พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
เขียนโดย
พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์

รู้จัก “การผดุงครรภ์ไทย”

การผดุงครรภ์ไทยจะช่วยดูแลและให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ คลอดบุตร ไปจนถึงดูแลหลังการคลอด เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้จัก “การผดุงครรภ์ไทย”

การผดุงครรภ์ไทย เป็นการตรวจ บำบัด ให้คำแนะนำ ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงการป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด การทำคลอด ไปจนถึงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของไทยที่ได้สืบทอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

แพทย์ผดุงครรภ์โบราณนั้นเรียกกันว่า หมอตำแย เป็นผู้มีหน้าที่ให้คำแนะนำ ดูแล รักษาโรค ป้องกันอาการผิดปกติต่างๆ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงระยะหลังคลอด ผู้เป็นแพทย์ผดุงครรภ์จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรค อาการ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารก โดยจะแบ่งการดูแลเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. การตั้งครรภ์
  2. การคลอด
  3. การดูแลหลังคลอด

การผดุงครรภ์ในช่วงที่มีการตั้งครรภ์

ในช่วงนี้จะดูแลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของมารดาในช่วงตั้งครรภ์ โดยหากเกิดการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติต่างๆ ก็อาจนำไปสู่การแท้งบุตรได้ จะเริ่มตั้งแต่การซักประวัติทั่วไป ประวัติการตั้งครรภ์ ตรวจร่างกาย ให้คำแนะนำต่างๆ รวมถึงการดูแลรักษาโรค ป้องกันการเกิดภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น สามารถแบ่งย่อยไปอีกเป็นการดูแลด้านร่างกายและการดูแลด้านจิตใจ

การดูแลด้านร่างกาย

ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอาการที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก น้ำหนักเพิ่ม มีรอยแตกบริเวณหน้าท้อง ฯลฯ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเองเมื่อมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ตัวอย่างคำแนะนำ เช่น

  • เมื่อมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การรับประทานยาหอม หรือสูดดมมะกรูด มะนาว จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • การรับประทานอาหารให้เพียงพอ เน้นประเภทโปรตีน ผัก ผลไม้ อาหารที่มีธาตุเหล็กและแคลเซียมสูง และลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล
  • สังเกตและดูแลเต้านม หัวนม การแก้ไขความผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมบอด บุ๋ม สั้น เป็นต้น
  • การทำงาน ควรหลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนานๆ การยกของหนัก การทำงานที่ใช้แรงมากอาจทำให้แท้งบุตรได้
  • การออกกำลังกายสามารถทำได้ตามความเหมาะสม ไม่ควรหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ โยคะ เดินเร็ว เป็นต้น
  • การมีเพศสัมพันธ์ สามารถมีได้ แต่ควรงดในช่วง 1-3 เดือนแรก และช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพราะอาจทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

ด้านอารมณ์และจิตใจ

ดูแล ให้คำปรึกษาเพื่อคลายความกังวล หญิงตั้งครรภ์ควรทำจิตใจให้แจ่มใส ผ่อนคลาย โดยการ ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ไม่ให้มีภาวะเครียด หรือกังวล ซึ่งคนในครอบครัวเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพจิตที่ดี

การผดุงครรภ์ในระยะคลอด

ในระยะนี้จะเน้นการช่วยเหลือ ดูแล สังเกต ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงการคลอด ช่วยคลอดปกติ ช่วยดูแลด้านร่างกาย ความสะอาดของร่างกาย และอุปกรณ์ในการช่วยคลอด บรรเทาอาการเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์คลอด รวมถึงดูแลจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ขณะรอคลอด เพื่อให้คลายความกลัว ความกังวลต่างๆ

การผดุงครรภ์ในระยะหลังคลอด

ระยะนี้เป็นการดูแลมารดาหลังคลอดและทารก สังเกต ตรวจประเมินอาการ ประเมินแผล ประเมินการหดตัวของมดลูก ดูแลอาการ ความเจ็บป่วย ความไม่สบายต่างๆ ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่

  • การอยู่ไฟ เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายกลับเข้าสู่สมดุลได้เร็ว ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ปวดตามร่างกาย และยังช่วยให้น้ำนมไหลสะดวก
  • การนวด จะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด คลายความตึง ปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผ่อนคลาย และกระตุ้นการไหลของน้ำนม
  • การอบสมุนไพร หรือการเข้ากระโจม ช่วยให้ระบบหายใจทำงานดีขึ้น ระบายเหงื่อและของเสียต่าง ๆ
  • การประคบสมุนไพร ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ลดอาการอักเสบ ช้ำบวม ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • การทับหม้อเกลือ ช่วยกระชับหน้าท้อง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ขับน้ำคาวปลา และช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดได้ดี
  • การพันผ้าหน้าท้อง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว กระชับหน้าท้อง
  • การนั่งถ่าน ช่วยสมานแผลฝีเย็บ ทำให้แผลแห้งเร็ว
  • การรับประทานยาสมุนไพร เช่น ยาขับน้ำคาวปลา ยาช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ยาบำรุงหญิงหลังคลอด ยาบำรุงน้ำนม ยาแก้หญิงอยู่ไฟไม่ได้ เป็นต้น
  • การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกในช่วงหลังคลอด เช่น การรับประทานอาหาร การทำงาน การออกกำลังกาย การดูแลรักษาความสะอาด การตรวจประเมินหลังคลอด เป็นต้น

การผดุงครรภ์แผนไทยมักมีข้อคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย ข้อห้าม ข้อควรระวังต่างๆ ซึ่งหากคุณได้รับการดูแลโดยแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษา น่าเชื่อถือ ก็จะทำให้การบริการมีความปลอดภัย ถูกต้อง และทำให้มารดาหลังคลอด ทารกมีสุขภาพดี ร่างกายมีความสมดุล

ดังนั้น หากท่านสนใจและต้องการได้รับการดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงหลังคลอด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ควรปรึกษาแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และหากท่านใดมีโรคประจำตัว หรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์และทารก


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลหญิงหลังคลอด, (https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/CPG_MOM.pdf), 6 กุมภาพันธ์ 2556.
อดิศักดิ์ สุมาลี, การส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย (https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_1/culture.html?fbclid=IwAR2jsAfnsXdVca0RUY3ZSpCKVIampXOLzMN73wsFYslsjLJgGoPhM_468TM), 2556.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม