นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) คือการเกิดก้อนนิ่วจากการตกผลึกของสารต่างๆ ภายในถุงน้ำดี ซึ่งก้อนนิ่วอาจมีขนาดใหญ่หรือเล็ก และอาจมีหลายก้อนก็ได้ ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องท้องใกล้กับตับ และมีหน้าที่เก็บน้ำดีซึ่งมีส่วนสำคัญในการย่อยอาหาร การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีจึงอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง และทำให้การทำงานของถุงน้ำดีผิดปกติได้
อาการของนิ่วในถุงน้ำดี
หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมาก จนทำให้ท่อน้ำดีอุดตัน ก็อาจส่งผลให้มีอาการผิดปกติได้ ดังนี้
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ปวดท้องด้านขวาบนอย่างรุนแรง อาจปวดร้าวไปถึงหลัง สะบักขวา และหน้าอก
- คลื่นไส้ อาเจียน พะอืดพะอม
- อาจมีอาการอาหารไม่ย่อย จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อได้
หากนิ่วในถุงน้ำดีไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ ซึ่งจะแสดงอาการที่เด่นชัดขึ้น เช่น
สาเหตุของนิ่วในถุงน้ำดี
ก้อนนิ่วในถุงน้ำดีนั้นเกิดจากการตกผลึกของสารประกอบในน้ำดี 2 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน นิ่วที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol gallstones) จะพบได้บ่อยกว่า และมีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว ในขณะที่นิ่วที่เกิดจากบิลิรูบิน (pigment gallstones) จะมีสีน้ำตาลหรือดำ ดังนั้น ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี จึงได้แก่
- ภาวะที่น้ำดีมีคอเลสเตอรอลมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูง ตับจึงขับคอเลสเตอรอลออกมาในน้ำดีมาก โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือกล้ามเนื้อถุงน้ำดีไม่สามารถบีบตัวนำคอเลสเตอรอลออกมาได้ ทำให้มีคอเลสเตอรอลตกค้างอยู่
- ภาวะที่น้ำดีมีบิลิรูบินมากเกินไป อาจเกิดจากโรคที่ทำให้ตับสร้างบิลิรูบินมาก เช่น โรคตับแข็ง โรคตับอักเสบ หรือเกิดจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เช่น ในภาวะโลหิตจาง หรือโรค G6PD เป็นต้น
- ภาวะที่น้ำดีมีความเข้มข้นมาก ทำให้คอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน มีโอกาสตกตะกอนและรวมตัวกับสารอื่นๆ ในน้ำดีกลายเป็นก้อนนิ่วได้สูง
การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก และไม่มีอาการผิดปกติ ก็อาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากก้อนนิ่วมีแนวโน้มจะขนาดใหญ่ขึ้น และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก็ต้องรักษาตามแนวทางดังนี้
- ใช้ยาสลายนิ่ว
หากก้อนนิ่วมีขนาดไม่ใหญ่มาก และเป็นนิ่วที่เกิดจากคอเลสเตอรอล แพทย์มักให้ยาที่มีฤทธิ์ละลายก้อนนิ่ว ซึ่งได้แก่ ยา Chenodiol และยา Ursodiol แต่ยาดังกล่าวก็อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย คืออาการท้องเสียที่ไม่รุนแรง
- ผ่าตัดเอาก้อนนิ่วออก
การผ่าตัดเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้รักษานิ่วในถุงน้ำดีที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และในกรณีที่ก้อนนิ่วไปอุดตันท่อน้ำดี หรือเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบ การผ่าตัดอาจใช้วิธี ผ่าแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่แพทย์นิยมใช้ เนื่องจากประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แผลมีขนาดเล็กลง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และลดเวลาพักฟื้นได้มาก แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่มาก และเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบรุนแรง ก็จำเป็นต้อง ผ่าแบบเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy) ร่วมกับการส่องกล้องเพื่อหาก้อนนิ่วในท่อน้ำดี ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ และต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ปัจจุบันโรงพยาบาลจะทำการผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นหลัก ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับโรงพยาบาลรัฐฯ จะอยู่ที่ 30,000 - 50,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ราคาจะสูงกว่า คือประมาณ 70,000 – 1xx,xxx บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ระยะเวลาการพักฟื้นที่โรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถใช้สิทธิ์บัตรทอง ประกันสังคม และประกันสุขภาพ สำหรับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของการผ่าตัดได้ (ไม่รวมค่าห้องพิเศษ)
การพักฟื้นหลังผ่าตัด ในกรณีที่ผ่าตัดแบบส่องกล้อง แผลจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงอาจจำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล 2-3 คืน จากนั้นก็กลับมาพักฟื้นที่บ้านอีก 2-3 สัปดาห์ ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย
การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี
- ควบคุมน้ำหนัก และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลั่งคอเลสเตอรอลในน้ำดีมากเกินไป
- หากต้องการลดน้ำหนัก ควรลดอย่างถูกวิธีและค่อยเป็นค่อยไป เพราะการที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลในน้ำดีมากกว่าปกติ