รวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนทุกชนิด

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนทุกชนิดที่จำเป็นต้องฉีด และวัคซีนเสริมที่น่ารู้
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนทุกชนิด

วัคซีน (Vaccine) คือ สารที่มีคุณสมบัติบางประการเหมือนเชื้อโรค เมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจึงเกิดการตอบสนองต่อสารนั้นเหมือนตอนที่ร่างกายเราได้รับเชื้อ นั่นคือมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อนั้นๆ ขึ้นทำให้เมื่อถึงเวลารับเชื้อโรคจริงๆ ร่างกายก็จะหลั่งภูมิคุ้มกันออกมาได้รวดเร็ว วัคซีนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อของร่างกายได้เป็นอย่างดี 

อย่างไรก็ตาม การจะฉีดวัคซีน 1 เข็ม ต่อ 1 โรคก็อาจไม่สะดวกนัก จึงมีการคิดค้นวัคซีนรวมต้านเชื้อหลายชนิดขึ้นในเข็มเดียวเพื่อลดระยะเวลาและลดการเจ็บปวดของผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกวัคซีนจะรวมกันได้เสมอไปเพราะเชื้อบางเชื้อก็ไม่ถูกกัน บางเชื้อรวมกันแล้วเกิดการตกตะกอน หรือเมื่อจับเข้าด้วยกันแล้วทำให้เชื้อนั้นๆ มีรูปร่างลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายก็สร้างแอนติบอดีมาจับกับเชื้อได้ไม่ถูกต้อง หรือเรียกว่าเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันผิดเชื้อนั่นเอง

ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนรวม 6 โรค ใน 1 เข็ม ได้แก่

  • โรคคอตีบ (Diphtheria)
  • โรคไอกรน (Pertussia)
  • โรคบาดทะยัก (Tetanus)
  • โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B)
  • โรคโปลิโอ (Polio)
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ (Hib)

วัคซีนรวมข้างต้นอาจจะไม่ได้ครอบคลุมสำหรับทุกสิทธิ์การรักษา ส่วนวัคซีนรวมที่ครอบคลุมในสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นวัคซีนสำหรับเด็ก ได้แก่ วัคซีนรวม หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) และคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTwP)

ในปัจจุบันมีข้อมูลชัดเจนว่า ช่วงอายุเท่าไหร่ควรได้รับวัคซีนใดบ้าง ซึ่งมีตารางรวมออกมาให้เป็นภาพให้เข้าใจได้ง่ายด้านล่าง

ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2562

วัคซีนจำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน

วัคซีน อายุ

แรกเกิด

1 เดือน

2 เดือน

4 เดือน

6 เดือน

9-12 เดือน

18 เดือน

2 ปี

2 ½ ปี

4-6 ปี

11-12 ปี

บีซีจี (BCG)

BCG

ตับอักเสบบี (HBV)

HBV1

(HBV2)

DTwP-HB-
Hib-1

DTwP-HB-
Hib-2

DTwP-HB-
Hib-3

คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)

DTwP กระตุ้น 1

DTwP กระตุ้น 2

Td และทุก 10 ปี

ฮิบ (Hib)

โปลิโอชนิดกิน (OPV)

OPV1

OPV2 + IPV

OPV3

OPV กระตุ้น 1

OPV กระตุ้น 2

หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR)

MMR1

MMR2

ไข้สมองอักเสบเจอี (live JE)

JE1

JE2

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

Influenza ให้ 2 เข็ม ห่างกัน 2 เดือน ในครั้งแรก

เอชพีวี (HPV)

เด็กหญิงป.5 2 เข็ม
ห่างกัน 6-12 เดือน


วัคซีนอื่นๆ ที่อาจให้เสริม หรือทดแทน

วัคซีน อายุ

2 เดือน

4 เดือน

6 เดือน

12-15 เดือน

18 เดือน

2-2½ เดือน

4 ปี

6 ปี

9 ปี

11-12 ปี

15 ปี

คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์
(DTaP, Tdap หรือ TdaP)

DTaP1

DTaP2

DTaP3

DTaP กระตุ้น 1

Tdap หรือ
DTaP กระตุ้น 2

Tdap หรือ TdaP
ต่อไป Td ทุก 10 ปี

โปลิโอชนิดฉีด (IPV)

IPV1

IPV2

IPV3

(IPV4)

IPV5

ฮิบ (Hib)

Hib1

Hib2

Hib3

(Hib4)

นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV)

PCV1

PCV2

(PCV3)

PCV4

โรต้า (Rota)

Rota1

Rota2

(Rota3)

ไข้สมองอักเสบเจอี (inactivated JE)

JE1, JE2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ และ JE3 อีก 1 ปี

ตับอักเสบเอ (HAV)

HAV ชนิดเชื้อไม่มีชีวิต ให้ 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน ชนิดเชื้อมีชีวิต ฉีดเข็มเดียวเมื่ออายุ 18 เดือนขึ้นไป

อีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวม
หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)

VZV1
(หรือ MMRV1)

VZV2
(หรือ MMRV2)

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

Influenza ให้ปีละครั้ง (ในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ให้ 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ในครั้งแรก)

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)

HPV 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน

ไข้เลือดออก (DEN)

DEN 3 เข็ม 0,6 และ 12 เดือน

พิษสุนัชบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค

2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 7 วัน

รายละเอียดของวัคซีนในตาราง 

  • วัคซีน BCG 

วัคซีนป้องกันโรควัณโรค (Tuberculosis) ซึ่งเป็นโรคระบาดในประเทศไทย ดังนั้นเด็กทุกคนจำเป็นต้องได้รับวัคซีนนี้เป็นการป้องกันแต่เนิ่นๆ เพราะตัวโรควัณโรคอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ยิ่งถ้าเชื้อติดในเด็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำอยู่ เชื้ออาจจะไปทำลายได้หลายระบบ ส่วนมากติดผ่านทางระบบหายใจไปเป็นวัณโรคปอด หากเข้าสู่กระแสเลือดก็ลามไประบบย่อยอาหาร ระบบต่อมน้ำเหลืองได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

  • วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) 

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูก หรือสารคัดหลั่งต่างๆ ไวรัสตับอักเสบถือเป็นโรคระบาดในประเทศไทยเช่นกัน อาการของโรคจะมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงตับวายจนเกิดเป็นตับแข็งได้ โดยการฉีดป้องกันนั้น คือ ฉีดตั้งแต่แรกเกิดและเมื่อมีอายุ 1 เดือน หลังจากนั้นจะฉีดเป็นเข็มรวมกับวัคซีน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์และวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียฮิบ (Hib) ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน จากนั้นให้กระตุ้นวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ที่ 18 เดือน และ 4-6 ปี อีก 2 ครั้ง หลังจากนั้นให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักที่ 11-12 ปี และทุกๆ 10 ปี

  • วัคซีนโปลิโอชนิดกิน 

วัคซีนป้องกันโรคกล้ามเนื้อลีบโปลิโอซึ่งจะให้วัคซีนนี้ตอนอายุ 2, 4 และ 6 เดือน จากนั้นให้กระตุ้นที่อายุ 18 เดือน และ 4-6 ขวบ อีก 2 ครั้ง

  • วัคซีน (MMR) หรือวัคซีนป้องกันคางทูม และวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE) 

วัคซีนนี้จะให้ที่อายุโตขึ้นมาหน่อยคือ อายุ 9-12 เดือน และ 2 ปีถึง 2 ปีครึ่ง ทั้งหมด 2 เข็ม โดย ซึ่งโรคสองโรคนี้มักติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งของร่างกาย ปัจจุบันไม่ค่อยพบเพราะระบบป้องกันเชื้อค่อนข้างดีขึ้นมาก

เป็นวัคซีนป้องกันที่ต้องได้รับทุกๆ ปี โดยครั้งแรกของชีวิตให้ที่อายุช่วง 6-24 เดือน โดยให้ 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นต้องมารับวัคซีนทุกปี เนื่องจากเชื้อโรคจะมีการกลายพันธุ์ไปจากเดิม และผู้คิดค้นวัคซีนก็จะมีการปรับปรุง พัฒนา เพื่อให้สามารถต้านทานเชื้อเหล่านั้นได้

  • วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccine) 

เป็นโรคที่อยู่ในอวัยวะเพศชายแต่จะไม่ก่อโรคในเพศชาย ะติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเห็นได้ว่า ตามแผนผังคือ ให้เริ่มฉีดตั้งแต่อายุ 11 ปี แต่หากใครยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ ให้ฉีดก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จากงานวิจัยพบว่า จะให้ผลการป้องกันที่ดีกว่าโดยฉีดทั้งหมด 2 เข็ม เข็มที่สองห่างจากเข็มแรก เป็นระยะเวลา 6เดือน

วัคซีนเสริมที่น่ารู้และเพิ่มเติมจากวัคซีนที่ต้องฉีด 

  • วัคซีน PPSV23 และ PCV13 

ป้องกันโรคจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นเชื้อที่มักก่อโรคบริเวณทางเดินหายใจเป็นหลัก เช่น ปอดอักเสบ การฉีดวัคซีนนั้นเริ่มจากจะฉีดวัคซีน PCV13 1 ครั้ง ตอนอายุ 6-18 ปี และผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 59 ปี ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ต้องตัดม้าม หรือเป็นโรคอื่นๆทางภูมิคุ้มกัน หลังจากนั้นให้มากระตุ้นโดยฉีด PPSV23 2 ครั้ง เว้นระยะห่างกัน 5 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

  • วัคซีนอีสุกอีใส (VZV) 

ความจริงโรคอีสุกอีใสสามารถหายได้เองและฉีดวัคซีนก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่มีโอกาสติดเชื้ออีก วัคซีนอีสุกอีใสจึงจัดเป็นวัคซีนเสริมที่ต้องจ่ายเงินเพื่อรับวัคซีนเอง หากต้องการฉีดให้ฉีดในช่วง 1-4 ขวบ จำนวน 2 เข็ม

เป็นอีกวัคซีนที่ไม่ได้บังคับฉีดเพราะแม้จะฉีดแล้วก็ไม่สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ หากจะฉีดวัคซีนนี้จะทำในช่วงอายุ 9-15 ปี จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 6-12เดือน

การฉีดวัคซีนทำให้เกิดแผลนูน (คีรอยด์) หรือไม่?

การฉีดวัคซีนไม่ทำให้เกิดคีรอยด์

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีด?
วัคซีนคอตีบ คืออะไร จำเป็นต้องฉีดไหม ใครควรฉีดบ้าง ราคาเท่าไร?


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข,วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae (http://data.nvi.go.th/vaccineknowledge/file_download/optional-vaccines/pnc.pdf), 2556.
Arbyn M, Xu L, Simoens C, Martin-Hirsch PPL แปลโดย นศพ. อภิวิชญ์ อภินิเวศ ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การฉีดวัคซีนไวรัส HPV เพื่อป้องกันการเป็นมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงก่อนการเป็นมะเร็งปากมดลูก(https://www.cochrane.org/th/CD009069/kaarchiidwakhchiinaiwras-hpv-ephuuepngkankaarepnmaerngaelakaarepliiynaeplngknkaarepnmaerngpaakmdluuk), 9 May 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)