5 ข้อห้าม! ถ้าไม่อยากให้ "อวัยวะเพศหญิง" ติดเชื้อ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 ข้อห้าม! ถ้าไม่อยากให้ "อวัยวะเพศหญิง" ติดเชื้อ

สุขอนามัยของ 'น้องสาว' เป็นเรื่องที่คุณผู้หญิงควรใส่ใจไม่น้อยไปกว่าการดูแลรูปร่าง หน้าตา และผิวพรรณเลย หากคุณผู้หญิงทั้งหลายยังไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมใดบ้างที่ถือว่าเป็นการละเลยความสะอาดของอวัยวะเพศ เราจะพาไปสำรวจข้อห้าม 5 อย่างที่ควรจำไว้ ถ้าไม่อยากให้ ‘น้องสาว’ ติดเชื้อ!

1. ห้ามใส่กางเกงในซ้ำ

อวัยวะเพศหญิงนั้นถูกห้อมล้อมไปด้วยต่อมเหงื่อมากมาย ไม่ว่าเราจะวิ่ง เดิน นั่ง หรือแม้แต่นอนอยู่เฉยๆ เจ้าต่อมเหงื่อเหล่านี้ก็ไม่เคยอู้งานเลยแม้แต่น้อย ซึ่งเหงื่อที่ถูกขับออกมานั้นเป็นตัวดึงดูดแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี และหากแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ช่องคลอดแล้วล่ะก็...เราสามารถคาดเดาได้เลยว่าสิ่งที่จะตามมานั้นคือเชื้อราในช่องคลอดนั่นเอง! ดังนั้น คิดให้ดีว่ายังอยากที่จะหยิบกางเกงในตัวเดิมกลับมาใส่ซ้ำอีกหรือไม่?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำแนะนำ: เปลี่ยนกางเกงชั้นในอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้าและตอนเย็น (หรือก่อนนอน) และอย่าลืมที่จะรีบชำระล้างร่างกายทันทีหลังการออกกำลังกาย

2. ห้ามล้างช่องคลอดด้วยสบู่

การชำระล้างอวัยวะเพศหญิงด้วยสบู่นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติและถูกสุขอนามัย แต่แพทย์แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่บริเวณช่องคลอด เพราะสบู่นั้นนอกจากจะมีส่วนผสมของน้ำหอมแล้ว ยังมีค่า pH ที่สูงมากเกินไปสำหรับช่องคลอดของเราอีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้แหละคือที่มาของผื่นแดงต่างๆและอาการคัน

คำแนะนำ: ใช้สบู่ในการชำระล้างภายนอกของอวัยวะเพศไม่เกินวันละ 1 ครั้ง และล้างช่องคลอดด้วยน้ำสะอาด

3. ห้ามทาเบบี้ออยล์หรือวาสลิน

เบบี้ออยล์และวาสลินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้บำรุงสุขภาพผิวได้เป็นอย่างดี...แต่ไม่ใช่สำหรับผิวที่บริเวณอวัยวะเพศหญิงแน่นอน! เพราะผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของน้ำมันอยู่มาก จึงมักก่อให้เกิดอุปสรรค์ในการชำระล้างไม่มาก็น้อย แล้วเมื่อล้างออกไม่หมด ทั้งความมันและเหนียวเยิ้มจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้นี่แหละที่เป็นตัวดักเชื้อโรคให้มาเจริญเติบโตใกล้ๆกับ ‘น้องสาว’ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

คำแนะนำ: หันมาพึ่งผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนประกอบของน้ำเป็นหลัก ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักมีเนื้อสัมผัสที่เบาบาง ซึมซับได้ง่าย และไม่มัน และควรใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่บริเวณภายนอกของอวัยวะเพศเท่านั้น

4. ห้ามเจาะหรือสัก

การเจาะหรือสักบนอวัยวะทั่วไปก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ แล้วถ้าเป็นบริเวณอวัยวะเพศล่ะ? บอกได้เลยว่า...อย่าเสี่ยง! ผู้ที่นิยมเจาะหรือสักในบริเวณนี้มักมีความเชื่อที่ว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศและความตื่นเต้นในการร่วมเพศได้  ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีการวิจัยไหนยืนยันความเชื่อดังกล่าวเลย หากแต่มีคำยืนยันจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญว่าการกระทำเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะเพศได้

คำแนะนำ: อย่าเจาะหรือสักที่บริเวณอวัยวะเพศหรือแม้แต่ในบริเวณใกล้เคียง ในกรณีที่เจาะไปแล้ว แนะนำให้ถอดเครื่องเครื่องประดับหรือจิวออกและปล่อยให้ผิวหนังกลับเข้าสู่สภาพเดิม เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากเครื่องประดับหรือการฉีกขาดของผิวหนัง แต่ถ้าเป็นการสักก็ให้ปล่อยไว้เช่นเดิม ไม่ควรพยายามลบออกแต่อย่างใด

5. ห้ามสอดใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปข้างใน

สิ่งแปลกปลอมที่เรากล่าวถึงในที่นี้ก็คือผักและผลไม้ หรือแม้กระทั่งของใช้อื่นๆที่ไม่ควรจะถูกสอดใส่เข้าไปในช่องคลอด ลองนึกดูดีๆว่ามีสิ่งสกปรกอะไรบ้างที่ติดมากับผักและผลไม้? ไม่ว่าจะเป็นยากำจัดวัชพืช เศษดิน ฝุ่น หรือแม้แต่ยางของผักและผลไม้ชนิดนั้นๆ และของใช้ชนิดอื่นๆก็สกปรกไม่แพ้กันเลย เพราะฉะนั้นแล้ว เก็บสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ไว้ให้ห่างไกลจาก ‘น้องสาว’ ได้เลย!

คำแนะนำ: sex toy คือทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด และอย่าลืมทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน


27 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Preventing Vaginal Yeast Infections. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/yeast-infection/guide/prevention/)
Yeast infection (vaginal) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/symptoms-causes/syc-20378999)
Eight home remedies for a yeast infection. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317935)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
8 สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแห้ง
8 สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแห้ง

รู้จักและเข้าใจสาเหตุ พร้อมวิธีดูแลตนเองให้ถูกต้องเมื่อตกอยู่ในภาวะนี้

อ่านเพิ่ม
มีเมือก หรือมีน้ําใสๆไหลออกมาท้องไหม
มีเมือก หรือมีน้ําใสๆไหลออกมาท้องไหม

ความปกติกับความผิดปกติแยกออกจากกันได้ไม่ยาก แค่รู้จักสังเกตให้ถูกต้อง

อ่านเพิ่ม