กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาหาร Ketogenic Diet คืออะไร?

ความรู้พื้นฐานและวิธีเริ่มรับประทานอาหารสูตรคีโตซิส
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
อาหาร Ketogenic Diet คืออะไร?

เมื่อกล่าวถึงอาหารประเภทที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ คุณอาจเคยได้ยินการรับประทานอาหารรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า คีโตเจนิก ไดเอต (Ketogenic Diet) ปัจจุบันผู้คนยังคงตั้งคำถามมากมายถึงอาหารประเภทนี้ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำทุกตัวถือเป็นอาหารคีโตเจนิกหรือเปล่า? การรับประทานอาหารด้วยวิธีนี้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่? อาหารคีโตเจนิกมีที่มาและประกอบอะไรบ้าง? ข้อดีข้อเสียของการรับประทานอาหารชนิดนี้ได้แก่อะไรบ้าง HonestDocs มีคำตอบ

อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำทุกชนิดไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารคีโตเจนิก

ปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนดว่าเป็น คีโตเจนิก ไดเอต คือ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารว่าต่ำขนาดไหน การลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตอาจให้ประโยชน์มากกับหลายคน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นเป็นอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรับประทานทานอาหารพวกอาหารแอตกินส์จะเริ่มจากการรับประทานอาหารคีโตเจนิกที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำมากๆ แต่เมื่อมีการเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารขึ้นพบว่าคนส่วนใหญ่มักจะรับประทานในปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะทำให้คีโตนในร่างกายสูง ดังนั้นแทนที่จะถามว่า "อาหารใดถือเป็นอาหารคีโตเจนิก?" คำถามที่ดีกว่า คือ "อาหารต้องมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่าไหร่ถึงจะถือว่าเป็นอาหารคีโตเจนิก?"

ภาวะ "คีโตนในร่างกายสูง" คืออะไร?

ภาวะคีโตนในร่างกายสูง หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่มีน้ำตาลกลูโคสเพียงพอที่จะใช้เป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้นร่างกายจึงเปลี่ยนมาสร้างโมเลกุลของคีโตนระหว่างการสลายไขมัน คีโตนสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้แถมยังมีคุณสมบัติพิเศษเป็นแหล่งพลังงานทดแทนน้ำตาลกลูโคสให้กับสมอง ในขณะที่กรดไขมันไม่สามารถใช้แทนได้ นอกจากนี้เนื้อเยื่อบางชนิดยังชอบที่จะเลือกใช้คีโตนหากมีพร้อมให้ใช้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจจะเลือกใช้คีโตนตัวหนึ่งโดยเฉพาะมาเป็นพลังงานเมื่อทำได้

ภาวะคีโตนในร่างกายสูงมีผลเสียหรือไม่?

ภาวะตีโตนในร่างกายสูงที่เกิดจากการอดหรือจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับมันไม่มีผลเสียใดๆ ต่อร่างกายหากปรับตัวเข้ากับสภาพนั้นได้แล้ว ผู้คนมักจะสับสนกับกรณีในคนขาดอินสุลิน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 ที่ต้องพึ่งอินสุลิน โดยพบว่าอาจเป็นอันตรายเกิดเป็นภาวะคีโตนในเลือดสูงชนิด diabetic ketoacidosis โดยภาวะดังกล่าวจะมีคีโตนในร่างกายสูงกว่าภาวะคีโตนในร่างกายสูงจากการรับประทานอาหาร

ภาวะคีโตนในเลือดสูงจากการรับประทานอาหารมัน ถูกเรียกว่า dietary ketosis, physiological ketosis, benign dietary ketosis (Atkins) หรือล่าสุดคือ nutritional ketosis (Phinney and Volek) เพื่อลดความสบสนกับภาวะคีโตนในเลือดสูงแบบ ketoacidosis นอนกจากนี้ยังมีเรื่องของระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงที่ร่างกายใช้ปรับไปใช้ไขมันและคีโตนมาเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนน้ำตาลกลูโคส ในระหว่างนี้ร่างกายอาจแสดงอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย รู้สึกหวิวๆ ปวดหัว หรือหงุดหงิดเล็กน้อย อาการเหล่านี้มักจะหายค่อนข้างง่าย ส่วนใหญ่จะหายภายในสัปดาห์แรกหลังการปรับอาหาร บางกรณีอาจยืดออกไปเป็น 2 สัปดาห์ นักกีฬาที่บันทึกติดตามผลงานที่ตัวเองทำอาจสังเกตอาการเหล่านี้อ่อนๆ นานถึง 6-8 สัปดาห์หลังการปรับอาหารและยังมีหลักฐานอีกว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 12 สัปดาห์ ก่อนร่างกายจะปรับตัวกลับมาเป็นปกติ 100%

ทำไมคนถึงเลือกกินอาหารคีโตเจนิก?

อาหารคีโตเจนิก เริ่มมาเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ นอกจากจะทำให้น้ำหนักลดแล้วเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับการนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการรักษาและป้องกันอาการต่างๆ ปัจจุบันได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคลมชัก ทำให้นักวิจัยหันมาสนใจประโยชน์ทางการรักษาปัญหาทางระบบประสาทอื่นๆ

วารสารโภชนาการทางคลินิกยุโรปฉบับเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2014 ได้รวบรวมอาการที่อาหารคีโตเจนิกเข้ามาช่วยได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กลุ่มที่มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจน เช่น

  • โรคลมชัก
  • ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน (ลดน้ำหนัก)
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจ (โดยเฉพาการปรับระดับไตรกลีเซอไรด์ HDL และคลอเลสเตอรอลให้ดีขึ้น รวมถึงกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับ LDL จำพวกหลอดเลือดแดงอุดกั้น)

กลุ่มที่เริ่มมีหลักฐานสนับสนุนเพิ่มขึ้น เช่น

  • โรคความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ นอกเหนือจากโรคลมชัก รวมถึงโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคลมหลับ การบาดเจ็บทางสมอง และโรค ALS
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
  • สิว
  • มะเร็งบางประเภท โดยเฉพาะมะเร็งสมองบางชนิด

นอกจากนี้ นักกีฬาบางคนเริ่มหันมาทดลองใช้อาหารคีโตเจนิกในการเพิ่มความทน

ทำไมผู้คนถึงเลือกรับประทานอาหารคีโตเจนิก?

อาหารคีโตเจนิกทั่วไป (ไม่รวมกรณีพิเศษของผู้ป่วยโรคลมชัก) มีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

คาร์โบไฮเดรต เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดอาหารประเภทนี้ โดยอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสุทธิน้อยกว่า 50-60 กรัมต่อวัน จะถือว่าเป็นอาหารคีโตเจนิก อย่างไรก็ตาม ในนักกีฬาและผู้ที่มีการเผาผลาญสมบูรณ์ดีอาจรับประทานคาร์โบไฮเดรตสุทธิได้ถึง 100 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าเพื่อรักษาระดับคีโตนในร่างกายให้สูงอย่างเหมาะสม ในขณะที่ผู้มีอายุและเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ค่อยขยับเขยื้อนอาจต้องรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสุทธิต่ำกว่า 30 กรัมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน

โปรตีน ในช่วงแรกของการลดคาร์โบไฮเดรต ปริมาณโปรตีนที่เรารับประทานจะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าในช่วงต่อๆ ไป เช่น ผู้ที่รับประทานอาหารแบบแอตกินส์มักรับประทานโปรตีนค่อนข้างมากตั้งแต่ต้นและคงคีโตนในร่างกายให้สูง เมื่อเวลาผ่านไป คนจำนวนหนึ่งหรืออาจเป็นส่วนใหญ่ต้องระมัดระหว่างเรื่องการรับประทานโปรตีน เนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนโปรตีนไปเป็นกลูโคสได้ดีขึ้น ส่วนปริมาณมากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลทดลองเพิ่มลดและปรับเปลี่ยนสัดส่วนของโปรตีนในอาหารหากจำเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไขมัน พลังงานส่วนใหญ่ของอาหารคีโตเจนิก ได้มากจากไขมัน ปริมาณไขมันที่แน่นอนที่เราควรจะได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่เรารับประทานไป พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน และเราอยากใช้ไขมันสะสมในร่างกายมาเป็นพลังงานเพื่อลดน้ำหนักหรือไม่ โดยประมาณแล้ว 60-80% ของแคลอรี่ที่ต้องการจะมาจากไขมันจากอาหารคีโตเจนิก (อาจสูงถึง 90% เช่น อาหารคีโตเจนิก สำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก) ผู้ที่รับประทานอาหารประเภทนี้มักไม่มีแนวโน้มกินมากเกิน ดังนั้นการคำนวณแคลอรี่อาจเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

ขณะที่เรารับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ชนิดของไขมันที่รับประทานเข้าไปเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง หลายคนแนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย และน้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น ดร.สตีเว่น ฟินนี่ ผู้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารคีโตเจนิก มาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1980 สังเกตว่าผู้ที่รับประทานน้ำมันเหล่านี้ที่หาได้ทั่วไปในมายองเนสและน้ำสลัดจะมีสุขภาพไม่ดีเท่าที่ควร สาเหตุอาจเกิดจากการอักเสบจากการรับประทานไขมันโอเมก้า 6 โดยเฉพาะในปริมาณมากหรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ แต่พบว่าผู้ที่รับประทานน้ำมันจะรู้สึกไม่ค่อยดีหรือทำกิจกรรมได้แย่ลงในการทดลองที่เขาทำ

ในทางตรงข้าม ไขมันที่มีไตรกลีเซอไรด์สายยาวปานกลาง เช่น น้ำมันมะพร้าว จะถูกเปลี่ยนเป็นคีโตนในร่างกายได้ง่าย โดยทั่วไป ผู้ที่รับประทานอาหารคีโตเจนิก มีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารจำพวกที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น น้ำมันมะกอก เนย (แนะนำว่าเป็นเนยจากวัวที่เลี้ยงตามธรรมชาติ) อะโวคาโด และชีส น้ำมันชนิดที่มีกรดโอเลอิคสูงของน้ำมันดอกคำฝอยและน้ำมันดอกทานตะวันเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน เพราะประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมากและมีไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อนต่ำ

ฉันควรวัดค่าคีโตนในร่างกายหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของคุณ หากคุณรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำและได้ผลลัพธ์ที่ตัวเองหวังแล้ว ก็ไม่ควรจะต้องไปกังวลว่าคีโตนตัวเองจะสูงมากน้อยเท่าไหร่ให้เป็นภาระสร้างความยุ่งยากที่ไม่จำเป็น ส่วนใหญ่ก็ไม่แนะนำให้ทำ แม้แต่พวกที่คิดว่าอาหารคีโตเจนิก เป็นสิ่งที่ดีก็เหมารวมอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำมากๆ (น้อยกว่าคาร์โบไฮเดรตสุทธิ 50 กรัมโดยประมาณ) คือ อาหารคีโตเจนิก ในขณะที่คนส่วนใหญ่พบว่าการติดตามค่าคีโตนของตนจะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ได้ไม่ว่าจะทำเพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น

การเพิ่มระดับคีโตนในร่างกายให้สูงอย่างเหมาะสมใช้เวลาทั้งสิ้นเท่าไหร่?

ไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่มันใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ กว่าระดับคีโตนจะสูงเท่ากับที่ตั้งเป้าหมายไว้

ระดับคีโตนของฉันควรสูงเท่าไหร่?

ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้มักให้คำแนะนำให้ตั้งเป้าให้คีโตนในเลือดอยู่ที่ 0.5-3 มิลลิโมลต่อลิตรหรืออาจเพิ่มขึ้นไปถึง 5 โดยไม่แสดงอาการ

วิธีวัดคีโตน

การวัดคีโตนในเลือดถือว่าเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุด มีแถบตรวจเลือดท่ีสามารถทำได้ที่บ้านได้แต่มีราคาสูงมาก ทางเลือกอื่นในการวัดคีโตนคือการใช้แถบตรวจปัสสาวะ ซึ่งเป็นวิธีที่เข้าถึงได้ง่ายและราคาไม่แพง อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีความน่าเชื่อถือลดลงเรื่อยๆ เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวเข้ากับสภาวะคีโตนในร่างกายสูง อย่างไรก็ตามฉันเคยเจอคนจำนวนหนึ่งที่ตรวจคีโตนในปัสสาวะมาเป็นปีๆ และยังคงได้ประโยชน์

ทำไมการรู้ระดับตีโตนในเลือดถึงมีประโยขน์?

ขณะที่ผู้ที่รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำมาเป็นเวลานานพยายามลดน้ำหนักช่วงที่ลดยาก บ้างก็สามารถเอาชนะจุดนี้ได้ คนที่น่าจะมีชื่อเสียงที่สุดที่ทำได้ คือ จิมมี่ มัวร์ ผู้ซึ่งสามารถลดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาแล้วยังลดต่อได้อีก ถึงกระนั้น บางคนอาจรู้สึกลำบากเกินไปที่จะรักษาสภาพร่างกายให้มีคีโตนสูงพอเหมาะตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม หากคุณได้ลองทำดู คุณจะได้เรียนรู้การทำงานของร่างกายตนเองในแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natalie Butler, Keto diet: 1-week meal plan and tips (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327309.php) 13 December 2019
Rudy Mawer, MSc, CISSN , The Ketogenic Diet: A Detailed Beginner's Guide to Keto (https://www.healthline.com/nutrition/ketogenic-diet-101), July 30, 2018
ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร, Ketogenic Diet “คีโตเจนิค” กินไขมันเพื่อลดไขมัน!! (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84/),

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารมังสวิรัติคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูง
อาหารมังสวิรัติคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูง

แนะนำแหล่งอาหารมังสวิรัติคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูง พร้อมคำนวณปริมาณโปรตีนที่ควรรับประทานต่อวัน

อ่านเพิ่ม
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) คืออะไร?
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) คืออะไร?

สารอาหารกลุ่มนี้พบในอาหารทั่วๆ ไปหลายชนิด ซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกาย

อ่านเพิ่ม
ยาลดน้ำหนักที่ชื่อ Alli และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
ยาลดน้ำหนักที่ชื่อ Alli และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ

ยาลดความอ้วนทั้ง Alli, Orlistat และ Xenical นั้นไม่ได้ช่วยลดความอ้วนในกลุ่มผู้ที่รับประทานอาหารสูตร Atkins หรือสูตรที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม