การตรวจหาปริมาณแคลเซียมในเส้นเลือดแดงโคโรนารี (Coronary Artery Calcium Scans)

เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เพื่อตรวจหาโรคหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary artery disease)
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจหาปริมาณแคลเซียมในเส้นเลือดแดงโคโรนารี (Coronary Artery Calcium Scans)

>การตรวจหาปริมาณแคลเซียมมีประโยชน์ในโรคหลดเลือดโคโรนารีหรือไม่?

ในโรคหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary artery disease) หรือที่ย่อว่าซีเอดี (CAD) คือภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) ทำให้ด้านในของเส้นหลอดแดงโคโรนารีที่เรียบและยืดหยุ่นกลับแข็งขึ้น และบวมขึ้นเนื่องจาก “พลาค (plaques)” ซึ่งเป็นที่ที่แคลเซียม ไขมัน และเซลล์อักเสบที่ผิดปกติมาสะสม เหนือสิ่งอื่นใด หมายความว่า ถ้าคุณมีแคลเซียมมาสะสมในเส้นเลือดแดงโคโรนารี อย่างน้อยคุณต้องเป็นโรคหลอดเลือดโคโรนารีอยู่บ้าง หลายปีที่ผ่านมาแพทย์รู้ว่าเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บางเครื่องที่มีความละเอียดสูงสามารถตรวจหาและวัดขนาดแคลเซียมที่สะสมในเส้นเลือดแดงโคโรนารีได้ (มีชื่อเรียกหลากหลายสำหรับเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้สแกนหัวใจแต่เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้วัดขนาดแคลเซียมที่สะสมในเส้นเลือดแดงโคโรนารีมักเรียกง่าย ๆ ว่า “แคลเซียมสแกน”)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แคลเซียมสแกนทำอย่างไร?

การทำแคลเซียมสแกนนั้น เหมือนกับการทำเอ็กซเรย์อื่น ๆ อยู่มาก คุณจะต้องนอนบนเตียงเอ็กซเรย์และมีเส้นลวดติดกับหน้าอกเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเตียงเอ็กซเรย์จะเลื่อนเข้าไปในเครื่องสแกน จากนั้นต้องกลั้นหายใจประมาณ 1 นาทีเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน ผลของเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์นั้น ถ้ามีลักษณะจำเพาะที่เป็น “จุดขาว” ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นแคลเซียมที่สะสมในเส้นเลือดแดงโคโรนารี และปริมาณของแคลเซียมจะวัดออกมาเป็นคะแนน

ปริมาณของแคลเซียม

ปริมาณของแคลเซียมที่อยู่ในเส้นเลือดแดงโคโรนารีจะแบ่งเป็นคะแนนที่เรียกว่า เอแกทสัน สเกล ดังนี้

  • 0 คือ ตรวจไม่พบโรค
  • 1 ถึง 99 เป็นโรครุนแรงเล็กน้อย
  • 100 ถึง 399 เป็นโรครุนแรงปานกลาง
  • 400 ขึ้นไป เป็นโรครุนแรงมาก

แคลเซียมสแกนใช้ในกรณีใด

ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่าใครบ้างที่ควรทำแคลเซียมสแกนและจะใช้ผลสแกนอย่างไร ข้อถกเถียงนี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากแต่เดิมแล้วแพทย์จะใช้การสแกนนี้เพื่อตรวจหาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งเป็นการอุดตันบางส่วนของเส้นเลือดแดงโคโรนารีที่ต้องใส่ขดลวดถ่างเส้นเลือด แต่กลับกลายเป็นว่าแคลเซียมสแกนไม่ค่อยมีประโยชน์สำหรับการหาเส้นเลือดอุดตัน โดยมีผู้ป่วยหลายรายที่มีคะแนนแคลเซียมสูงแต่ไม่มีการอุดตันของเส้นเลือดแม้ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดโคโรนารีจริง ดังนั้น ในตอนแรกแคลเซียมสแกนทำให้ผู้ป่วยต้องทำการใส่ขดลวดสวนหัวใจโดยไม่จำเป็นและเมื่อใส่ขดลวดสวนหัวใจแล้วพบว่าไม่มีการอุดตันของเส้นเลือดโคโรนารีก็แปลว่าแคลเซียมสแกนนั้นให้ “ผลบวกลวง” และปัจจุบันนี้ แพทย์ทราบแล้วว่าประโยชน์สำคัญของแคลเซียมสแกนนั้นไม่ใช่การหาจุดที่เส้นเลือดอุดตัน แต่เป็นการหาว่าผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดโคโรนารีหรือไม่และใช้ประเมินความรุนแรงของโรค ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการตัดสินใจว่าจะหาการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงของโรคมากน้อยเพียงใด

ความเสี่ยงของการทำแคลเซียมสแกนคืออะไร?

ความเสี่ยงจริง ๆ ของเพียงอย่างเดียวของแคลเซียมสแกนคือการโดนรังสีซึ่งเกิดขึ้นในการเอ็กซเรย์ทุก ๆ ชนิด โดยปริมาณของรังสีที่คนคนหนึ่งจะได้รับในการทำแคลเซียมสแกนนั้นแตกต่างกันเล็กน้อยตามเครื่องมือที่ใช้ และก่อนที่จะทำแคลเซียมสแกนควรถามที่ห้องปฏิบัติการก่อนว่าจะได้รับรังสีปริมาณเท่าใดในการทำสแกนที่นั่น โดยปริมานที่เหมาะสมของรังสีในการทำแคลเซียมสแกนคือประมาร 2-3 มิลลิซีเวิร์ต ซึ่งเท่ากับประมาณ 8-12 เท่าของรังสีในธรรมชาติ

ใครควรทำแคลเซียมสแกน?

ประโยชน์ของแคลเซียมสแกนโดยมากแล้ว ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดโคโรนารี โดยสามารถประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดโคโรนารี (แบ่งเป็นความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง สูง) โดยการตอบคำถามเพียงไม่กี่ข้อ คนที่จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำจะมีโอกาสน้อยที่จะพบความผิดปกติจากสแกนนั้น ปัจจุบันไม่แนะนำให้ทำแคลเซียมสแกน ส่วนผู้ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงมีโอกาสสูงที่จะพบความผิดปกติจากสแกนนั้นได้รับประโยชน์น้อยมากจากการทำแคลเซียมสแกน แต่ในคนที่มีความเสี่ยงปานกลางจะมีประโยชน์ในการทำแคลเซียมสแกนโดยคนกลุ่มนี้จะดูค่อนข้างแข็งแรงยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงสองหรือสามข้อที่เกือบจะผิดปกติ การตัดสินใจนั้นค่อนข้างยากว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างหนักกับหรือใช้ยาสแตตินหรือยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งแคลเซียมสแกนจะเป็นประโยชน์โดยถ้าคะแนนแคลเซียมมีค่าปานกลางหรือสูงจะถูกจะจัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง (ไม่ใช่เสี่ยงปานกลางอีก) ที่จะเกิดหัวใจวาย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างหนักควรเริ่มทำรวมถึงการใช้ยาสแตตินและยาแอสไพริน ในทางตรงกันข้ามถ้าคะแนนแคลเซียมต่ำคืออาจไม่เป็นโรคหลอดเลือดโคโรนารีหรือเป็นโรคเพียงเล็กน้อยจึงไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากนัก (เช่นการปรับกิจวัตรประจำวันบางอย่าง) ท้ายที่สุด เช่นเดียวกับการตรวจอื่น ๆ ถ้าแคลเซียมสแกนมีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจว่าจะรักษาและปรับพฤติกรรมอย่างไรก็จะเป็นความคิดที่ดีที่จะตรวจ แต่ถ้าไม่ช่วยก็ไม่ต้องตรวจ


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Should you consider a coronary artery calcium scan? . Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/should-you-consider-a-coronary-artery-calcium-scan-)
Coronary Artery Calcium Scans - Are They Useful?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/coronary-artery-calcium-scans-1745753)
Heart scan (coronary calcium scan). Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/heart-scan/about/pac-20384686)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)