Total bilirubin จากการตรวจสมรรถภาพของตับมีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย ?

เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
Total bilirubin จากการตรวจสมรรถภาพของตับมีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย ?

Total bilirubin คำแนะนำ ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

    เพื่อจะทราบว่าค่าบิลิรูบินทั้งหมด (ที่เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง) มีค่ามาก / น้อยกว่าค่าปกติเพียงใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

    ค่าที่ผิดปกติย่อมอาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญถึงสภาวะการเกิดโรคของตับรวมทั้งอวัยวะอื่นเช่น ไต เม็ดเลือดแดง (สภาวะเลือดจาง ?) หรือนิ่วในถุงน้ำดี

คำอธิบายอย่างสรุป

                1. คำว่า "bilirubin" (บิลิรูบิน) มีรากศัพท์มาจากคำเดียวกันกับคำว่า "bile" (บิล) ที่แปลว่าน้ำดี ซึ่งปกติจะมีอยู่ในถุงน้ำดีของตับ

                2. กระบวนการการเกิดขึ้นของ bilirubin นั้นเป็นผลมาจากการที่เม็ดเลือดแดงซึ่งหมดอายุ (ปกติจะมีอายุขัยเพียงประมาณ 120 วัน) ก็จะถูกม้าม "จับตัว" แล้วทำการสลาย hemoglobin ที่อยู่ภายในเม็ดเลือดแดงให้ส่วนหนึ่งกลายเป็นกรดอะมิโนเช่นเดียวกับสารอาหารที่ร่างกายใช้ประโยชน์ในฐานะสารโปรตีน แต่อีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า "heme" ซึ่งละลายในน้ำ (เลือด) ไม่ได้จำต้องอาศัยเกาะจับติดมากับอันบูมินซึ่งจะได้ล่องลอยไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตับ

                ทันทีที่ heme+albumin จับตัวก่อการลอยได้ในกระแสเลือดมันก็จะได้ชื่อใหม่เป็น “bilirubin” แต่เมื่อยังเดินทางไปไม่ถึงตับก็จะถูกเรียกวลีนำหน้าชื่อว่า “indirect” (คือยังพบประกับตับไม่ได้โดยตรง) โดยเรียกเป็นคำรวมว่า “indirect bilirubin”

                ฉะนั้นหากเอ่ยชื่อ ว่า bilirubin เฉยๆ เมื่อใดก็ต้องหมายถึงว่าเป็น “indirect bilirubin” เสมอไป

                เมื่อ bilirubin ลอยตามกระแสเลือดไปจนถึงตับก็จะถูกตับจับไปผสมกับกรดชนิดหนึ่งจนมันมีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้ปรากฏเป็นสารของเหลวสีเหลืองตรงนี้จึงได้ชื่อใหม่ถูกเรียกว่า “indirect bilirubin”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

(ในทำนองว่าได้พบกับตับโดยตรงแล้วนั่นเอง) บางตำราก็เรียกว่า "conjugated bilirubin" หรือบิลิรูบินที่ประสมแล้ว

                3. Direct bilirubin ที่ประสมใหม่นี้จะเป็นของเหลวสีเหลืองละลายได้ในน้ำและในขนาดนั้นมันอยู่ในตับอยู่แล้ว ก็จะถูกปรับจัดการผสมกับ "น้ำดี" (bile) แล้วปล่อยออกทางท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กให้ช่วยกันย่อยอาหารและกลายเป็นกากอาหารต่อไป

                กรณีที่ตับทำหน้าที่ไม่ได้เช่นเกิดโรคตับแข็ง (cirrhosis) โรคตับอักเสบ (hapatitis) ฯลฯ จึงย่อมจะปล่อยของเหลวสีเหลืองออกทิ้งไม่ได้คงต้องวนเวียนอยู่ในกระแสเลือดทำให้ร่างกายเกิดอาการสีเหลืองเรียกว่าสภาวะดีซ่าน (jaundice)

                4. ขนาดยังอยู่ในช่องทางเดินอาหารนับตั้งแต่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ direct bilirubinที่ปนอยู่กับกาอาหารบางส่วนจะถูกดูดซึมให้ร่างกายกลับมาใช้ (absorb)โดยผ่านเข้าทางผนังลำไส้แต่บางส่วนก็จะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียประจำถิ่นภายในลำไส้เกิดเป็นของเสียสีเหลืองปนออกมากับกากอาหารทำให้อุจจาระปรากฏเป็นสีเหลืองๆ หรือสีน้ำตาล

                5. แต่ direct bilirubin ส่วนน้อยบางส่วนในตับที่ปล่อยออกทิ้งทางท่อน้ำดีไม่ทันก็จะล้นจากตับเข้าสู่กระแสเลือด (ตรงนี้เองเมื่อถูกตรวจเลือดจึงอาจพบ direct bilirubin ได้) ทำให้ตกเป็นภาระหน้าที่ของไตที่จะต้องกรองเอา direct bilirubin ออกจากเลือดแยกทิ้งปนออกมากับน้ำปัสสาวะทำให้เห็นน้ำปัสสาวะมักปรากฏเป็นสีเหลืองๆ

                6. ในทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับโรคโลหิตวิทยาจะสามารถตรวจวิเคราะห์พบค่าได้ทั้ง "indirect bilirubin" (หรือ unconjugated bilirubin) และ direct bilirubin หรือ (conjugated bilirubin)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ทั้งนี้อาจคำนวณได้ว่า

Total bilirubin = direct bilirubin + indirect bilirubin

                7. แต่ในทางพฤตินัยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์โลหิตโดยทั่วไปจะตรวจหาค่าจริงๆเฉพาะค่า total bilirubin และค่าdirect bilirubinเท่านั้น

                ฉะนั้น หากต้องการทราบค่า indirect bilirubin ก็จะใช้วิธีคำนวณจากสมการ (ในข้อ6.) กล่าวคือเอาค่าdirect bilirubin ลบออกจาก total bilirubin ผลลัพธ์ก็คือค่าของ indirect bilirubin

ค่าปกติของ total bilirubin

                1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)

                2. ค่าปกติทั่วไป

                                ผู้ใหญ่                    total bilirubin      :               0.3 – 1.0 mg/dL

                (รวมผู้สูงอายุ, เด็ก)

                                ทารก                     total bilirubin      :               2.0 – 12.0 gm/dL

ค่าผิดปกติ

                1. ในทางน้อย มักไม่ปรากฏเนื่องจากว่าเม็ดเลือดแดงจำนวนหนึ่งย่อมจะตกต้องถึงการสิ้นอายุขัยเป็นปกติวิสัยด้วยการมีอายุเพียงประมาณ 120 วันโดยทยอยกันตายทุกวันในกรณีนี้ย่อมจะทำให้ม้ามจำต้องจัดการกำจัด “ซาก” เม็ดเลือดแดงแล้วนำไปสร้าง bilirubin ให้มีเกิดขึ้นได้ทุกวันเรียกว่าจะให้น้อยหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกตินั้นย่อมเป็นไปไม่ได้

                2. ในทางมากอาจแสดงผลว่า

                ก. ได้เกิดสภาวะความผิดปกติเกิดขึ้นที่ หน่วยสร้าง bilirubin หรือหน่วยทำลาย bilirubin ในระบบกลไกของร่างกาย

                หน่วยสร้าง คือ ม้าม โดยมีวัตถุดิบ คือเม็ดเลือดแดงที่กำลังหมดอายุ ซึ่งจะมีจำนวนแน่นอนคงที่จำนวนหนึ่ง หน่วยทำลายคือ ตับและไต

                ค่า bilirubin ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสมดุมระหว่างหน่วยสร้างและหน่วยทำลาย bilirubin

                ฉะนั้นค่า Total bilirubin ที่สูงขึ้นจึงอาจมีสาเหตุจากเม็ดเลือดแดงกูกทำลายมากกว่าปกติ หรือตับทำงานผิดปกติ หรือไตทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจพบในข้อต่อไป

                ข. กรณีโรคโลหิตจางซึ่งมีเหตุเพราะเม็ดเลือดแดงมีขนาดผิดปกติทุกกรณีย่อมถูกม้ามทำลายได้ง่ายจึงทำให้เกิด bilirubin สูงขึ้นจนตับเปลี่ยนแปลง(conjugated) ให้กลายเป็น direct bilirubin ได้ไม่ทันดังนั้นค่า total bilirubinจึงอาจสูงขึ้น

                ค. กรณีทารกในครรภ์หรือแรกเกิดก็ตามมีเลือดในร่างกายคนเราหมู่เลือด (group) หรือ Rh มีต่างชนิดกับมารดาย่อมอาจมีปัญหาร้ายแรงเนื่องจากร่างกายมารดาอาจจะสร้างสาร anti- Rh ไปทำลายเม็ดเลือดแดงของบุตรผ่านทางสายรก แม้แต่จะคลอดออกมาแล้วสาร anti-Rh นี้ก็ยังอาจมีผลอยู่ทำให้เด็กเกิดภาวะเลือดจางหรือดีซ่าน

                เมื่อเม็ดเลือดแดงมีขนาดและลักษณะไม่สมประกอบม้ามในร่างกายทารกอาจจะทำลายเม็ดเลือดแดงแล้วสร้างเป็นbilirubin ในเลือดของทารกให้สูงค่าขึ้นอย่างผิดปกติสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายในทารกนี้ทางการแพทย์ท่านจะเรียกว่า erythroblastosis fetalis

                กรณีอย่างนี้ ค่า total bilirubin ในตัวทารกจะสูงกว่าเกณฑ์ปกติซึ่งอาจนับเป็นตัวชี้สิ่งบอกเหตุแรกเพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยเรื่องอื่นต่อไป

                ง. กรณีร่างกายมีการชำระเลือดขนาดใหญ่ซึ่งมีลักษณะเป็นจ้ำแดงๆ หรือดำๆ บริเวณผิวหนังคล้ายกับถูกกระแทกด้วยของหนักทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและเม็ดเลือดแดงแตกแต่ไม่ถึงกับเป็นบาดแผลกรณีอย่างนี้ม้ามก็ต้องจัดการทำไรเม็ดเลือดแดงที่แตกจึงอาจทำให้ค่า total bilirubin สูงขึ้นกว่าปกติ

                จ. กรณีตับมีสภาวะผิดปกติเช่น ตับอักเสบ (hepatitis) ตับแข็ง (cirrhosis) หรือเกิดภาวะพิษเพราะติดเชื้อ (sepsis) ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุสำคัญซึ่งทำให้ตับอาจทำหน้าที่ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพนั่นคือการเปลี่ยนbilirubin ให้เป็น direct bilirubin เพื่อจะได้นำเอาทิ้งทางท่อน้ำดีไม่ได้อย่างเคยย่อมมีผลทำให้bilirubin คับคั่งขึ้นในกระแสเลือดตรงนี้เองที่ทำให้ใบหน้าและนัยน์ตาออกสีเหลืองที่เรียกว่าสภาวะดีซ่าน (jaundice) นั่นคือค่า direct bilirubinย่อมสูงขึ้นกว่าปกติ

                ฉ. กรณีไตทำหน้าที่บกพร่อง (impaired renal function) ย่อมมีผลทำให้การปล่อยทิ้ง direct bilirubin ออกทางน้ำปัสสาวะไม่สะดวกก็อาจมีส่วนทำให้ total bilirubinในเลือดสูงขึ้น

                โดยเหตุนี้หากตรวจเลือดแล้วพบว่าเม็ดเลือดแดงก็มีลักษณะรูปร่างปกติไม่มีอาการของโรคโลหิตจางมามก็เป็นปกติตลอดจนสภาวะโดยทั่วไปของตับก็เป็นปกติดีแต่ค่า total bilirubin ในเลือดยังสูงอยู่

กรณีอย่างนี้ไม่ควรมองข้ามไต

                ช. ในกรณีของเด็กทารกแรกเกิดหามีค่า total bilirubinสูงเกินเกณฑ์จนผิด ปกติ ประกอบกับเริ่มมีสภาวะดีซ่าน (jaundice) กล่าวคือตัวเหลืองและตาเหลืองในทางการแพทย์ท่านอาจสันนิษฐานว่าเป็นสภาวะโรคคริกเกอร์-นัขจาร์ (Crigler-Najjar syndrome) ซึ่งมักจะเกิดกับทารกแรกคลอดประมาณสองถึงสามวันสาเหตุเกิดจากเด็กได้รับยีน (gene) ทางจากบิดาและมารดาซึ่งเป็นยีนขัดขวางเอนไซม์ที่ใช้เปลี่ยนbilirubin ที่ไม่ละลายน้ำ (indirect bilirubin) ซึ่งตับพยายามจะเปลี่ยนให้เป็นชนิดละลายน้ำได้ (direct bilirubin) แต่เปลี่ยนไม่สำเร็จเพราะขาดเอนไซม์จึงเป็นผลทำให้ total bilirubin ท่วมท้นในกระแสเลือดจนนำไปสู่สภาวะดีซ่านอย่างร้ายแรง

                หากทารกไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงทีก็จะเกิดสภาวะอันตรายที่เรียกว่า เคอร์นิคเตอรัส (kernicterus) กล่าวคือการเกิดพิษจากbilirubin ในสมองของทารกร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

                แต่เคราะห์ดีที่ว่าโดยสถิติโลกนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากเพราะต้องเป็นพันธุกรรมประจวบเหมาะที่บิดาและมารดาต่างเป็นพาหะของยีนซึ่งผิดปกติที่ถ่ายทอดให้ทารกพร้อมกันและเมื่อเด็กเกิดมาแล้วมากมายรอดชีวิตจึงหมดโอกาสที่จะถ่ายทอดให้บุตรหลานต่อไปได้

                ซ. การกินยารักษาโลกอย่างเป็นประจำก็อาจมีส่วนทำให้ค่า total bilirubin สูงกว่าปกติ เช่น ยาประเภท steroid ยาปฏิชีวนะ ยาแก้โรคความดันเลือดสูง ยารักษาโรคเบาหวาน ยากินคุมกำเนิด ฯลฯ

                หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bilirubin Test: High vs. Low Levels, Direct vs. Indirect. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/bilirubin-test#1)
Bilirubin blood test. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003479.htm)
Bilirubin Test: Normal & High Bilirubin Levels in Adults & Newborns. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/bilirubin_and_bilirubin_blood_test/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป