กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HonestDocs
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HonestDocs

เลือดออกจากช่องคลอดเกิดจากอะไรได้บ้าง

เลือดออกช่องคลอด เรื่องใกล้ตัวสาวๆ ที่ไม่ควรพลาด
เผยแพร่ครั้งแรก 20 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลือดออกจากช่องคลอดเกิดจากอะไรได้บ้าง

ปกติแล้วผู้หญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมี "ประจำเดือน" หรือ "รอบเดือน" ออกทางช่องคลอดในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว แต่กรณีที่มีเลือดออกช่องคลอดผิดปกติ นั่นแสดงถึงความผิดปกติของสุขภาพทั้งสิ้น และความผิดปกติเหล่านั้นอาจหมายถึงโรคร้ายที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรเรียนรู้เรื่องนี้ให้ดีเพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ และไม่ควรมองข้าม

สาเหตุของภาวะเลือดออกช่องคลอดผิดปกติ

  1. เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ อันเนื่องมาจากการอักเสบ การติดเชื้อ การติดโรคจากเพศสัมพันธ์ มีบาดแผล หรือความผิดปกติของมดลูก
  2. มีความผิดปกติของฮอร์โมน ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ จนทำให้เกิดภาวะเลือดออกช่องคลอด เช่น การทำงานผิดปกติของรังไข่ มดลูก หรือในหญิงที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน หญิงในวัยหมดประจำเดือน หรือหญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ ซึ่งทำให้ฮอร์โมนแปรปรวนและทำงานผิดปกติ อีกทั้งยังอาจกระตุ้นให้เลือดออกจากช่องคลอดได้
  3. ภาวะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้มีเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์แรกๆ อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดได้ เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” หรือกรณีตั้งครรภ์นอกมดลูก กรณีภาวะที่ตั้งครรภ์แล้วมีภาวะรกเกาะต่ำเกินไป กรณีมดลูกแตก กรณีแท้งหรือเสี่ยงต่อการแท้งลูก ทั้งหมดนี้จะมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสัญญาณเตือน
  4. ความผิดปกติเกี่ยวกับมดลูก ในกรณีนี้จะไม่มีการตั้งครรภ์มาเกี่ยวข้อง เช่น มีเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุในโพรงมดลูกมีความผิดปกติ หรือเป็นมะเร็งมดลูกและโรคมะเร็งปากมดลูก
  5. การอักเสบในช่องคลอด หรือมีบาดแผลเกิดขึ้นในช่องคลอด ก็ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดได้
  6. มีปัญหาเกี่ยวกับโรคภัย หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด หรือปัญหาต่อมไทรอยด์ ที่ทำให้น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ
  7. อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องภายในช่องคลอด เช่น การสวนล้างที่ทำให้เกิดบาดเจ็บในช่องคลอด
  8. ปัญหาทางอารมณ์ที่ทำให้สุขภาพแปรปรวน เช่น มีความเครียดมากเกินไป
  9. การออกกำลังกายอย่างหักโหม จนกระทั่งทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะไม่สมดุล

แนวทางการป้องกันภาวะเลือดออกช่องคลอด

ปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกช่องคลอดนั้น บางสาเหตุก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% ซึ่งอาจทำได้เพียงระมัดระวังตัวเองเท่านั้น โดยเริ่มจากสิ่งเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง 
  • รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ
  • ะลด หรือหลีกเลี่ยงรับประทานที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อเป็นการป้องกันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
  • เมื่อรู้สึกว่า ร่างกายมีความผิดปกติต้องอย่านิ่งนอนใจ และควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับมดลูก 
  • ไม่ซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน หากเจ็บป่วยควรรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมถึงกรณีคุมกำเนิดด้วยเช่นกัน 
  • รักษาอารมณ์ไม่ให้เกิดความเครียดจัดและไม่ออกกำลังกายหักโหม จนมีผลกระทบต่ออวัยวะภายในและหลอดเลือด
  • กรณีที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานเรื้อรังจะต้องดูแลทางด้านอาหารตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน และระมัดระวังไม่ให้เกิดโรคไทรอยด์ที่มาจากภาวะน้ำหนักและอารมณ์ เพราะเมื่อเป็นแล้วอาจมีผลทำให้เลือดออกช่องคลอด เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง
  • ควรรักษาความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่เป็นปัญหาต่อช่องคลอด 
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์บ่อย หรือกระทำอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดอาการอักเสบภายในช่องคลอด 
  • ไม่ประพฤติสำส่อนทางเพศเพื่อป้องกันการติดโรคจากเพศตรงข้าม 
  • ควรเริ่มต้นมีเพศสัมพันธ์เมื่อมีอายุพอสมควร เพราะการมีเพศสัมพันธ์แต่เยาว์วัยยังขาดความรู้ที่จะดูแลตัวเอง และมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาภายในช่องคลอด ซึ่งทำให้มีเลือดออกช่องคลอดผิดปกติได้ง่ายกว่า

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า อาการเลือดออกช่องคลอดนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุก็เกินกว่าจะคาดถึงว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันได้ ฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaginal Bleeding (https://www.mayoclinic.org/sym...)
Diabetes Symptoms in Women (https://www.diabetes.co.uk/dia...)
Andrew M Kaunitz, MD, Differential diagnosis of genital tract bleeding in women (https://www.uptodate.com/conte...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
8 สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแห้ง
8 สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแห้ง

รู้จักและเข้าใจสาเหตุ พร้อมวิธีดูแลตนเองให้ถูกต้องเมื่อตกอยู่ในภาวะนี้

อ่านเพิ่ม
มีเมือก หรือมีน้ําใสๆไหลออกมาท้องไหม
มีเมือก หรือมีน้ําใสๆไหลออกมาท้องไหม

ความปกติกับความผิดปกติแยกออกจากกันได้ไม่ยาก แค่รู้จักสังเกตให้ถูกต้อง

อ่านเพิ่ม