การตรวจระดับฮอร์โมนทีสาม (T3 Test)

การตรวจระดับฮอร์โมน T3 คืออะไร ทำไมจึงต้องตรวจ มีขั้นตอนการตรวจอย่างไรบ้าง ตรวจแล้วทราบผลเลยหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจระดับฮอร์โมนทีสาม (T3 Test)

การตรวจระดับฮอร์โมน T3 คืออะไร

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณคอ ด้านล่างลูกกระเดือก (Adam’s Apple) มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนและควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย รวมถึงความไวของร่างกายในการตอบสนองต่อฮอร์โมนอื่นๆ

ฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์สร้าง มี 2 ชนิดคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. Triiodothyronine หรือ T3
  2. Thyroxine หรือ T4

ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมการเผาผลาญพลังงาน และอัตราการเต้นของหัวใจ

ส่วนใหญ่ฮอร์โมน T3 จะจับอยู่กับโปรตีน แต่ฮอร์โมน T3 ที่ไม่ได้จับกับโปรตีนจะเรียกว่า T3 อิสระ (Free T3) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด การตรวจระดับฮอร์โมน T3 ที่เป็นที่นิยม คือการตรวจ T3 total test ซึ่งเป็นการวัดปริมาณฮอร์โมน T3 ทั้ง 2 ชนิดที่อยู่ในเลือด

เมื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน T3 ในเลือดแล้ว แพทย์จะประเมินได้ว่าคุณเป็นโรคของต่อมไทรอยด์หรือไม่

ทำไมจึงต้องตรวจฮอร์โมน T3

แพทย์จะสั่งให้คุณเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน T3 เมื่อสงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคของต่อมไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) : ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป
  • โรคต่อมใต้สมองทำงานน้อยเกินไป (Hypopituitarism) : ภาวะที่ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมใต้สมองออกมาในระดับปกติ
  • โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) : คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยเกินไป
  • อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxic Periodic Paralysis) : เกิดขึ้นจากการที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป ทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness)

โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Disorder) เป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย คุณอาจมีอาการเกี่ยวกับอารมณ์ หรือมีปัญหาทางกาย ขึ้นอยู่กับโรคของต่อมไทรอยด์ที่เป็น

อาการที่เกิดขึ้นได้จากโรคของต่อมไทรอยด์ ได้แก่

ถ้าคุณได้รับการยืนยันจากแพทย์ว่าเป็นโรคของต่อมไทรอยด์ แพทย์อาจใช้การตรวจ T3 เพื่อติดตามอาการ และการเปลี่ยนแปลงของโรคด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในบางครั้ง แพทย์อาจสั่งเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน T4 (T4 test) หรือฮอร์โมน TSH (TSH test) โดยฮอร์โมน TSH มีชื่อเต็มว่า Thyroid-Stimulating Hormone มีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมน T3 และ T4

การตรวจระดับฮอร์โมน T4 หรือ TSH หรือตรวจทั้ง 2 ฮอร์โมนร่วมกับการตรวจฮอร์โมน T3 จะช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่า สถานการณ์ของโรคเป็นอย่างไรในขณะนั้น

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจฮอร์โมน T3

ก่อนการตรวจฮอร์โมน T3 คุณจะต้องแจ้งแพทย์เกี่ยวกับรายการยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากยาบางชนิดอาจรบกวนผลการตรวจฮอร์โมน T3 ได้

เมื่อแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้หยุดยาชั่วคราวก่อนการตรวจ เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ

ยาที่มีผลกระทบต่อการตรวจระดับฮอร์โมน T3 ได้แก่

  • ยาที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์
  • ยาสเตียรอยด์ (Steroids)
  • ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด หรือยาอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน เช่น แอนโดรเจน (Androgens) และเอสโตรเจน (Estrogens)

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมน T3

การตรวจฮอร์โมน T3 สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่เจาะเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยทั่วไป ค่าปกติของระดับฮอร์โมน T3 คือ 100 - 200 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร (ng/dL)

แม้ผลการตรวจ T3 จะปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าต่อมไทรอยด์จะทำงานปกติ ดังนั้นการตรวจระดับฮอร์โมน T4 และ TSH จึงเป็นอีกตัวช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่าคุณเป็นโรคของต่อมไทรอยด์หรือไม่

หากผลการตรวจฮอร์โมน T3 ผิดปกติ มีความหมายว่าอย่างไร?

เนื่องจากการทำงานของต่อมไทรอยด์มีความซับซ้อน การตรวจเพียงฮอร์โมนเดียวอาจไม่เพียงพอที่แพทย์จะบอกว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้น แต่หากผลการตรวจฮอร์โมน T3 ออกมาผิดปกติ ก็จะช่วยบอกแนวโน้มของโรคได้ ซึ่งแพทย์อาจให้คุณตรวจระดับฮอร์โมน T4 หรือ TSH เพิ่มเติม

การมีระดับฮอร์โมน T3 สูงผิดปกติ พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์และในผู้ป่วยโรคตับ หากในการตรวจ T3 ได้มีการวัดระดับ T3 อิสระ (Free T3) มาด้วย จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคต่างๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

ระดับฮอร์โมน T3 สูงผิดปกติ

หากคุณไม่ได้กำลังตั้งครรภ์ หรือไม่ได้ป่วยเป็นโรคตับ การที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมน T3 สูงกว่าปกติ อาจหมายถึงคุณเป็นโรคของต่อมไทรอยด์ เช่น

  • โรคคอพอก (Graves’ Disease)
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism)
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ ซึ่งไม่เจ็บปวด (Painless (silent) Thyroiditis)
  • อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxic Periodic Paralysis)
  • คอพอกเป็นพิษ (Toxic Nodular Goiter)

ในบางครั้ง การมีระดับฮอร์โมน T3 ที่สูงผิดปกติ อาจบ่งชี้ว่าร่างกายมีโปรตีนในเลือดสูงกว่าปกติ และในกรณีที่พบได้น้อย อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid Cancer) หรือโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)

ระดับฮอร์โมน T3 ต่ำผิดปกติ

ระดับฮอร์โมน T3 ที่ต่ำกว่าปกติ อาจบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroidism) หรืออยู่ในสภาวะอดอยาก (Starvation) นอกจากนี้อาจบอกได้ว่าคุณป่วยเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เนื่องจากระดับฮอร์โมน T3 จะลดลงได้เมื่อมีอาการเจ็บป่วย

ความเสี่ยงของการตรวจระดับฮอร์โมน T3

เมื่อมีการเจาะเลือดไปตรวจ คุณจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยขณะเจาะ และอาจมีอาการเลือดออกหรือมีรอยช้ำภายหลังการเจาะ ในบางรายอาจมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้

สำหรับอาการที่ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ (แม้จะพบได้น้อย) ได้แก่ หน้ามืด เกิดการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ และมีการอักเสบของเส้นเลือดดำ

ที่มาของข้อมูล

Gretchen Holm, T3 Test (https://www.healthline.com/health/t3), April 8, 2016.


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thyroid Test Analyzer: Understanding High and Low TSH, T3, T4, and More. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/thyroid-test-analyzer-4178703)
T3 Blood Test: Purpose, Symptoms, Test Results, Procedure & Hyperthyroidism. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/t3_test/article.htm)
Understanding Thyroid Function Tests and Normal Ranges. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/interpret-your-thyroid-test-results-3231840)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)