วัคซีนปอดอักเสบ

ปอดอักเสบอันตรายเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วัคซีนปอดอักเสบ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ คือ วัคซีนที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี ซึ่งเป็นเชื้อตัวการที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบมากที่สุด
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เด็กเล็ก มีการฝังเครื่องมือแพทย์ที่หูชั้นใน หรือฝังประสาทหูเทียม ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ คือ กลุ่มผู้เสี่ยงติดเชื้อ และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ วัคซีน PCV กับวัคซีน PPSV ซึ่งวัคซีน 2 ชนิดนี้ห้ามฉีดพร้อมๆ กันในวันเดียวกัน
  • วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบยังไม่ควรฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วย เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง และภูมิคุ้มกันลดลง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ โรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่พักฟื้นในโรงพยาบาล โรคปอดอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา 

ชนิดของแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคปอดอักเสบมากที่สุด คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย "สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae)"  หรือเรียกอีกอย่างว่า "เชื้อนิวโมคอคคัส" (Pneumococcus

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แบคทีเรียชนิดนี้ นอกจากจะทำเกิดโรคปอดอักเสบแล้ว อาจลุกลามจนเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบขึ้น สำหรับป้องกันการติดเชื้อ และอันตรายร้ายแรงจากเชื้อดังกล่าว

ความหมายของวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ หรือ วัคซีนนิวโมคอกคัส (Pneumococcal vaccine) เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคปอดอักเสบที่มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ 

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่า เด็กเล็กทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนปอดอักเสบเพื่อป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้ และยังกำหนดให้วัคซีนชนิดนี้เป็นหนึ่งในบัญชียาจำเป็นขององค์การอนามัยโลกอีกด้วย

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมีกี่ชนิด

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมีทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกัน คือ 

  • วัคซีน PCV (Pneumococcal conjugate vaccine) เป็นการนำเชื้อแบคทีเรียมาจับกับโปรตีนที่เป็นตัวนำส่ง ตัวที่นิยมใช้คือ PCV 13 ซึ่งครอบคลุมการป้องกันเชื้อ pneumococcus 13 สายพันธุ์ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
  • วัคซีน PPSV (Pneumococcal polysaccharide vaccine) จะใช้คาร์โบไฮเดรตขนาดใหญ่เป็นตัวนำส่ง ทำให้มีความจำเพาะ และมีประสิทธิภาพสูง ตัวที่นิยมใช้คือ PPSV 23 ที่สามารถป้องกันเชื้อได้ 23 สายพันธุ์ ส่วนมากแนะนำให้ฉีดในผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป

ผู้ที่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโรคปอดอักเสบ ได้แก่

  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคปอดอักเสบลุกลาม
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ตัดม้ามออกแล้ว ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ โรคเบาหวาน โรคปอด น้ำในสมองรั่วและไขสันหลังรั่ว
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • ผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องมือแพทย์ที่หูชั้นใน หรือฝังประสาทหูเทียม 

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

  • สำหรับเด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีความเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบ ควรได้รับวัคซีน PCV จำนวน 3 เข็ม ในช่วงปีแรกหลังคลอด คือ ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน จากนั้นจึงฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มเมื่ออายุ 12 เดือน
  • สำหรับผู้ที่มีอายุ 2 ปี ขึ้นไป และมีความเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบ ควรฉีดวัคซีน PCV 1-2 เข็ม (ห่างกัน 8 สัปดาห์) และฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็ม โดยห่างจากเข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์
  • สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งชนิด PCV และ PPSV โดยฉีดวัคซีน PCV ก่อน 1 เข็ม ตามด้วย PPSV โดยห่างกัน 12 เดือน

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบร่วมกับวัคซีนอื่น

หากต้องฉีดวัคซีนปอดอักเสบทั้ง 2 ชนิด คือ PCV และ PPCV ห้ามฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้พร้อมกัน หรือภายในวันเดียวกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน IPD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1455 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณควรฉีดวัคซีน PCV ก่อน แล้วจึงตามด้วย PPSV ในวันอื่น ห่างกันอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพราะจากการศึกษาพบว่าการฉีด PCV ก่อน จะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคปอดอักเสบสูงกว่า

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • ในเด็ก อาจทำให้เกิดไข้สูงจนเกิดอาการชักได้ (febrile seizures)
  • ในผู้ใหญ่ การฉีดร่วมกันสามารถทำได้ แต่จากการศึกษาในผู้ที่อายุสูงกว่า 65 ปี พบว่า การฉีดร่วมกันหรือภายในวันเดียวกันทำให้ภูมิคุ้มกันต่อทั้งเชื้อปอดอักเสบ และเชื้อไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ลดลง

ดังนั้นโรงพยาบาลส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงการให้วัคซีนปอดอักเสบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน หรือในวันเดียวกัน เพื่อประสิทธิผลสูงสุดของวัคซีน และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบร่วมกับวัคซีนอื่นๆ

 ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีน PCV ร่วมกับวัคซีนอื่นในวันเดียวกันว่าเป็นอันตรายหรือไม่ เช่น วัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap) วัคซีนป้องกันงูสวัด (Zoster vaccine)

แต่ได้มีการศึกษาพบว่า การให้วัคซีนปอดอักเสบชนิด PPCV กับ วัคซีนงูสวัด ในวันเดียวกัน จะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคงูสวัดต่ำล งเมื่อเทียบกับการให้วัคซีนห่างกัน 4 สัปดาห์

ดังนั้นหากคุณจำเป็นต้องได้รับทั้งวัคซีนปอดอักเสบ PCV และ PPCV ร่วมกับ วัคซีนงูสวัด ควรให้วัคซีน PCV ร่วมกับวัคซีนงูสวัดก่อน แล้วจึงให้วัคซีน PPCV ในภายหลังห่างกันอย่างน้อย 8 สัปดาห์ หรือห่างกันอย่างน้อย 1 ปี ในคนอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

วัคซีนปอดอักเสบอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ เช่น มีอาการปวด บวม บริเวณผิวหนังที่ฉีด มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน 

อาการเหล่านี้สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้ ผู้รับวัคซีนบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น แพ้วัคซีน มีผื่นขึ้นตามตัว ใบหน้าและตาบวม หายใจลำบาก ซึ่งพบได้น้อยมาก แต่หากเกิดอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ที่ไม่ควรฉีดวัคซันป้องกันโรคปอดอักเสบ

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ได้แก่

  • ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือมีปฏิกิริยารุนแรงต่อวัคซีนปอดอักเสบในการฉีดครั้งก่อน
  • ผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
  • ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหาย

ระยะเวลาของภูมิคุ้มกันปอดอักเสบหลังจากฉีดวัคซีน

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบชนิด PCV เป็นวัคซีนที่ตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในผู้สูงอายุ และระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงภายหลังการฉีดวัคซีนประมาณ 5-10 ปี

โรคปอดอักเสบเป็นโรคร้ายแรงทำอันตรายถึงชีวิตได้ ทางที่ดีคุณ และคนในครอบครัวควรเข้ารับการฉีดวัคซีนชนิดนี้กันทุกคน หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ พร้อมขอคำแนะนำว่า ควรรับวัคซีนตัวใดเพิ่มเติมอีกเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ตรวจก่อนแต่งจากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization (2019). "World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019". World Health Organization. hdl:10665/325771
"Pneumococcal vaccines WHO position paper--2012" (PDF). Wkly Epidemiol Rec. 87 (14): 129–44. 6 April 2012. PMID 24340399. Archived (PDF) from the original on 22 December 2015.
นศภ. สถาพร ขนันไทย, วัคซีนในผู้สูงอายุจำเป็นต้องฉีดหรือไม่? (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=37)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป