากระตุ้นให้ร่างกายรักษา ฟื้นฟูตนเองได้  แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนถึงกลไกในการทำให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองได้ 

โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy) คืออะไร 

โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy) คือ การแพทย์ทางเลือกชนิดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการแพทย์แผนตะวันตกในปัจจุบัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดและการพัฒนาโดยแพทย์ชาวเยอรมัน นามว่า ซามูเอล ฮานีแมน (Samuel Hahnemann) ตั้งแต่ปีค.ศ. 1790 ซึ่งมีแกนความคิดหลักว่า เป็นการรักษาจากการใช้ สารที่เป็นสาเหตุของการก่อโรคมาเป็นตัวกำจักรักษาโรคนั้น และหลักการต่อมาคือมีการนำสารนั้นมาเจอจางลงและเขย่าผสมกันอย่างแรง เรียกกรรมวิธีนี้ว่า ซัคคัสชัน (succussion)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เชื่อว่ายิ่งมีการนำสารต่างๆ มาละลายด้วยกรรมวิธีนี้มากเท่าไร การรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์จะได้ผลมากขึ้นเท่านั้น โดยการเจือจางสารต่างๆลง จะทำการเจือจางหลายครั้ง จนสารตั้งต้นนั้นละลายอยู่ในน้ำโดยมีตัวสารหลงเหลืออยู่น้อยมากๆ จนเกือบจะไม่เหลือสารตั้งต้นอยู่เลย

โฮมิโอพาธีย์ใช้ในการรักษาโรคได้อย่างกว้างขวาง ทั้งสภาวะทางร่างกาย เช่น หอบหืด หรือสภาวะทางจิตใจ เช่น

รักษาภาวะเครียดได้ 

โฮมิโอพาธีย์มีหลักการทำงานอย่างไร 

มีการวิจัยและศึกษาถึงประสิทธิภาพการรักษาของโฮมิโอพาธีย์มากมาย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการการยืนยันถึงประสิทธิภาพในการรักษา 

ควรมีความคาดหวังต่อการรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์อย่างไร 

โดยมากเมื่อผู้ป่วยเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญจะสอบถามเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่ผู้ป่วยมี และทั้งยังสอบถามเรื่องความเป็นอยู่ในแต่ละวัน ภาวะทางอารมณ์ การใช้ชีวิตประจำวัน และอาหารการกินในแต่ละวัน โดยเมื่อได้ข้อมูลครบแล้วผู้เชี่ยวชาญจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมากจะให้การรักษาโดยยาเม็ดแคปซูล หรือยาน้ำทิงเจอร์ และจะมีการนัดติดตามและประเมินผลการรักษาเมื่อเวลาผ่านไป 

โฮมิโอพาธีย์ใช้ได้กับภาวะใดบ้าง

โฮมิโอพาธีย์ใช้ได้กับสภาวะโรคต่างๆได้อย่างกว้างขวาง โดยส่วนมากผู้ป่วยจะนิยมรักษาโรคหรือสภาวะดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนถึงผลและประสิทธิภาพในการรักษาของโฮมิโอพาธีย์ ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่า โฮมิโอพาธีย์สามารถใช้ป้องกันโรคได้ เช่น โรคมาลาเรีย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับเช่นกัน 

มีกฏหมายรองรับการรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์หรือไม่ 

ในปัจจุบันยังไม่มีกฏหมายหรือข้อบังคับในประเทศไทย นั่นหมายถึงทุกคนสามารถฝึกการรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์ได้ ถึงแม้จะไม่ได้มีความเฉพาะเจาะจงหรือไม่มีประสบการณ์ก็ตาม 

การรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์มีความปลอดภัยหรือไม่ 

โฮมิโอพาธีย์มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง และความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงร้ายแรงนั้นค่อนข้างต่ำ ในบางการรักษาของโฮมิโอพาธีย์อาจจะมีสารอันตรายบ้าง หรืออาจมีอัตรกิริยากับยาประจำตัวที่ผู้ป่วยใช้อยู่แล้วได้บ้าง ดังนั้นควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มใช้ยาโฮมิโอพาธีย์ 

บทสรุปโฮมิโอพาธีย์

ในปัจจุบันมีบทความต่างๆ เกี่ยวกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์ แต่ยังไม่ได้รับการเชื่อถือเป็นวงกว้าง ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับที่ชัดเจน ในการใช้สารเจือจางมาเป็นยารักษา นักวิทยาศาสตร์บางรายกล่าวว่า การเจือจางสารนั้นไม่ได้ผล และยานั้นไม่มีผลอะไรที่แตกต่างจากน้ำธรรมดา ในบางรายก็กล่าวว่าอาจเป็น เพราะผู้ป่วยมีกำลังใจและเชื่อว่ากำลังได้รับการรักษา สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคหรืออาการนั้นดีขึ้นได้ หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ยาหลอกหรือ placebo effect ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความเชื่อและวิจารณญาณของแต่บุคคล 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Homeopathy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/homeopathy/)
Homeopathy and integrative medicine: keeping an open mind. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4363517/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป