ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจอื่นๆ โดยการทำให้หลอดเลือดสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยการลดความเร็วของแคลเซียมที่เคลื่อนเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด และเซลล์ในหัวใจที่ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นเลือด ลดแรงบีบตัวของหัวใจและทำให้หัวใจเต้นช้าลง ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไป
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ยาในกลุ่มยาต้านแคลเซียมมีหลายชื่อสามัญและชื่อการค้า เช่น
- Diltiazem (Cardizem Cartia Dilacor XR Diltia XT Tiamate)
- Verapamil (Calan Covera-HS Isoptin Verelan)
- Nifedipine (Adalat Procardia Procardia XL)
- Nicardipine (Cardene)
- Nimopidine (Nimotop)
- Amlodipine (Norvasc Lotrel)
- Nisoldipine (Sular)
- Isradipine (DynaCirc)
- Bepridil (Vascor)
- Felodipine (Plendil)
คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ยาต้านแคลเซียม
แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ทุกชนิด รวมถึงวิตามินและอาหารเสริม เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยาต้านแคลเซียม เช่น
- ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงอื่นๆ เช่นยากลุ่ม ACE (Angiotensin-converting enzyme) inhibitors หรือ beta blockers
- ยาขับปัสสาวะ
- ยารักษาโรคตาบางชนิด
- การรักประทานวิตามินดีในปริมาณมากหรือแคลเซียมเสริม
- ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ยา Digitalis หรือที่เรียกว่า digitoxin (Digoxin)
- ยาที่มีส่วนผสมของ cortisone หรือ corticosteroids ทุกชนิด
ยาในกลุ่มนี้ต้องรับประทานพร้อมกับอาหารหรือนมเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานร่วมกับน้ำเสาวรส หรือผลเสาวรส เนื่องจากเสาวรสสามารถเปลี่ยนแปลงผลของยาได้หลายชนิด
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านแคลเซียม
ผลข้างเคียงของการใช้ยากลุ่มยาต้านแคลเซียมมักพบได้น้อย แต่อาการที่พบส่วนมาก ได้แก่
- น้ำหนักเพิ่ม
- ขา เท้า หรือข้อเท้าบวม
- รู้สึกมึนศีรษะ
- อยากอาหารเพิ่มขึ้น
- ท้องผูก
- รู้สึกอ่อนเพลียหรือง่วงนอน
- หัวใจเต้นเร็ว ช้า หรือไม่สม่ำเสมอ
- ไอ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและการกลืน
- คลื่นไส้หรือมวนท้อง