โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s Disease) คือภาวะผิดปกติที่ส่งผลต่อหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) หูอื้อ ได้ยินเสียงในหู (Tinnitus) หรือสูญเสียการได้ยิน รวมถึงรู้สึกถึงแรงดันภายในหูได้ สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัดนักว่ามาจากอะไร การรักษาให้หายขาดยังไม่มี แต่มีคำแนะนำที่ช่วยให้ผู้ป่วยพอจะควบคุมอาการตัวเองได้บ้าง
อาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันสามารถแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะท้าย ซึ่งความเร็วที่โรคจะลุกลามสู่ระยะต่างๆ นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยปกติแล้ว ผู้เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันมักประสบอาการของโรคข้างต้นบ่อยมากในช่วงปีแรกๆ จากนั้นจะลดความถี่ลง ร่วมกับสูญเสียการได้ยินหนักขึ้นเรื่อยๆ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ระยะต้น : ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันระยะแรกมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน คาดเดาไม่ได้ โดยมากมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียนร่วมด้วย นอกจากนี้คุณอาจสูญเสียการได้ยินบางส่วนไประหว่างโรคกำเริบ และอาจมีอาการหูอื้อพร้อมกัน รวมถึงอาจรู้สึกว่าหูอุดตัน หรือมีแรงดันภายใน
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจกินเวลาตั้งแต่ไม่กี่นาที ไปจนยาวนานถึง 24 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่มักอยู่ที่ 2-3 ชั่วโมง (ผู้ป่วยบางรายมีความอ่อนไหวต่อเสียงมากขึ้นในขณะเวียนศีรษะบ้านหมุนด้วย) จากนั้นการได้ยินและความรู้สึกแน่นในหูจึงจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ
- ระยะกลาง : ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันระยะกลางจะเริ่มเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนกำเริบแบบต่อเนื่อง แต่ความรุนแรงอาจน้อยลงในบางคน อย่างไรก็ตาม อาการหูอื้อและภาวะสูญเสียการได้ยินจะมีความรุนแรงมากขึ้น
ในระยะนี้ คุณอาจมีช่วงโรคสงบ (Remission) หรือช่วงปลอดอาการต่างๆ นานหลายเดือนก็ได้ แต่บางคนก็อาจยังประสบกับอาการหูอื้อ อ่อนไหวต่อเสียง หรือทรงตัวไม่อยู่ระหว่างอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนกำเริบอยู่บ้าง
- ระยะท้าย : ระหว่างช่วงระยะท้ายๆ ของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจะเกิดขึ้นน้อยลง โดยอาจเว้นช่วงนานหลายเดือนหรือหลายปี อย่างไรก็ตามคุณอาจมีปัญหาการทรงตัวอยู่ และอาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงที่เท้า โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มืดได้ ส่วนปัญหาการได้ยินและอาการหูอื้อจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะนี้ จนอาจทำให้คุณมีปัญหาการทรงตัวและการได้ยินแบบถาวรได้
ผลกระทบจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
โรคน้ำในหูสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย เนื่องจากลักษณะอาการของโรคที่ไม่อาจคาดเดาการเกิดได้ และยังจำกัดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ได้ลดลง ผู้เป็นโรคนี้จึงมักเกิดภาวะวิตกกังวล (Anxiety) จนถึงเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า (Depression) ตามมา
ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันมักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-60 ปี และพบได้ในทั้งในผู้หญิงและผู้ชายพอๆ กัน
สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันมักเกิดจากความผิดปกติแรงดันและของเหลวภายในหู แต่เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม การที่ในครอบครัวมีประวัติว่าเป็นโรคนี้ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ความเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่
- โรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmunity) : ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะดีของร่างกาย
- เกิดความไม่สมดุลทางเคมีในของเหลวของหูชั้นใน : เช่นมีโซเดียมหรือโพแทสเซียมในร่างกายมากหรือน้อยเกินไป
- มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด : มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคน้ำในหูไม่เท่ากันกับโรคไมเกรน (Migraines) ซึ่งเป็นโรคที่คาดว่าเกิดมาจากการตีบแคบและขยายใหญ่ขึ้นของหลอดเลือด
- ภาวะติดเชื้อไวรัสบางประเภท : เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีการช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอาการของตนได้ ด้วยวิธีดังนี้
- รับประทานยา
- เปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหาร เช่น ให้รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ
- ฝึกฝนด้านการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation)
- ฝึกเทคนิคผ่อนคลาย
- เข้ารับการผ่าตัด สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง
วิธีการวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
ขณะนี้ยังไม่มีการทดสอบโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ทำให้การจำแนกภาวะนี้จากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกันทำได้ยาก เช่น อาจสับสนกับโรคไมเกรนหรือภาวะติดเชื้อในหู เนื่องจากโรคเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการได้ยินและสมดุลร่างกาย หรืออาจไปสับสนกับภาวะติดเชื้อที่ระบบประสาททรงตัว (Vestibular Neuronitis) หรือหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) ที่ทำให้มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นต้น
หากเข้าสถานพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยโรค แพทย์จะขอให้คุณบรรยายอาการที่ประสบ เพื่อหารูปแบบอาการที่อาจบ่งชี้ถึงโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โดยถามว่ามีอาการอะไรบ้าง และแต่ละอาการกินระยะเวลานานเท่าไร นอกจากนี้แพทย์ยังอาจดำเนินการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำยิ่งขึ้น เช่น ฟังเสียงหัวใจ ตรวจความดันโลหิต และตรวจภายในหู
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากจำเป็น แพทย์อาจส่งคุณไปพบกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหู จมูก และลำคอ (ENT) เช่น
- ประเมินการทรงตัวและการได้ยิน ผู้เชี่ยวชาญสามารถประเมินขอบเขตการได้ยิน ด้วยการทดสอบการได้ยินต่างๆ อย่างการตรวจการได้ยิน (Audiometry Test) ซึ่งเป็นกระบวนการให้คุณฟังเสียงในระดับความดังและความสูงที่ต่างกันจากเครื่องมือ และให้คุณกดปุ่มเมื่อได้ยินเสียง
- ตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตา (Videonystagmography (VNG)) มักใช้เพื่อตรวจหาสัญญาณของการเคลื่อนไหวของดวงตาที่ควบคุมไม่ได้ (Nystagmus) ที่บ่งชี้ถึงปัญหาการทรงตัว ระหว่างการทดสอบนี้จะมีการให้ผู้เข้ารับการทดสอบสวมแว่นตาชนิดพิเศษ ก่อนให้คุณมองไปยังทั้งเป้าที่เคลื่อนที่และเป้านิ่ง โดยบนแว่นจะมีกล้องวิดีโอบันทึกการเคลื่อนไหวของดวงตาคุณด้วย
- ตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยอากาศ (CaloricTest) โดยจะมีการใส่น้ำหรืออากาศที่มีความอุ่นหรือความเย็นในหูประมาณ 30 วินาที การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินี้จะกระตุ้นสมดุลของอวัยวะในหู ทำให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการทำงานของอวัยวะได้ การทดสอบนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ แต่อาจทำให้เกิดความรู้สึกวิงเวียนสองสามนาที ก่อนหายเป็นปกติ
- การตรวจแรงดันของน้ำในหูชั้นใน (Electrocochleography) หรือตรวจสอบว่าเส้นประสาทการได้ยินตอบสนองต่อเสียงอย่างไร ระหว่างการทดสอบจะมีการติดปุ่มอิเล็กโทรดที่ศีรษะ และใช้แท่งเรียวยาวหรือเข็มสอดเข้าไปถึงแก้วหู ระหว่างนี้จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anaesthetic) เพื่อให้แก้วหูของคุณชาก่อนที่จะมีการสอดเข็ม คุณจะได้ฟังเสียงดังคลิกกระตุ้นเส้นประสาทหลายครั้งระหว่างการทดสอบ
- การสแกนคลื่อนสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI)) ที่ศีรษะเพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น เนื้องอกบนเส้นประสาทบนหู (Acoustic Neuroma)
การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการได้ ดังนี้
- ใช้ยาช่วยบรรเทาอาการ ได้แก่
- โพรคลอเพอราซีน (Prochlorperazine) : เป็นตัวยาช่วยรักษาอาการคลื่นไส้และวิงเวียน แต่ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากเป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการตัวสั่น กล้ามเนื้อร่างกายหรือใบหน้ากระตุก รวมถึงง่วงนอนได้
โพรคลอเพอราซีนมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบยาเม็ดให้กลืน ยาอมให้ไว้ในกระพุ้งแก้ม และยาฉีด จะใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับระดับอาการที่เป็น ภายในการดูแลของแพทย์
- เบตาฮิสทีน (ฺBatahistine) : เป็นยาที่มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหูชั้นใน ทำให้ของเหลวบริเวณนั้นถ่ายเท หมุนเวียนดีขึ้น ส่งผลให้บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ และเพิ่มสมดุลการทรงตัวของร่างกายได้ ผลข้างเคียงของยาเบตาฮิสทีนได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เกิดผื่นคัน เป็นยาอันตราย ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
- กลุ่มยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ (Antihistamines) : ตัวยาที่คุณได้รับอาจเป็น ซินนาริซีน (Cinnarizine) ไซคลีซีน (Cyclizine) หรือโพรเมทาซีน (Promethazine) ยากลุ่มนี้จะทำหน้าที่รักษาอาการทางประสาท บรรเทาอาการมึน แต่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน ปวดศีรษะ ปวดท้อง ควรศึกษาข้อมูลจากฉลากยาให้ถี่ถ้วนก่อนใช้
- โพรคลอเพอราซีน (Prochlorperazine) : เป็นตัวยาช่วยรักษาอาการคลื่นไส้และวิงเวียน แต่ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากเป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการตัวสั่น กล้ามเนื้อร่างกายหรือใบหน้ากระตุก รวมถึงง่วงนอนได้
- เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อฉีดของเหลวเข้าเส้นเลือดดำ ร่างกายผู้ป่วยจะได้รับน้ำเพียงพอ
- ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน โดยเลือกกินอาหารที่ไม่มีเกลือ หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนที่อยู่ในชาและกาแฟ
- ใช้การบำบัดด้วยเสียง โดยมากมักจะใช้เสียงแบบเล่นซ้ำๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยจากเสียงภายใน
- เข้ารับการผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล การผ่าตัดรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากันมีดังนี้
- การผ่าตัดแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Surgery) แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น
- การคลายถุงน้ำในหู (Endolymphatic Sac Decompression) : เป็นการลดแรงดันในหูชั้นใน ด้วยการดูดของเหลวในหูชั้นในออก
- การสอดท่อระบาย (Inserting Ventilation Tubes) : กระบวนการสอดอุปกรณ์เข้าไปในหู เพื่อลดความเปลี่ยนแปลงของแรงดันที่ทำให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- การฉีดสเตียรอยด์เข้าไปยังแก้วหู (Injecting Steroid Medication Through the Eardrum)
- การบำบัดด้วยความดัน (Micropressure Therapy) : เป็นการรักษาใหม่ โดยวิธีสอดท่อเล็กๆ เข้าไปในหูแล้วต่อเข้ากับเครื่องสร้างแรงดันเป็นเวลาไม่กี่นาที โดยทำเป็นจำนวนหลายครั้งต่อวัน
- การผ่าตัดแบบทำลายบางส่วน (Selectively Destructive Surgery) ระหว่างการผ่าตัดแบบทำลายบางส่วนจะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อเจนตาไมซิน (Gentamicin) ฉีดผ่านแก้วหู (ชั้นเนื้อเยื่อบางๆ ที่แยกหูชั้นนอกจากหูชั้นกลาง) และเข้าไปยังส่วนระบบท่อของหูชั้นใน (Labyrinth)
การใช้ยาเจนตาไมซินมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความเสียหายแก่ส่วนสมดุลของหู แต่ก็มีความเสี่ยงที่ยาอาจสร้างความเสียหายแก่การได้ยินเช่นกัน ศัลยแพทย์บางคนจึงอาจใช้วิธีทายาที่หูชั้นในโดยตรงระหว่างทำการผ่าตัดเล็ก เพื่อจะได้ควบคุมปริมาณยาที่ใช้กับหูได้อย่างดีขึ้น - การผ่าตัดแบบทำลาย (Destructive Surgery) : การผ่าตัดนี้ทำลายส่วนของหูชั้นในที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนออก จะใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่หูข้างเดียว และหูข้างนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สามารถใช้สื่อสารได้ หรือไม่สามารถได้ยินเสียงที่ดังน้อยกว่า 50 dB นั่นเอง หลังจากการผ่าตัด หูข้างนี้จะสูญเสียการได้ยินไปอย่างถาวร ส่วนที่จะถูกกำจัดออกนั้นคือ
- ระบบโพรงท่อขนาดเล็กมากมายที่เต็มไปด้วยน้ำในหู
- ส่วนเส้นประสาทที่ส่งข้อมูลเสียงและข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของร่างกายไปยังสมอง
- การผ่าตัดแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Surgery) แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น
ภายหลังการผ่าตัดประเภทนี้ หูอีกข้างของคุณอาจต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อปรับตัวการได้ยินและสมดุลร่างกายสักระยะหนึ่ง
มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกในเรื่องประสิทธิภาพของการผ่าตัดรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันที่น้อยมาก จึงเป็นเหตุให้แพทย์มักไม่พิจารณาการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
เมื่อเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันแล้ว การใช้ชีวิตย่อมเป็นเรื่องยากและน่าหงุดหงิด เพราะระหว่างที่อาการกำเริบ การได้ยินและการทรงตัวของคุณจะมีปัญหา ทำให้การทำกิจกรรมบางอย่างเป็นอันตราย เช่น
- การว่ายน้ำ
- การปีนบันไดลิงหรือบันไดพับ
- การทำงานเครื่องจักรหนัก
- การขับรถ
คุณอาจต้องมีคนดูแลอยู่ด้วย เผื่อในกรณีที่อาการกำเริบขึ้นอย่างกะทันหันและต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน
นอกจากนี้ การถูกจำกัดไม่ให้ทำกิจกรรมที่คุ้นเคยอาจทำให้คุณมีอาการเครียด กังวล หรือซึมเศร้าได้ ดังนั้นหากคุณเริ่มรู้สึกว่าตนเองรับมือกับผลจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันลำบากมากขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอรับความช่วยเหลือและคำแนะนำต่างๆ